|
กระจกตาเสื่อมเป็นภาวะที่กระจกตาเกิดการผิดปกติ ส่งผลให้การมองเห็นเปลี่ยนไป การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดกระจกตาเสื่อม รวมถึงการรู้จักวิธีการรักษาและป้องกันที่เหมาะสม จะช่วยให้สามารถตรวจพบภาวะนี้ได้แต่เนิ่นๆ และป้องกันการเสื่อมสภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
กระจกตาเสื่อมเกิดจากการสะสมของวัสดุในชั้นหนึ่งหรือหลายชั้นของกระจกตา ซึ่งวัสดุนั้นอาจทำให้กระจกตาสูญเสียความโปร่งใส ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นหรือมองเห็นไม่ชัดเจน โดยกระจกตาเสื่อมแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
กระจกตาเสื่อมที่ชั้นหน้าหรือผิวหนังเป็นภาวะที่มีผลกระทบต่อชั้นนอกสุดของกระจกตา (รวมถึงชั้นเยื่อบุผิวและชั้นเยื่อรับรองผิว)
กระจกตาเสื่อมจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(Stroma) ส่งผลต่อกระจกตาชั้นกลาง ซึ่งเป็นชั้นหนาที่สุดของกระจกตา
กระจกตาเสื่อมชนิดหลังมีผลกระทบต่อส่วนในสุดของกระจกตา(ชั้นเยื่อบุผิวชั้นในและชั้นเยื่อรองรับเซลล์ด้านใน) โดยกระจกตาเสื่อมชนิดหลังที่พบบ่อยที่สุดคือโรคฟุคส์ (Fuchs’ dystrophy)
กระจกตาเสื่อมมีหลายรูปแบบที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และบางรูปแบบยังคงต้องการการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น เชื้อชาติ ซึ่งมักเกิดในผู้ที่มีเชื้อสายขาว อายุ โดยมักเกิดในผู้ที่อายุมากกว่า 30 ปี และเพศหญิง โดยเฉพาะผู้ที่ถูกกำหนดเพศเป็นหญิงตั้งแต่แรกเกิดมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้มากกว่าเพศชาย
อาการของกระจกตาเสื่อมจะค่อยๆ พัฒนาและอาจทำให้การมองเห็นแย่ลงในระยะยาวหากไม่ได้รับการดูแลหรือรักษาที่เหมาะสม โดยสังเกตอาการของกระจกตาเสื่อมได้ คือ
ตาแฉะ
ตาแห้ง
ระคายเคืองที่ตา
การมองเห็นเบลอ
ตาไวต่อแสง
การมองเห็นเป็นภาพซ้อน
รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา
ปวดตา
สายตาสั้น (มองเห็นวัตถุที่ไกลๆ เบลอ)
สายตาเอียง (มองเห็นวัตถุเบลอหรือบิดเบี้ยว)
แม้ว่ากระจกตาเสื่อมยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่ก็มีการรักษาที่ช่วยชะลอไม่ให้ภาวะนี้เสื่อมลงไปมากกว่าเดิม ซึ่งทำได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
ยาหยอดตาหรือยาทาเฉพาะที่เป็นตัวเลือกในการรักษาอาการที่เกิดจากกระจกตาเสื่อม โดยช่วยบรรเทาอาการต่างๆ เช่น อาการปวดตา ความรู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา และอาการตาแห้ง ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตามากขึ้นและบรรเทาอาการกระจกตาเสื่อมลงได้
ยาปฏิชีวนะเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในกรณีที่กระจกตาเสียหายจากภาวะกระจกตาเสื่อม ซึ่งอาจทำให้กระจกตามีความเปราะบางและไวต่อการติดเชื้อจากเชื้อโรคต่างๆ โดยช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
คอนแท็กต์เลนส์พิเศษถูกออกแบบมาให้ใส่บนกระจกตาเช่นเดียวกับคอนแท็กต์เลนส์ทั่วไป แต่มีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยในการฟื้นฟูกระจกตาเสื่อม โดยเลนส์เหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนและทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Phototherapeutic Keratectomy (PTK) เป็นวิธีการรักษากระจกตาเสื่อมที่ใช้เลเซอร์ที่ปรับความแม่นยำได้สูง เพื่อกำจัดเฉพาะเนื้อเยื่อกระจกตาที่เสียหายออก ทำให้จักษุแพทย์สามารถระบุและกำจัดส่วนที่เสียหายได้อย่างตรงจุด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อกระจกตาส่วนที่ยังดีอยู่
ในกรณีที่กระจกตาเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสียหายรุนแรงจนส่งผลต่อการมองเห็น การปลูกถ่ายกระจกตาอาจเป็นทางเลือกหนึ่ง การผ่าตัดนี้ใช้เนื้อเยื่อกระจกตาจากผู้บริจาคมาแทนที่เนื้อเยื่อกระจกตาของผู้ป่วย ซึ่งปลูกถ่ายได้ทั้งแบบบางส่วนหรือแบบทั้งหมด
กระจกตาเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ทำให้มีโอกาสเกิดกระจกตาเสื่อมในอนาคต แม้ว่าจะไม่สามารถลดความเสี่ยงได้ แต่การตรวจตาอย่างสม่ำเสมอและดูแลรักษาในระยะเริ่มต้นสามารถช่วยชะลออาการและรักษาสุขภาพดวงตาได้
กระจกตาเสื่อมเป็นภาวะที่กระจกตาของตาเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสียหาย ส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติ หรือเกิดอาการเบลอหรือมองไม่ชัดเจน มักเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม รักษาได้ด้วยยาหยอดตา การใช้คอนแท็กต์เลนส์พิเศษ หรือการผ่าตัด เพื่อชะลอหรือบรรเทาอาการ ส่วนการป้องกันควรตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ
หากสงสัยว่าตัวเองอาจจะเป็นกระจกตาเสื่อม มารับการวินิจฉัยและการรักษาที่ศูนย์รักษาโรคกระจกตา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)ที่นี่มีจักษุแพทย์พร้อมดูแลดวงตาของคุณโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการตรวจและรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ