ใหม่ล่าสุด

รักษาต้อกระจกแบบไร้ไบมีด

Femtosecond Laser-assisted Cataract Surgery (FLACS)

ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำพร้อมเลนส์พรีเมี่ยมพร้อมให้คุณกลับมามีสายตาที่คมชัดอีกครั้ง

 

Empowering Sight

Inspiring Tomorrow

"Optimize eye health with advanced tech."

มุมสุขภาพตา

เรียงตาม
โรคตาแห้ง
โรคตาแห้ง มารู้จักกับโรคตาแห้ง      น้ำตา มีความสำคัญในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ช่วยให้เรามองเห็นภาพชัดเจนโดยทำให้แสงผ่านกระจกตาได้ดี และนำออกซิเจนมาเลี้ยงกระจกตา รวมทั้งช่วยป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอม      ตาแห้ง พบได้บ่อย เกิดจากความผิดปกติของน้ำตา อาจมีปริมาณน้ำตาไม่เพียงพอหรือมีการระเหยของน้ำตาที่มากเกินไป ก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่ผิวกระจกตาและเกิดอาการไม่สบายตา อาการที่บอกว่า ตาเราเริ่มแห้ง อาจมีตั้งแต่แสบตา ระคายเคืองตา เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา ตาแดง เจ็บ พร่ามัวลงแต่ดีขึ้นเมื่อกระพริบตา หรือรู้สึกฝืดๆ หนักๆตา ลืมตาลำบาก ล้าหรือมีอาการน้ำตาไหลมากก็เป็นได้      สาเหตุของการเกิดตาแห้งนั้นมีหลากหลาย ได้แก่ อายุที่เพิ่มมากขึ้น เพศหญิงพบได้บ่อยกว่าเพศชาย อีกทั้งยาบางชนิด เช่น ยารักษาภูมิแพ้ การเพ่งหรือใช้สายตาติดต่อกันนานๆ เช่นใช้คอมพิวเตอร์ การอยู่ในที่ๆมีฝุ่นละอองและควัน ลมแรงและแสงจ้า ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ หรือหลังทำเลสิกระยะแรก หรือจากโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน ผิวตาเสื่อมจากสารเคมีหรือการแพ้ยาแบบรุนแรง   วิธีการรักษาตาแห้งมีหลากหลาย ดังนี้ หลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้เกิดอาการ เช่น เลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน แสงจ้า ด้วยการใส่แว่นกันแดด กันลม หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานๆ พักสายตาหรือกระพริบตาบ่อยๆ หรือหลับตาพักเป็นระยะๆ อย่างน้อย 1 นาที ทุก ½-1 ชั่วโมง หากต้องใช้สายตาติดต่อกันนานๆ ใช้น้ำตาเทียม ซึ่งมีหลายชนิด มีทั้งชนิดน้ำ (ใช้กลางวัน) และชนิดขี้ผึ้งหรือเจล (ใช้กลางคืน) น้ำตาเทียมจะแยกเป็นชนิดที่มีสารกันเสีย (รูปแบบขวด) ไม่ควรหยอดเกิน 4-5 ครั้งต่อวัน หรือชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย (แบบกระเปาะ) ซึ่งสามารถใช้ได้บ่อยๆ โดยการเลือกน้ำตาเทียมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ เนื่องจากแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน การใช้ยาหยอดบางชนิดเพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตา เช่น การใช้ยารักษาภาวะเปลือกตาอักเสบที่พบเป็นสาเหตุของน้ำตาระเหยเร็ว ร่วมกับการให้ประคบอุ่นทำความสะอาดขอบตา การอุดท่อระบายน้ำตาที่บริเวณหัวตา ทำให้น้ำตาอยู่ในดวงตาเพิ่มขึ้น มีทั้งแบบชั่วคราวและถาวร ใช้ในรายที่มีอาการตาแห้งรุนแรงหรือเรื้อรัง        โดยสรุป ตาแห้งเป็นโรคซึ่งไม่เป็นอันตรายไม่ถึงกับทำให้ตาบอด แต่จะน่ารำคาญ รบกวนการดำรงชีวิตประจำวันของผู้ป่วย แต่ก็มีวิธีหลากหลายวิธีที่ช่วยให้อาการดีขึ้น และสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขขึ้น ช่วงนี้ลมหนาวใกล้มา อากาศมักจะแห้งมากขึ้น อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพตาให้ชุ่มชื้นด้วยนะคะ ถ้าสงสัยว่าตาเราแห้งหรือไม่ สามารถมาพบจักษุแพทย์เพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาต่อไป
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาตาเด็ก
การควบคุมภาวะสายตาสั้นในเด็ก
การควบคุมภาวะสายตาสั้นในเด็ก เนื่องจากสายตาสั้นในเด็กเป็นภาวะที่ไม่สามารถทำให้หายขาดได้แต่สามารถควบคุมให้เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดหรือเพิ่มขึ้นช้าลง ทางการเเพทย์จึงใช้คำว่าควบคุมแทนคำว่ารักษา แน่นอนว่าลักษณะดวงตาและสภาวะสายตาของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการวินิจฉัยจากจักษุเเพทย์ก่อน เพื่อประเมินเข้ารับการใช้ยาหรือใส่คอนเเทคเลนส์เพื่อควบคุมสายตาสั้นสำหรับเด็ก   คุณสมบัติและลักษณะเบื้องต้นของเด็กที่ควรเข้ารับการควบคุมสายตาสั้น มีอายุตั้งแต่ 6 ถึง 12 ปีและได้รับการวินิจฉัยว่ามีสายตาสั้นตั้งแต่อายุน้อยๆ เด็กกลุ่มอายุนี้มีโอกาสที่จะตอบสนองต่อการควบคุมสายตาสั้นได้ดีเนื่องจากดวงตายังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ เด็กที่มีภาวะสายตาสั้นขึ้นอย่างรวดเร็ว(เพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งร้อยต่อปี) เด็กที่มีคุณพ่อหรือคุณแม่สายตาสั้นมาก เนื่องจากมีโอกาสสูงที่เด็กจะมีสายตาสั้นมากเช่นกัน   ทำไมเด็กๆ จึงควรที่จะได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับการควบคุมสายตาสั้น นอกจากอาการมองไม่ชัดแล้วสำหรับเด็กๆที่มีสายตาสั้นยังมีความเสื่ยงอื่นๆที่จะมีภาวะเเทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น โรคจอประสาทตาหลุดหรือโรคต้อหิน โรคมาร์แฟนซินโดรม    ปัจจัยอื่นๆที่ควรพิจารณาก่อนเข้ารับการควบคุมสายตาสั้นโดยจักษุเเพทย์ ความส่ํมาเสมอเเละวินัยของเด็ก - เนื่องจากวิธีการควบคุมสายตาสั้นโดยใช้คอนแทคเลนส์หรือการให้ยาต้องมีความส่ํมาเสมอเพื่อให้เห็นผลการรักษา ความเข้าใจในผลข้างเคียง - เนื่องจากการใช้ยาหยอดตาจะมีผลข้างเคียงบางอย่างเช่นมองเห็นใกล้ๆไม่ชัด ซึ่งในบางครั้งเด็กๆอาจจะทนไม่ได้   ท้ายที่สุดแล้วแพทย์และผู้ปกครองควรตัดสินใจร่วมกันเพื่อนพิจารณาการควมคุมสายตาสั้นในเด็กเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงที่สุด  
ศูนย์เลสิก LASER VISION
อย่าให้ปัญหาสายตาสั้นทำให้ชีวิตของคุณยุ่งยาก!
หลายคนมีปัญหาสายตาสั้น ทำให้มีทัศนวิสัยในการมองเห็นแย่ มองเห็นภาพไกล ๆ ไม่ชัด มองเห็นเป็นภาพเบลอ ซึ่งสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่มีค่าสายตาสั้นสูงมาก จนทำให้ต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์แทบจะตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นการเพิ่มอุปกรณ์จำเป็นในการดำรงชีวิตและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันอีกด้วย โดยเฉพาะคนที่สายตาสั้นและต้องใส่คอนแทคเลนส์ยังต้องเพิ่มเรื่องของการดูแลความสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ดวงตาติดเชื้อและอาจนำไปสู่อันตรายร้ายแรงต่อดวงตาอีกด้วย   ทั้งนี้ทั้งนั้นสายตาสั้นอาจไม่ใช่แค่ปัญหาที่สร้างความรำคาญ หรือทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินชีวิตเพียงแค่นั้น แต่ยังส่งผลกระทบกับชีวิตได้อีกหลายด้าน ทั้งด้านสุขภาพ ด้านการเงิน หรือแม้กระทั่งยังอาจเป็นตัวกำหนดอาชีพในอนาคตเราได้อีกด้วย ดังนั้นหากไม่อยากปล่อยให้เรื่องสายตาสั้นเป็นปัญหากวนใจ ควรหาทางแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ   ผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากสายตาสั้น ด้านสุขภาพ หลายคนยังไม่ทราบว่าหากใครที่มีสายตาสั้นมาก ๆ ในอนาคตอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ในบริเวณดวงตาได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม จอตาลอก จอตาฉีกขาด หรือวุ้นในตาเสื่อม ซึ่งในบางกรณีอาจรุนแรงถึงขึ้นทำทำให้สูญเสียการมองเห็นได้เลย   ด้านสังคมและการดำเนินชีวิตประจำวัน สายตาสั้นทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินชีวิตและการทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ในวัยเรียนอาจประสบปัญหามองกระดานเรียนไม่ชัด ทำให้มีปัญหาการเรียนสะดุดได้ เมื่อโตขึ้นการทำกิจกรรมบางอย่างก็ต้องใช้สายตาเป็นส่วนสำคัญ เช่น การขับขี่รถจักรยานยนต์หรือรถมอเตอร์ไซต์และอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อความคล่องตัวและความปลอดภัยจึงต้องใส่แว่นสายตาและคอนแทคเลนส์ และนำมาสู่ผลกระทบในข้อถัดไป   ด้านการเงิน เมื่อเริ่มรู้ว่าตนเองมีค่าสายตาที่ผิดปกติ ควรตรวจวัดค่าสายตาก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงทำการตัดแว่นหรือหาซื้อคอนแทคเลนส์ตามค่าสายตาของตนเอง เพื่อปรับให้มีการมองเห็นที่เหมาะสม ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา ต่างจากคนที่มีค่าสายตาปกติ และค่าสายตาเป็นอะไรที่ไม่คงที เมื่ออายุมากขึ้นค่าสายตาสั้นก็อาจสูงขึ้นตามไปด้วยทำให้ต้องเปลี่ยนเลนส์แว่นหรือคอนแทคเลนส์ใหม่ ๆ ทุกครั้งที่ค่าสายตาเปลี่ยน ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นในชีวิตประจำวัน   ด้านการประกอบอาชีพ รู้หรือไม่ว่าบางอาชีพมีการกำหนดค่าสายตาสูงสุดที่สามารถประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้ด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นอาชีพที่ต้องใช้สายตาเพื่อความละเอียดแม่นยำเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ของทั้งตนเองและผู้อื่น อย่างเช่น อาชีพนักบินถูกกำหนดห้ามสายตาสั้นเกิน -3.00D ห้ามสายตาเอียงเกิน -1.50D ส่วนนายสิบ นายร้อย ตำรวจและทหาร ต้องมีสายตาปกติและอ่าน snellen chart ได้หกต่อหก   แก้ไขสายตาสั้น ให้หมดความกังวลใจ ด้วยการทำเลสิกกับ LASERVISION เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินชีวิต และสำหรับบางคนที่อยากทำอาชีพได้แบบที่หวังโดยไม่ต้องกังวลใจกับเรื่องค่าสายตา หนทางเดียวที่จะทำให้ค่าสายตาเป็นปกติ คือ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขค่าสายตา โดยที่ในปัจจุบันการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตานั้นนิยมทำด้วยการเลเซอร์ ซึ่งเป็นการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อให้ผลลัพธ์มีความแม่นยำมากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น ที่สำคัญคือแผลผ่าเล็กไม่ต้องพักฟื้นนาน เหมือนกับการที่ศูนย์รักษาสายตานานาชาติ เลเซอร์วิชั่น เป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในไทยที่นำเอาเทคโนโลยี NanoRelex® เข้ามาใช้ในการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตา   โดย NanoRelex® เป็นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของ Femtosecond Laser ที่มีความแม่นยำสูง ในการปรับแต่งเนื้อเยื่อภายในชั้น Stroma ของกระจกตา ด้วยการคำนวณชิ้นเนื้อกระจกตา เป็นรูป 3 มิติ ที่เรียกว่า Lenticule ตามค่าสายตาของแต่ละบุคคล แล้วทำการนำ Lenticule ออกผ่านทางแผลขนาดเล็กประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าตัดน้อย ลดอาการตาแห้งได้ดี ที่สำคัญคือ หลังการผ่าตัดกระจกตาจะยังคงรูปร่างและความแข็งแรงอยู่ ทำให้คุณมั่นใจในการใช้ชีวิตด้วยการมองเห็นที่ดีขึ้น และไม่มีปัญหากวนใจอื่น ๆ ตามมาในภายหลัง
ศูนย์เลสิก LASER VISION
อาการตาแพ้แสง (Photophobia) เป็นอย่างไรและต้องรักษายังไง?
ภาวะตาแพ้แสง (Photophobia) เป็นภาวะที่ดวงตามีความไวต่อแสง ไม่สามารถสู้แสงได้ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด แสงจากหลอดไฟ แสงจากหน้าจอมือถือ แท็บเล็ต หรือโน้ตบุ้ค ซึ่งเมื่อดวงตาต้องเจอแสงเหล่านี้ก็อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง แสบ และมีน้ำตาไหล เป็นอาการที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ต้องใช้สายตาบ่อย ไม่ค่อยได้หยุดพักระหว่างวัน ซึ่งผู้ที่มีดวงตาสีอ่อนจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาแพ้แสงมากกว่าผู้ที่มีดวงตาสีเข้ม เนื่องจากตาสีอ่อนมีเม็ดสีน้อยกว่า จึงปกป้องดวงตาจากแสงได้น้อยกว่านั่นเอง   ส่วนสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการตาแพ้แสงมาจากหลากหลายสาเหตุ ทั้งจากพฤติกรรม โรค ยา การผ่าตัดและอื่น ๆ ดังนั้นมาลองดูกันว่าสาเหตุของการเกิดตาแพ้แสงนั้นมีอะไรบ้าง และมีพฤติกรรมไหนบ้างที่อาจจะทำให้คุณเสี่ยงมีภาวะตาแพ้แสงในอนาคต จะได้หลีกเลี่ยง เพื่อป้องกัน รวมถึงมาดูว่าหากคุณกำลังมีภาวะตาแพ้แสงอยู่ในขณะนี้จะรักษาได้อย่างไรบ้าง   สาเหตุหรือที่มาของการเกิดอาการตาแพ้แสง เยื่อบุตาหรือม่านตาอักเสบ ความผิดปกติของกระจกตา หรือการเกิดอุบัติเหตุทางตาทำให้มีแผลบนกระจกตา ตาอักเสบหรือติดเชื้อจากสิ่งสกปรก รูม่านตาขนาดใหญ่กว่าปกติ ตาแห้งจากการใช้สายตาหรือจ้องหน้าจอ/แสงนาน ๆ  อาการตาแพ้แสงสืบเนื่องจากไมเกรน ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่ส่งผลต่อตา เช่น ยาทาสิว ยาแก้อักเสบ ยาคุม ใส่คอนแทคเลนส์ที่มีขนาด หรือรูปทรงไม่เหมาะสมกับตา จนทำให้เกิดการระคายเคือง ใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ มีโรคหรืออาการเจ็บป่วยทางสมองที่อาจส่งผลต่ออาการตาแพ้แสง เช่น เนื้องอกในต่อมใต้สมอง ก้านสมองเสื่อม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือการได้รับบาดเจ็บที่รุนแรงทางสมอง   วิธีรักษาและบรรเทาอาการตาแพ้แสง หากสงสัยว่าอาการแสบตา ระคายเคืองตา หรือน้ำตาไหลบ่อย ๆ เมื่อต้องเจอกับแสง อาจเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยในเบื้องต้น แพทย์อาจซักถามอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และอาจมีการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจฟิล์มน้ำตาเพื่อดูปริมาณน้ำตา การตรวจด้วยเครื่อง Slit-Lamp เพื่อหาอาการบาดเจ็บหรือการอักเสบบนผิวดวงตา หรือการทำ MRI เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ   แต่โดยทั่วไปแล้วอาการตาแพ้แสงที่ไม่รุนแรงมาก สามารถรักษาและบรรเทาอาการได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้าทั้งแสงแดดและหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หากจำเป็นต้องอยู่กับแสงแดดหรือแสงจากหน้าจอเป็นเวลานาน ให้พักสายตาเป็นระยะ ๆ แต่ละรอบอาจจะพักสายตาไม่นานแต่เน้นทำบ่อย ๆ อ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ รวมถึงใช้จอคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีสารแคโรทีนอยด์ เช่น แครอท ผักบุ้ง ปวยเล้ง หรือผักผลไม้ที่มีสีส้มสีเหลืองเป็นส่วนใหญ่เยอะ ๆ เพื่อบำรุงสายตาให้แข็งแรง ใส่แว่นกันแดด กัน UV หรือแว่นที่เป็นเลนส์ปรับแสง เพื่อช่วยถนอมสายตาเมื่อต้องออกกลางแจ้ง เลือกคอนแทคเลนส์ที่มีค่าอมน้ำสูง หรือลดการใส่คอนแทคเลนส์แล้วหันมาใส่แว่นแทนหากอยู่ในช่วงที่มีอาการตาแพ้แสง หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางบริเวณรอบดวงตา การต่อขนตา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการระคายเคือง หรือหากมีอาการรุนแรง เช่น เจ็บปวดดวงตาเมื่อต้องเจอกับแสงในรูปแบบต่าง ๆ อาจต้องมีการใช้น้ำตาเทียม หรือยารักษาตามสาเหตุที่ทำให้ตาเกิดอาการแพ้แสง   ทำเลสิกทั้งทีต้องที่ Laser Vision เพราะดวงตาคืออวัยวะสำคัญที่ทำให้เรามองเห็น และยังเป็นอวัยวะที่บอบบางอีกด้วย เราจึงต้องรักษาดูแลและถนอมดวงตาไว้ให้มาก ๆ ดังนั้นหากจะทำการผ่าตัดเพื่อปรับแก้ไขค่าสายตาให้กลับมาเป็นปกติทั้งที ก็ต้องเลือกศูนย์เลสิกที่ไว้ใจได้ มีใบรับรอง มีการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีบริการที่ใส่ใจ และทั้งหมดที่ว่ามานี้ก็คงหนีไม่พ้น ศูนย์รักษาสายตานานาชาติ เลเซอร์วิชั่น ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการรักษาดวงตามาแล้วกว่า 25 ปี ที่สำคัญยังมีเทคโนโลยีเฉพาะอย่าง NanoRelex® ที่มีเฉพาะศูนย์เลเซอร์วิชั่น ให้การผ่าตัดที่แผลเล็ก ฟื้นตัวง่าย
ศูนย์เลสิก LASER VISION
5 วิธีสำหรับการดูแลสายตาแบบเบสิก ป้องกันการเสื่อมก่อนวัยอันควร
ดวงตา เป็นอวัยวะสำคัญที่ทำให้เรามีประสาทสัมผัสทางด้านการมองเห็น ซึ่งการมองเห็นที่ดีจะทำให้เราเพลิดเพลินไปกับแสง สี และทัศนียภาพที่ได้สัมผัส แต่ดวงตาเองก็เหมือนกับอวัยวะอื่น ๆ ทั่วไปในร่างกายที่มักเสื่อมสภาพตามอายุที่มากขึ้นของเรา แต่ในปัจจุบันการเติบโดตของเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟน ทำให้เราใช้สายตามากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มวัยทำงานที่ตาแทบจะอยู่กับหน้าจอตลอดเวลาตั้งตื่นนอนยันตอนหลับ   ดังนั้นคนในสองกลุ่มนี้หรือในผู้สูงอายุเอง ควรหันมาใส่ใจกับการดูแลสุขภาพตาให้มากขึ้น วันนี้ศูนย์รักษาสายตานานาชาติ เลเซอร์วิชั่น จึงขอนำเสนอห้าวิธีง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ เพื่อสุขภาพตาที่ดีขึ้นและป้องกันไม่ให้สุขภาพของดวงตาเสื่อมสภาพลงก่อนวัยอันควร   วิธีดูแลสุขภาพดวงตาแบบง่าย ๆ มีอะไรบ้าง? หลายคนมีความเสี่ยงสุขภาพตาเสื่อม เนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้งานดวงตาที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นหากลองปรับพฤติกรรมง่าย ๆ ตาม 5 ข้อนี้ อาจช่วยป้องกันการเสื่อมก่อนวัยอันควรของสุขภาพตาได้   ลดเวลาการใช้งานหน้าจอและปรับแสงสว่างของหน้าจอให้พอดี   ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอทีวี สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ปล่อยแสงสีฟ้าที่มีพลังงานสูงใกล้เคียงกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของดวงตา เพราะพลังงานที่สูงของแสงสีฟ้า สามารถทะลุเข้าไปและทำลายเซลล์รับแสงในดวงตาได้ ตั้งแต่กระจกตา เลนส์ตา ไปจนถึงจอประสาทตา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่อาจทำให้การมองเห็นแย่ลง และยังเป็นสาเหตุให้เกิดอาการตาล้า ปวดตา ตาเบลอ แสบตา หรือเคืองตา จึงควรลดเวลาที่ใช้สายตาอยู่กับหน้าจอเหล่านี้ลง รวมถึงการปรับแสงสว่างที่ไม่พอดี สว่างมากเกินไปหรือน้อยเกิดไปอาจทำให้ตาทำงานหนัก และเสี่ยงที่จะเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควรได้   การใส่แว่นกันแดดในชีวิตประจำวัน   คนไทยอาจไม่ค่อยชินหรือคุ้นเคยกับการใส่แว่นแดดในชีวิตประจำวันเท่าไหร่นัก ถึงแม้บ้านเราจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีปริมาณค่า UV ในปริมาณที่น่าเป็นห่วง แต่เราจะเห็นได้ว่าชาวต่างชาติมักจะใส่แว่นกันแดดให้เราเห็นกันบ่อย ๆ โดยการใส่แว่นกันแดดไม่ใช่เพื่อการแสดงออกทางแฟชั่นเท่านั้น แต่ยังเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องดวงตาของเราจากแสง UV ดังนั้นไม่ว่าคุณจะทำกิจกรรมอะไรที่อยู่ท่ามกลางแดดและต้องพบเจอแสง UV เช่น การขับรถ การออกกำลังกายกลางแจ้ง หรืออื่น ๆ ก็ควรใส่แว่นกันแดดให้ติดเป็นนิสัย เพื่อเป็นตัวช่วยที่ดีในการปกป้องสุขภาพตาของคุณ   รับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ ซี และอี เยอะ ๆ เพื่อช่วยบำรุงสาย   วิตามินเอ อี และ ซี เป็นวิตามินที่สำคัญต่อการปกป้องดวงตาของเราโดยที่วิตามินเอมีส่วนช่วยในการปกป้องกระจกตา มักอยู่ในผักผลไม้สีเหลือง ส้ม เขียว หรือนม ชีส ตับ ไข่แดง ส่วนวิตามินซีมีส่วนช่วยในการป้องกันการเสื่อมของเซลล์ ช่วยในการป้องกันการเกิดต้อประเภทต่างๆ พบมากในผักอย่างคะน้า กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม หรือผลไม้ที่มีรสชาติเปรี้ยว และสุดท้ายวิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ มีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทตา ชะลอการเสื่อมก่อนวัย พบได้ในน้ำมันมะกอก อะโวคาโด เมล็ดทานตะวัน นอกจากนี้ยังควรต้องรับประทานอารที่มีสารแคโรทีนอยด์ กรดไขมันโอเมก้า 3 และแร่ธาตุสังกะสี เพื่อการปกป้องสายตาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น   ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นานเกิน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน   การดูแลดวงตาสำหรับผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์อาจต้องระมัดระวังมากกว่าเพราะตัวเลนส์จะสัมผัสกับลูกตาของเราโดยตรง และหากไม่ดูแลความสะอาดให้ดีอาจทำให้ติดเชื้อบริเวณดวงตาได้ง่าย โดยการสวมใส่คอนแทคเลนส์ที่ถูกต้องไม่ควรใส่นานเกิน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสคอนแทคเลนส์และดวงตา หากทำได้แนะนำให้ใช้คอนแทคเลนส์รายวันเพราะจะมีความชุ่มชื้นมากกว่า และเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยลง   หลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย   สำหรับใครที่มีอาการตาแห้งโดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้สายตาจ้องจอเป็นเวลานาน ผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์ หรือสาเหตุอื่น ๆ อาจทำให้น้ำตาไปหล่อเลี้ยงดวงตาไม่เพียงพอจึงต้องใช้น้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา แต่เพื่อการปกป้องการเสื่อมสภาพของดวงตาแนะนำว่าการเลือกใช้น้ำตาเทียมก็มีความสำคัญ โดยน้ำตาเทียมที่จักษุแพทย์มักจะแนะนำสำหรับผู้ที่ใช้ยาหยอดตาเป็นประจำ คือแบบกระเปาะ เพราะไม่มีส่วนผสมของสารกันเสีย   Laser Vision International LASIK Center รักษาสายตาผิดปกติด้วยหลากหลายทางเลือก ศูนย์รักษาสายตานานาชาติ เลเซอร์วิชั่น ศูนย์เลสิกชั้นนำในกรุงเทพมหานครด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 25 ปี ที่ให้บริการรักษาสายตาผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ด้วยวิธีการรักษาที่หลากหลายผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ทุกคนได้รับการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพตาและความต้องการของแต่ละท่านที่มาเข้ารับบริการ ไม่ว่าจะเป็นการทำ NanoRelex® การทำ NanoLASIK, FemtoLASIK, LASIK หรือการทำ PRK และนอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยการใส่เลนส์เสริม ICL การทำ RLE และการรักษาต้อกระจก ที่สามารถทำได้ครบจบในที่นี่ที่เดียว ดังนั้นหากคุณกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยคุณแก้ปัญหาทางด้านสายตา ปรึกษาเราได้ที่ศูนย์เลสิก Laser Vision
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
จอประสาทตาเสื่อมและเทคโนโลยีการรักษาในปัจจุบัน
จอประสาทตาเสื่อมและเทคโนโลยีการรักษาในปัจจุบัน จอประสาทตาเสื่อม (Age-related Macular Degeneration หรือ AMD) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์บริเวณจุดศูนย์กลางของจอประสาทตา (Macula) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการมองเห็น ทำให้สูญเสียการมองเห็นส่วนกลางไปทีละน้อย อาจเริ่มจากมองเห็นภาพตรงกลางไม่ชัด ภาพบิดเบี้ยว สีผิดเพี้ยน จนกระทั่งมองไม่เห็นภาพตรงกลางในที่สุด โดยทั่วไป จอประสาทตาเสื่อม มักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้ เช่น การสูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และพันธุกรรม   จอประสาทตาเสื่อม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่   จอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง (Dry AMD): เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด (ประมาณ 80-90%) เกิดจากการสะสมของของเสียที่จอประสาทตา ทำให้เซลล์รับแสงเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ ทำให้การมองเห็นลดลงอย่างช้า ๆ จอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (Wet AMD): เป็นชนิดที่พบได้น้อยกว่า (ประมาณ 10-20%) แต่มีความรุนแรงมากกว่า เกิดจากการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติใต้จอประสาทตา เส้นเลือดเหล่านี้อาจรั่วหรือแตก ทำให้เกิดการบวมและเป็นแผลเป็นที่จอประสาทตา ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วจอประสาทตาเสื่อม เป็นสาเหตุอันดับที่สามของการสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ แม้ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่มีทางเลือกในการรักษาและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถชะลอความเสื่อมและรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ อาการของ จอประสาทตาเสื่อม มีอะไรบ้าง? อาการของ จอประสาทตาเสื่อม ขึ้นอยู่กับระยะของโรคจอประสาทตาเสื่อม แบบแห้งจะแบ่งตามกลุ่มอาการเป็น 3 ระยะ: ระยะแรก ระยะกลาง และระยะสุดท้าย โดยที่อาการมักจะแย่ลงตามเวลาและระยะของโรค จอประสาทตาเสื่อม แบบแห้งระยะแรกมักจะไม่มีอาการใด ๆ ใน จอประสาทตาเสื่อม แบบแห้งระยะกลาง บางคนยังไม่มีอาการ บางคนอาจสังเกตเห็นอาการเล็กน้อย เช่น ภาพเบลอเล็กน้อยในบริเวณศูนย์กลางภาพหรือปัญหาในการมองเห็นในแสงน้อย ใน AMD ระยะสุดท้าย (ทั้งแบบเปียกและแห้ง) หลายคนสังเกตเห็นว่าเส้นตรงเริ่มดูเป็นคลื่นหรือโค้งงอ คุณอาจ สังเกตเห็นบริเวณภาพเบลอใกล้ศูนย์กลางภาพ เมื่อเวลาผ่านไป บริเวณภาพเบลอนี้อาจขยายใหญ่ขึ้น สีอาจดูไม่สดใส เหมือนเดิม และคุณอาจมีปัญหาในการมองเห็นในแสงน้อยมากขึ้น การที่เส้นตรงดูเป็นคลื่นเป็นสัญญาณเตือนสำหรับ AMD ระยะสุดท้าย หากคุณสังเกตเห็นอาการนี้ ให้พบจักษุแพทย์ ทันที เราจะมีวิธีการลดความเสี่ยงต่อ โรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ ได้อย่างไร? มีหลายงานวิจัยที่บ่งบอกว่าถ้าเราทำตามพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ อาจชะลอการเป็นจอประสาทตาเสื่อม (หรือชะลอการสูญเสียการมองเห็นจากจอประสาทตาเสื่อม) ได้         เลิกสูบบุหรี่ หรือไม่เริ่มสูบบุหรี่         ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ         รักษาระดับความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลให้ปกติ         กินอาหารเพื่อสุขภาพ รวมถึงผักใบเขียวและปลา จักษุแพทย์จะตรวจหา AMD อย่างไร? ส่วนมากจะมีใช้การตรวจตา โดยการจะมีการตรวจขยายม่านตา ตรวจจอประสาทตา และการสแกนจอประสาทตาด้วยเครื่อง Optical Coherence Tomography (OCT)   วิธีการรักษาจอประสาทตาเสื่อม 1. การรักษาด้วยยาและอาหารเสริม วิตามินและแร่ธาตุ: การรับประทานวิตามินซี, อี, เบต้าแคโรทีน, สังกะสี และทองแดง อาจช่วยชะลอการลุกลามของจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้งในบางราย ยาฉีด: ยาต้าน VEGF (Vascular Endothelial Growth Factor) เป็นการรักษาหลักสำหรับจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก ยานี้ช่วยยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติ     2. การรักษาด้วยเลเซอร์ Photodynamic therapy (PDT): ใช้เลเซอร์ร่วมกับยาฉีดเพื่อทำลายเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติ Laser photocoagulation: ใช้เลเซอร์เพื่อทำลายเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติโดยตรง 3. การผ่าตัด การผ่าตัดเอาเลือดออก: ในกรณีที่เลือดออกในดวงตา อาจต้องผ่าตัดเพื่อเอาเลือดออก การผ่าตัดปลูกถ่ายจอประสาทตา: เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังอยู่ในขั้นทดลอง   ข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธี วิธีการรักษา ข้อดี ข้อเสีย วิตามินและแร่ธาตุ ราคาถูก, ปลอดภัย ไม่ได้ผลกับทุกคน, อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย ยาฉีด ได้ผลดีในการรักษาจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก ต้องฉีดเข้าดวงตาเป็นประจำ, อาจมีผลข้างเคียง การรักษาด้วยเลเซอร์ ได้ผลดีในการทำลายเส้นเลือดใหม่ อาจทำลายเนื้อเยื่อปกติโดยรอบ, ไม่ได้ผลกับทุกคน การผ่าตัด อาจช่วยรักษาภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง มีความเสี่ยงจากการผ่าตัด, ไม่ได้ผลกับทุกคน   เทคโนโลยีใหม่ในการรักษาจอประสาทตาเสื่อม ยาฉีดชนิดใหม่: ยาฉีดที่ออกฤทธิ์นานขึ้น ช่วยลดความถี่ในการฉีด Gene therapy: เป็นการรักษาโดยการใส่ยีนที่ปกติเข้าไปในเซลล์จอประสาทตาเพื่อซ่อมแซมความเสียหาย Stem cell therapy: เป็นการรักษาโดยการใช้สเต็มเซลล์เพื่อสร้างเซลล์จอประสาทตาใหม่   สรุป   การรักษาจอประสาทตาเสื่อมมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของโรค รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
ศูนย์รักษาตาเด็ก
3 สัญญาณเตือนว่าลูกน้อยอาจมีปัญหาสายตา
3 สัญญาณเตือนว่าลูกน้อยอาจมีปัญหาสายตา   หรี่ตาหรือเอียงคอมอง: ถ้าลูกชอบหรี่ตาหรือเอียงคอเวลาจะมองอะไรไกลๆ เช่น ดูทีวีหรือมองกระดาน อาจเป็นสัญญาณว่ามองไม่ค่อยชัด ชอบเอาของมาดูใกล้ๆ: ถ้าลูกชอบเอาหนังสือหรือของเล่นมาจ่อใกล้หน้า หรือต้องเข้าไปดูทีวีใกล้กว่าปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณว่าลูกกำลังมีปัญหาสายตา ขยี้ตาบ่อยๆ: ถึงแม้บางทีเด็กๆ จะขยี้ตาเพราะง่วงหรือเมื่อยล้า แต่ถ้าขยี้ตาบ่อยเกินไป ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกกำลังมีปัญหาสายตาได้เหมือนกัน   สัญญาณอื่นๆ ที่พ่อแม่ควรสังเกต   สมาธิสั้นเวลาต้องใช้สายตา: เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ หรือวาดรูป อ่านหนังสือแล้วชอบหลงบรรทัด: หรืออ่านข้ามๆ ไปบ้าง ไม่อยากทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา: เช่น ต่อจิ๊กซอว์ ระบายสี หรือเล่นตัวต่อ   ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ในตัวลูก อย่ารอช้า รีบพาลูกไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็กสายตานะคะ การตรวจพบและรักษาปัญหาสายตาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางสายตาที่ดี และเติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีค่ะ ติดต่อ ศูนย์รักษาสายตาเด็ก - โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ โทร 02-023-9929, 02-511-2111
  • ...