มุมสุขภาพตา : #กระจกตาเสื่อม

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และพฤติกรรมที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม

ทำความเข้าใจอาการกระจกตาเสื่อม สาเหตุ วิธีการดูแลรักษาและป้องกัน

กระจกตาเสื่อมคือภาวะที่กระจกตาเสียหาย ส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติ กระจกตาเสื่อมเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมที่ทำให้กระจกตามีการเปลี่ยนแปลงหรือมีการสะสมของเนื้อเยื่อผิดปกติ วิธีรักษากระจกตาเสื่อม ได้แก่ การใช้ยาหยอดตา คอนแท็กต์เลนส์พิเศษ หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา ส่วนการป้องกันคือการตรวจสุขภาพตาอยู่เสมอ การรักษากระจกตาเสื่อมที่ศูนย์รักษาโรคกระจกตา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ที่นี่มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล พร้อมด้วยเทคโนโลยีทันสมัยในการตรวจและรักษาโรคกระจกตา   กระจกตาเสื่อมเป็นภาวะที่กระจกตาเกิดการผิดปกติ ส่งผลให้การมองเห็นเปลี่ยนไป การทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดกระจกตาเสื่อม รวมถึงการรู้จักวิธีการรักษาและป้องกันที่เหมาะสม จะช่วยให้สามารถตรวจพบภาวะนี้ได้แต่เนิ่นๆ และป้องกันการเสื่อมสภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้     กระจกตาเสื่อม คือโรคอะไร? กระจกตาเสื่อมเกิดจากการสะสมของวัสดุในชั้นหนึ่งหรือหลายชั้นของกระจกตา ซึ่งวัสดุนั้นอาจทำให้กระจกตาสูญเสียความโปร่งใส ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นหรือมองเห็นไม่ชัดเจน โดยกระจกตาเสื่อมแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ   กระจกตาเสื่อมที่ชั้นหน้าหรือผิวหนังเป็นภาวะที่มีผลกระทบต่อชั้นนอกสุดของกระจกตา (รวมถึงชั้นเยื่อบุผิวและชั้นเยื่อรับรองผิว) กระจกตาเสื่อมจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(Stroma) ส่งผลต่อกระจกตาชั้นกลาง ซึ่งเป็นชั้นหนาที่สุดของกระจกตา กระจกตาเสื่อมชนิดหลังมีผลกระทบต่อส่วนในสุดของกระจกตา(ชั้นเยื่อบุผิวชั้นในและชั้นเยื่อรองรับเซลล์ด้านใน) โดยกระจกตาเสื่อมชนิดหลังที่พบบ่อยที่สุดคือโรคฟุคส์ (Fuchs’ dystrophy)     สาเหตุของกระจกตาเสื่อม เกิดจากอะไรบ้าง กระจกตาเสื่อมมีหลายรูปแบบที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และบางรูปแบบยังคงต้องการการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น เชื้อชาติ ซึ่งมักเกิดในผู้ที่มีเชื้อสายขาว อายุ โดยมักเกิดในผู้ที่อายุมากกว่า 30 ปี และเพศหญิง โดยเฉพาะผู้ที่ถูกกำหนดเพศเป็นหญิงตั้งแต่แรกเกิดมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้มากกว่าเพศชาย     สังเกตอาการของกระจกตาเสื่อม อาการของกระจกตาเสื่อมจะค่อยๆ พัฒนาและอาจทำให้การมองเห็นแย่ลงในระยะยาวหากไม่ได้รับการดูแลหรือรักษาที่เหมาะสม โดยสังเกตอาการของกระจกตาเสื่อมได้ คือ ตาแฉะ ตาแห้ง ระคายเคืองที่ตา การมองเห็นเบลอ ตาไวต่อแสง การมองเห็นเป็นภาพซ้อน รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา ปวดตา สายตาสั้น (มองเห็นวัตถุที่ไกลๆ เบลอ) สายตาเอียง (มองเห็นวัตถุเบลอหรือบิดเบี้ยว)     วิธีการรักษากระจกตาเสื่อม แม้ว่ากระจกตาเสื่อมยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่ก็มีการรักษาที่ช่วยชะลอไม่ให้ภาวะนี้เสื่อมลงไปมากกว่าเดิม ซึ่งทำได้ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้ ยาหยอดตาหรือขี้ผึ้งหยอดตา ยาหยอดตาหรือยาทาเฉพาะที่เป็นตัวเลือกในการรักษาอาการที่เกิดจากกระจกตาเสื่อม โดยช่วยบรรเทาอาการต่างๆ เช่น อาการปวดตา ความรู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา และอาการตาแห้ง ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตามากขึ้นและบรรเทาอาการกระจกตาเสื่อมลงได้ ยาปฏิชีวนะ ยาปฏิชีวนะเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในกรณีที่กระจกตาเสียหายจากภาวะกระจกตาเสื่อม ซึ่งอาจทำให้กระจกตามีความเปราะบางและไวต่อการติดเชื้อจากเชื้อโรคต่างๆ โดยช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ คอนแท็กต์เลนส์ชนิดพิเศษ คอนแท็กต์เลนส์พิเศษถูกออกแบบมาให้ใส่บนกระจกตาเช่นเดียวกับคอนแท็กต์เลนส์ทั่วไป แต่มีคุณสมบัติพิเศษที่ช่วยในการฟื้นฟูกระจกตาเสื่อม โดยเลนส์เหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนและทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การทำศัลยกรรมแก้ไขกระจกตาด้วยแสง (Phototherapeutic Keratectomy) Phototherapeutic Keratectomy (PTK) เป็นวิธีการรักษากระจกตาเสื่อมที่ใช้เลเซอร์ที่ปรับความแม่นยำได้สูง เพื่อกำจัดเฉพาะเนื้อเยื่อกระจกตาที่เสียหายออก ทำให้จักษุแพทย์สามารถระบุและกำจัดส่วนที่เสียหายได้อย่างตรงจุด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อกระจกตาส่วนที่ยังดีอยู่ การปลูกถ่ายกระจกตา ในกรณีที่กระจกตาเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสียหายรุนแรงจนส่งผลต่อการมองเห็น การปลูกถ่ายกระจกตาอาจเป็นทางเลือกหนึ่ง การผ่าตัดนี้ใช้เนื้อเยื่อกระจกตาจากผู้บริจาคมาแทนที่เนื้อเยื่อกระจกตาของผู้ป่วย ซึ่งปลูกถ่ายได้ทั้งแบบบางส่วนหรือแบบทั้งหมด การดูแลดวงตาเพื่อป้องกันกระจกตาเสื่อม กระจกตาเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ทำให้มีโอกาสเกิดกระจกตาเสื่อมในอนาคต แม้ว่าจะไม่สามารถลดความเสี่ยงได้ แต่การตรวจตาอย่างสม่ำเสมอและดูแลรักษาในระยะเริ่มต้นสามารถช่วยชะลออาการและรักษาสุขภาพดวงตาได้ สรุป กระจกตาเสื่อมเป็นภาวะที่กระจกตาของตาเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสียหาย ส่งผลให้การมองเห็นผิดปกติ หรือเกิดอาการเบลอหรือมองไม่ชัดเจน มักเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม รักษาได้ด้วยยาหยอดตา การใช้คอนแท็กต์เลนส์พิเศษ หรือการผ่าตัด เพื่อชะลอหรือบรรเทาอาการ ส่วนการป้องกันควรตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ   หากสงสัยว่าตัวเองอาจจะเป็นกระจกตาเสื่อม มารับการวินิจฉัยและการรักษาที่ศูนย์รักษาโรคกระจกตา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)ที่นี่มีจักษุแพทย์พร้อมดูแลดวงตาของคุณโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการตรวจและรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111