มุมสุขภาพตา : #PRK

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และพฤติกรรมที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม

PRK และ LASIK คืออะไร? เทคนิคการผ่าตัดสายตาที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจ

ในปัจจุบันประชากรทั่วโลกประสบปัญหาสายตาเพิ่มขึ้น ทั้งสายตาสั้นและสายตาเอียงที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกเพศทุกวัย สาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการใช้สายตาที่มากเกินความจำเป็น วิธีการใช้สายตาที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ในชีวิตประจำวัน ส่งผลให้มีความต้องการในการรักษาค่าสายตาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการใช้แว่นตา คอนแท็กต์เลนส์ หรือแม้กระทั่งการผ่าตัดแก้ไขสายตา สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพตาอย่างถูกวิธีในยุคนี้ PRK คือการผ่าตัดแก้ไขสายตาที่ต่างจาก LASIK ทั่วไป บทความนี้พามาดูว่า แล้ว PRK กับ LASIK ต่างกันอย่างไร? พร้อมอธิบายขั้นตอนการรักษา ข้อดี-ข้อเสีย และการพักฟื้นให้เห็นแบบชัดๆ กัน   PRK และ LASIK คือการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์ แต่มีขั้นตอนที่แตกต่างกัน โดย PRK ไม่มีการเปิดกระจกตาในขณะที่ LASIK มีการเปิดและปิดกระจกตาหลังจากเลเซอร์ยิงแก้ไขสายตา PRK มีระยะเวลาฟื้นตัวนานกว่า LASIK เนื่องจากไม่มีการปิดกระจกตากลับเหมือน LASIK แต่มีความปลอดภัยสูงกว่าในระยะยาวสำหรับบางอาชีพหรือผู้ที่มีสายตาสั้นมาก PRK เหมาะกับผู้ที่มีกระจกตาบางหรือมีความเสี่ยงจากกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก ส่วน LASIK เหมาะกับผู้ที่ต้องการฟื้นตัวเร็วและไม่ต้องทนต่ออาการระคายเคืองนาน Bangkok Eye Hospital มีแพทย์เฉพาะทางและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้บริการทั้ง PRK และ LASIK พร้อมคำแนะนำที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล     นวัตกรรมผ่าตัดสายตา PRK คืออะไร? PRK (Photorefractive Keratectomy) คือวิธีรักษาสายตาที่ปรับแก้กระจกตาคล้ายเลสิก แต่เลสิกมีผลข้างเคียงน้อยกว่า PRK และต่างกันที่วิธีผ่าตัด โดย PRK มีมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 ก่อนหน้าเลสิก และยังได้รับความนิยมอยู่เนื่องจากให้ผลถาวร PRK เป็นทางเลือกที่ดีในการแก้ปัญหาสายตาสั้น สายตาสั้นข้างเดียว และสายตาเอียง โดยสามารถแก้ไขสายตาสั้นได้ถึง 500 (5.00 Diopters) และสายตาเอียงไม่เกิน 200 (2.00 Diopters) วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระจกตาบางหรือมีอาการตาแห้งซึ่งไม่สามารถทำเลสิกได้ เนื่องจากเลสิกต้องตัดกระจกตาชั้นบนออกชั่วคราว ทำให้อาการตาแห้งอาจรุนแรงขึ้น สำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดเหล่านี้ PRK จึงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากกว่าในการแก้ไขปัญหาสายตา กระบวนการนี้ใช้เวลาในการหายประมาณ 5- 7 วัน และอาจมีอาการระคายตาบ้าง ข้อดี-ข้อเสียของการทำ PRK รู้จักนวัตกรรมการทำ PRK หรือ Photorefractive Keratectomy กันไปแล้ว มาเช็กข้อดีและข้อเสียของการทำ PRK กันว่ามีอะไรบ้าง ข้อดีของการทำ PRK ข้อดีของการทำ PRK คือเป็นวิธีรักษาสายตาที่ให้ผลลัพธ์ถาวรและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการทำเลสิก ขั้นตอนการรักษาสะดวกสบาย เพียงหยอดยาชาโดยไม่ต้องฉีดยา ไม่เจ็บระหว่างทำ และไม่ต้องเย็บแผล ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันทีหลังผ่าตัด PRK มีข้อจำกัดน้อยกว่าเลสิก เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระจกตาบาง ตาแห้ง หรือเป็นโรคที่ทำเลสิกไม่ได้ และไม่มีความเสี่ยงกระจกตาเปิดเหมือนการทำเลสิก นอกจากนี้ ยังเพิ่มโอกาสในการทำงานสำหรับอาชีพนักบิน ทหาร ตำรวจ และช่วยให้ใช้ชีวิตประจำวันสะดวกขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งพาแว่นตาอีกต่อไป ผลข้างเคียงของการทำ PRK ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในช่วงแรกหลังผ่าตัด PRK   อาการปวดและไม่สบายตาในช่วง 2 - 3 วันแรกอาจมีอาการปวดตา แสบตา และรู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในตา โดยอาการนี้จะค่อยๆ บรรเทาลงตามระยะเวลา อาการตาแห้งอาจคงอยู่นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ผู้ป่วยอาจรู้สึกถึงความแห้งในดวงตา ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยน้ำตาเทียมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด มองเห็นภาพไม่ชัดในช่วงแรกหลังผ่าตัด การมองเห็นอาจยังไม่ชัดและต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว โดยอาจต้องใช้ระยะเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์กว่าสายตาจะปรับตัวและมองเห็นได้อย่างชัดเจน ไวต่อแสงผู้ป่วยจะรู้สึกมีความไวต่อแสงเป็นพิเศษในช่วงระยะแรกหลังผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้ต้องสวมแว่นกันแดดหรือหลีกเลี่ยงแสงจ้าเพื่อความสบายและป้องกันความระคายเคืองของดวงตา   ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาวหลังผ่าตัด PRK   กระจกตาเป็นฝ้า (Corneal haze)ในบางกรณีอาจเกิดฝ้าที่กระจกตาหลังผ่าตัด PRK แต่โดยทั่วไปแล้วอาการนี้จะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป การมองเห็นแสงกระจาย (Glare) หรือแสงฟุ้ง (Halos)โดยเฉพาะในสภาวะแสงน้อยหรือเวลากลางคืน ผู้ป่วยจะรับรู้ถึงแสงที่กระจายหรือมีวงแหวนรอบแหล่งกำเนิดแสง อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ในบางกรณีอาจเป็นถาวร การมองเห็นไม่คงที่ (Fluctuating Vision)โดยเฉพาะในช่วงระยะแรกฟื้นตัว การมองเห็นอาจเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาของวัน โดยทั่วไปอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและคงที่ขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป การแก้ไขสายตาไม่สมบูรณ์อาจมีการแก้ไขสายตาน้อยเกินไป (Under-correction) หรือมากเกินไป (Over-correction) ทำให้ผู้ป่วยยังต้องพึ่งแว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ในบางระดับ ในกรณีนี้ แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเสริมหรือแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด การกลับมาของสายตาผิดปกติ (Regression)สายตาอาจกลับมาสั้น ยาว หรือเอียงอีกครั้ง อัตราการเกิดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบางปัจจัย อายุ และสภาพร่างกายของผู้ป่วย การทำ PRK เหมาะกับใครบ้าง ผู้ที่เหมาะสมกับการทำ PRK ต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยค่าสายตาจะต้องคงที่ไม่น้อยกว่า 1 ปี กระจกตาต้องแข็งแรงไม่มีประวัติกระจกตาถลอกหรือหลุดลอก และไม่มีโรคอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการผ่าตัด เช่น เบาหวาน วิธีนี้เหมาะกับสายตาสั้นหรือเอียงในระดับที่รักษาได้ รวมถึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีกระจกตาบางกว่าปกติ ตาแห้งแบบรักษายาก หรือกระจกตาโค้งผิดรูป ผู้ที่เป็นต้อหินอาจทำได้ในบางกรณีแต่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน นอกจากนี้ยังเหมาะกับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพที่ต้องการสายตาดี เช่น นักบิน ตำรวจ หรือทหาร เป็นต้น     ขั้นตอนการทำ PRK หยดแอลกอฮอล์ลงบนผิวตาเพื่อละลายเยื่อหุ้มกระจกตาออก ใช้เครื่องมือผ่าตัดปรับผิวกระจกตาให้เรียบ ใช้ Excimer Laser ปรับรูปทรงกระจกตาใหม่ให้พอดีกับค่าสายตา ปิดแผลด้วยคอนแท็กต์เลนส์พิเศษเป็นเวลา 5 - 7 วัน เพื่อรอให้เยื่อหุ้มกระจกตาสร้างใหม่ ไม่จำเป็นต้องเย็บแผลผ่าตัดหลังจากนำคอนแท็กต์เลนส์ออก     เทคนิคการผ่าตัดสายตา LASIK คืออะไร? เลสิก (LASIK)คือวิธีผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด หรือสายตาเอียง โดยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ปรับเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาอย่างแม่นยำตามค่าสายตาที่คำนวณไว้ ทำให้แสงที่สะท้อนเข้าสู่ดวงตาหักเหไปรวมกันที่เรตินาได้พอดี ส่งผลให้ผู้รับการรักษากลับมามองเห็นได้ชัดเจนอีกครั้ง การรักษาด้วยเลสิกมีจุดเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1949 โดย Dr.Jose I. Barraquer จักษุแพทย์ผู้คิดค้นวิธีการผ่าตัดแบบแยกชั้นกระจกตา (Keratomileusis) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาเทคนิคเลสิกที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ข้อดี-ข้อเสียของการทำ LASIK แม้การทำ LASIK จะเป็นการผ่าตัดแก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติที่เคยได้ยินกันมานาน แต่หลายคนก็ยังไม่เคยทราบถึงข้อดีและข้อเสียของการทำ LASIK เลย ซึ่งข้อดีและข้อเสียของการทำเลสิกมีดังนี้ ข้อดีของการทำ LASIK LASIK เป็นเทคโนโลยีการแก้ไขสายตาชั้นสูงที่ใช้ Femtosecond Laser และ Excimer Laser ปรับความโค้งของกระจกตาได้อย่างแม่นยำ แก้ไขสายตาสั้น ยาว เอียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ การผ่าตัดทำได้รวดเร็ว ไม่เจ็บ ไม่ต้องเย็บแผล และใช้เวลาพักฟื้นสั้นมาก สามารถใช้สายตาได้ภายใน 1 วันและเห็นชัดขึ้นใน 2 - 3 วัน ผลลัพธ์คงทนในระยะยาว ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ลดข้อจำกัดในการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งการเล่นกีฬา การอ่านหนังสือ การใช้อุปกรณ์สื่อสาร หรือการขับรถได้อย่างอิสระ ผลข้างเคียงของการทำ LASIK การทำ LASIK มีข้อเสียที่ควรพิจารณาทั้งในด้านผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นและค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดสำหรับผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับตา สตรีตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ทำให้ไม่สามารถทำได้ทุกคน ภายหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยบางรายอาจประสบปัญหาตาแห้ง จึงจำเป็นต้องดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อให้การฟื้นฟูเป็นไปอย่างราบรื่น การทำ LASIK เหมาะกับใคร การทำ LASIK เหมาะกับผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีค่าสายตาที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงในรอบ 1 ปี และมีสุขภาพดวงตาที่แข็งแรงสมบูรณ์ โดยมีความหนาของกระจกตาที่เพียงพอสำหรับการรักษา นอกจากนี้ ยังต้องไม่มีโรคเกี่ยวกับกระจกตาหรือโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อดวงตา เช่น โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องต่างๆ     ขั้นตอนการทำ LASIK แยกชั้นกระจกตาด้วยเครื่องไมโครเครราโตม (Microkeratome) หรือใช้ใบมีดเพื่อสร้างชั้นกระจกตา (Flap) สำหรับเข้าถึงพื้นที่การรักษา ยกชั้นกระจกตาขึ้นเพื่อเตรียมพื้นที่ชั้นกลางของกระจกตา ทำให้พร้อมสำหรับการปรับความโค้งด้วยเลเซอร์ในขั้นตอนต่อไป ใช้ Excimer Laser ยิงไปที่ชั้นกลางของกระจกตา เพื่อปรับเปลี่ยนความโค้งให้ได้ตามการคำนวณที่ได้ออกแบบไว้ ปิดชั้นกระจกตา (Flap) กลับคืนตำแหน่งเดิม โดยกระจกตาจะสมานตัวเองได้โดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องเย็บแผลใดๆ ทั้งสิ้น     PRK VS. LASIK เปรียบเทียบให้ชัดต่างกันอย่างไร? การทำ PRK และ LASIK เจ็บไหม? ระหว่างการทำจะไม่รู้สึกเจ็บเพราะมีการใช้ยาชาหยอดตา อย่างไรก็ตาม การทำ PRK อาจมีอาการระคายตาในช่วงฟื้นตัวมากกว่าการทำ LASIK ค่ารักษาของการทำ PRK และ LASIK ต่างกันไหม? โดยทั่วไป การทำ PRK และ LASIK มีค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกัน แต่ขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลและเทคโนโลยีที่ใช้ด้วย การแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์สามารถทำซ้ำได้ไหม? สามารถทำซ้ำได้หากมีการเปลี่ยนแปลงของสายตาในอนาคต แต่ต้องรอให้สายตาคงที่ก่อน ทำ PRK และ LASIK ที่ ศูนย์เลเซอร์วิชั่น Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากต้องการแก้ไขปัญหาสายตา มาปรึกษาและรักษาได้ที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) เพื่อการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยจักษุแพทย์ผู้มากความรู้เกี่ยวกับดวงตาและทีมงานที่มีประสบการณ์ และจุดเด่นดังนี้   โรงพยาบาลมีจักษุแพทย์มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป PRK และ LASIK คือวิธีผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเลเซอร์ที่แตกต่างกันตรงที่การทำ PRK ไม่มีการเปิดกระจกตา ขณะที่การทำ LASIK มีการเปิดและปิดกระจกตาหลังการยิงเลเซอร์ ทำให้การทำ PRK มีระยะเวลาฟื้นตัวนานกว่าแต่มีความปลอดภัยสูงในระยะยาวสำหรับบางอาชีพหรือผู้ที่มีสายตาสั้นมาก การทำ PRK จึงเหมาะกับผู้ที่มีกระจกตาบางหรือมีความเสี่ยงจากกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก ส่วนการทำ LASIK เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฟื้นตัวเร็วและไม่ต้องทนต่ออาการระคายเคืองเป็นเวลานาน หากมีความผิดปกติของดวงตา มาเช็กสุขภาพตาอย่างละเอียดที่ ศูนย์เลเซอร์วิชั่น Bangkok Eye Hospital โรงพยาบาลเฉพาะทางที่มีทีมแพทย์มากประสบการณ์ อุปกรณ์ที่ทันสมัย ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากล มั่นใจได้ว่าการรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง แม่นยำ และปลอดภัย
ศูนย์เลสิก LASER VISION

สายตาสั้นมีกี่ระดับ? รู้ทันสาเหตุ อาการ พร้อมวิธีรักษาและป้องกัน!

‘สายตาสั้น’เป็นปัญหาทางสายตาที่หลายคนอาจพบเจอ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเพิ่มขึ้น และหลายคนอาจจะยังสับสนอยู่ว่ามองไกลไม่ชัดสายตาสั้นหรือยาว? สายตาสั้นไม่ได้มีแค่ระดับเดียว แต่มีหลายระดับที่ส่งผลต่อการมองเห็นแตกต่างกันไป และไม่เพียงแค่ทำให้มองเห็นวัตถุในระยะไกลไม่ชัดเจนเท่านั้น แต่ในบางกรณีอาจส่งผลให้มองแทบไม่เห็นในที่สว่างหรือที่มีแสงจ้า บทความนี้จะพาไปเช็กระดับของสายตาสั้น วิธีสังเกตอาการแบบง่ายๆ พร้อมแนะนำแนวทางรักษาและป้องกันไม่ให้สายตาแย่ลง สายตาสั้นคือการที่แสงไม่โฟกัสที่จอประสาทตา แต่ไปตกที่ด้านหน้าของจอ ทำให้มองเห็นภาพไกลไม่ชัดเจน โดยมีปัจจัยต่างๆ เช่น ลูกตามีความยาวเกินไป กระจกตาหรือเลนส์โค้งมากเกินไป พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม อายุ และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย รวมถึงปัจจัยทางการแพทย์ การเช็กระดับสายตาสั้นแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเบา (Dioptre -0.25 ถึง -3.00) มักไม่รุนแรง ระดับปานกลาง (Dioptre -3.00 ถึง -6.00) ต้องการแว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ และระดับรุนแรง (Dioptre > -6.00) ซึ่งอาจต้องใช้แว่นตาความหนาสูงหรือพิจารณาผ่าตัด การรักษาสายตาสั้นมี 3 วิธีหลักๆ คือการใส่แว่นตาช่วยปรับแสงให้โฟกัสที่จอประสาทตา การใช้คอนแท็กต์เลนส์ที่สะดวก และการทำเลสิกที่สามารถแก้ไขปัญหาสายตาสั้นอย่างถาวร ที่มีการปรับรูปทรงของกระจกตาด้วยเลเซอร์     สายตาสั้นเกิดจากอะไร? ปัจจัยที่ทำให้เกิดสายตาสั้น สายตาสั้น (Myopia) เกิดขึ้นเมื่อแสงที่ผ่านเข้ามาในดวงตาของเรามีการโฟกัสผิดที่ ไม่ว่าจะเกิดสายตาสั้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง โดยปกติแล้ว เมื่อแสงผ่านกระจกตา (Cornea) และเลนส์ตา (Lens) จะต้องโฟกัสไปที่จอประสาทตา (Retina) เพื่อให้เราเห็นภาพที่ชัดเจน แต่ในกรณีของผู้ที่มีสายตาสั้น แสงจะไม่ได้ตกลงบนจอประสาทตาโดยตรง แต่จะตกไปที่ด้านหน้าของจอประสาทตา ทำให้ภาพที่เราเห็นในระยะไกลไม่ชัดเจนหรือเห็นภาพเบลอ โดยสาเหตุที่ทำให้สายตาสั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้ 1. ลูกตามีความยาวมากเกินไป สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของสายตาสั้นคือลูกตายาวเกินไป จากด้านหน้าไปด้านหลัง (จากกระจกตาถึงจอประสาทตา) เมื่อขนาดของลูกตามีความยาวมากเกินไป การโฟกัสของแสงจะเกิดขึ้นก่อนที่จอประสาทตา ทำให้เกิดภาพเบลอในระยะไกล เพราะแสงไม่ได้โฟกัสตรงจุดที่จอประสาทตา (Retina) ซึ่งควรจะเป็นจุดที่แสงรวมตัวกันเพื่อให้เห็นภาพที่คมชัด 2. กระจกตาหรือเลนส์ตาโค้งมากเกินไป ในบางกรณีกระจกตาหรือเลนส์ตาของผู้ที่มีสายตาสั้นจะโค้งมากเกินไป ซึ่งทำให้แสงหักเหมากเกินไปและไม่สามารถโฟกัสที่จอประสาทตาได้เช่นกัน การหักเหที่มากเกินไปทำให้แสงไปตกที่ด้านหน้าของจอประสาทตา ทำให้ภาพไม่ชัดเจนเมื่อมองในระยะไกล 3. พันธุกรรม สายตาสั้นสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากมีสมาชิกในครอบครัวที่มีสายตาสั้น โอกาสที่ลูกหลานจะมีสายตาสั้นก็จะสูงขึ้น โดยเฉพาะถ้าพ่อแม่สายตาสั้นทั้งสองคนหรือมีอาการสายตาสั้นในระดับรุนแรง 4. ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สายตาในระยะใกล้เป็นเวลานานๆ อาจทำให้สายตาสั้นได้ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือการอ่านหนังสือในระยะใกล้เป็นเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการโฟกัสของตาเกิดความเครียด จนทำให้การหักเหของแสงผิดปกติได้ 5. อายุและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย แม้ว่าสายตาสั้นมักจะเริ่มต้นในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น แต่ในบางกรณีสามารถเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการพัฒนาและการเจริญเติบโตของดวงตาอาจมีส่วนทำให้เกิดสายตาสั้นขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการเจริญเติบโตของกระจกตาหรือความยาวของลูกตาที่เพิ่มขึ้น 6. ปัจจัยทางการแพทย์บางประการ บางครั้งการมีปัญหาทางสุขภาพหรือได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา อาจทำให้เกิดอาการสายตาสั้นได้ เช่น การผ่าตัดตาหรือการได้รับแสง ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างตา สังเกตอาการเริ่มต้นของสายตาสั้น ที่ไม่ควรมองข้าม สายตาสั้นมีอาการเริ่มต้นที่สังเกตได้จากการมองเห็นไม่ชัดเจนในระยะไกล และบางครั้งอาจจะรู้สึกว่ามองไม่เห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ไกลออกไปได้ดีเหมือนเมื่อก่อน อาจจะเริ่มเห็นภาพเบลอเมื่อมอง ต้องเพ่งสายตาเมื่อมองสิ่งที่อยู่ไกลออกไปหรืออาจจะรู้สึกปวดตาเมื่อต้องเพ่งสายตามากๆ เมื่อเกิดอาการสายตาสั้น ภาพที่เห็นจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน เช่น การไม่สามารถอ่านป้ายถนนหรือเลขทะเบียนรถได้ชัดเจนจากระยะไกล ซึ่งมักเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจเริ่มมีปัญหาสายตาสั้น การมองเห็นภาพที่ไม่ชัดเจนในระยะไกลเป็นหนึ่งในอาการที่สามารถสังเกตได้ง่าย และมักเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสายตาสั้นที่หลายคนมักจะพบในระยะแรก     เช็กระดับสายตาสั้น รู้ทันความรุนแรงของอาการ การเช็กระดับสายตาสั้นคือการประเมินว่าความผิดปกติในสายตาของเรานั้นรุนแรงเพียงใด ซึ่งช่วยให้รู้ว่าอาการอยู่ในระดับไหน สายตาสั้นค่าลบหรือค่าบวก และควรรักษาหรือปรับปรุงการดูแลอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาสายตาลุกลามมากขึ้น สายตาสั้นมีกี่ระดับ? สามารถแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับได้ ดังนี้ ระดับเบา (Mild Myopia) สายตาสั้นระดับเบาจะมีค่า Dioptre -0.25 ถึง -3.00 Dioptre ในระดับนี้มักไม่รุนแรงมาก สามารถมองเห็นในระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่จะมีปัญหาบ้างในการมองเห็นในระยะไกล เช่น การอ่านป้ายถนนหรือเลขทะเบียนรถจากระยะไกล อาจไม่จำเป็นต้องรักษาทันที แต่แนะนำให้ตรวจสายตาประจำปีเพื่อดูความเปลี่ยนแปลง ระดับปานกลาง (Moderate Myopia) สายตาสั้นระดับปานกลางจะมีค่า Dioptre -3.00 ถึง -6.00 Dioptre ในระดับนี้มีปัญหาการมองเห็นในระยะไกลชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะในสภาพแสงน้อยหรือระหว่างการขับขี่ที่ต้องการแว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์เพื่อช่วยในการมองเห็นในระยะไกล อาจพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัดเลสิกถ้าจำเป็น ระดับรุนแรง (Degenerative Myopia) สายตาสั้นระดับรุนแรงมีค่า Dioptre มากกว่า -6.00 Dioptre อาการในระดับนี้จะมีปัญหามากขึ้นในการมองเห็นระยะไกล อาจมองเห็นภาพเบลอทั้งในระยะไกลและใกล้ ได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องใช้แว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ที่มีค่าสายตาสูง ในบางกรณีอาจต้องพิจารณาผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาสายตาสั้นด้วย ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีปัญหาสายตาสั้น อาการสายตาสั้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในระยะไกลแล้ว ยังมีผลกระทบต่อหลายๆ ด้านในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจสร้างความลำบากหรือความไม่สะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน หรือการใช้ชีวิตในกิจกรรมประจำวัน หากไม่ได้รับการรักษาหรือการดูแลที่เหมาะสม สายตาสั้นอาจส่งผลกระทบในหลายด้าน ดังนี้ การขับรถยนต์และการเดินทางสายตาสั้นทำให้ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลๆ ชัดเจน เช่น ป้ายจราจร ทำให้ขับขี่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะในเวลากลางคืน การเรียนและการทำงานที่ต้องใช้สายตาระยะไกลนักเรียนและผู้ทำงานที่ต้องดูสิ่งที่อยู่ไกล เช่น กระดานหรือจอคอมพิวเตอร์ จะมองเห็นไม่ชัด ทำให้ไม่สะดวกในการทำงาน ความเครียดและปวดตาการเพ่งสายตาหรือมองสิ่งเบลอเป็นเวลานานทำให้เกิดความเครียดและปวดตา ซึ่งส่งผลให้รู้สึกไม่สบายได้ การทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือกีฬาการมองไม่เห็นสิ่งที่อยู่ไกลๆ เช่น ลูกบอลในกีฬา อาจทำให้เล่นกีฬาได้ไม่ดี หรือเกิดอุบัติเหตุได้ ผลกระทบทางจิตใจและความมั่นใจคนที่มีสายตาสั้นอาจรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองเมื่อไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในระยะไกลได้ชัดเจน ปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันกิจวัตรประจำวัน เช่น การขับรถหรือดูโทรทัศน์ จะรู้สึกว่าทำอะไรก็ไม่สะดวก เพราะมองสิ่งต่างๆ ได้ไม่ชัดเจน ผลกระทบจากการไม่รักษาหากไม่รักษาสายตาสั้นอาจทำให้ภาวะสายตาแย่ลงเรื่อยๆ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางตาอื่นๆ ในอนาคต     แนวทางการรักษาสายตาสั้น การรักษาสายตาสั้นสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและความสะดวกในการใช้ชีวิตของแต่ละคน โดยหลักๆ แล้วมี 3 วิธีในการรักษาสายตาสั้นที่ได้รับความนิยม ดังนี้ 1. การใส่แว่นตา แว่นตาเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและสะดวกที่สุดในการแก้ไขปัญหาสายตาสั้น แว่นตาจะช่วยปรับให้แสงโฟกัสตรงจอประสาทตา โดยแว่นตาจะทำหน้าที่ช่วยให้ผู้ที่มีสายตาสั้นสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลได้ชัดเจนขึ้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยและไม่เจ็บปวด เหมาะสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นในระดับที่ไม่รุนแรงมาก หรือผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัด 2. การใส่คอนแท็กต์เลนส์ คอนแท็กต์เลนส์เป็นตัวเลือกที่นิยมในหมู่คนที่ไม่ต้องการใส่แว่นตา หรือไม่ชอบให้มีกรอบแว่นบนใบหน้า คอนแท็กต์เลนส์จะทำหน้าที่เหมือนแว่นตา ช่วยปรับการโฟกัสแสงให้ถูกต้อง ทำให้ผู้ที่มีสายตาสั้นสามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่ข้อดีของคอนแท็กต์เลนส์คือจะไม่มีกรอบแว่นมาขวางทางการมองเห็น และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น เช่น การเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง 3. การผ่าตัดเลเซอร์ (LASIK) การรักษาสายตาสั้นด้วยเลสิกเป็นวิธีที่ช่วยรักษาสายตาสั้นอย่างถาวร โดยการใช้เลเซอร์ปรับรูปทรงของกระจกตา เพื่อให้แสงที่เข้าสู่ตาตกลงบนจอประสาทตาอย่างถูกต้อง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นในระดับสูง หรือผู้ที่ไม่ต้องการใช้แว่นตาและคอนแท็กต์เลนส์อีกต่อไป   การทำเลสิกเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยและสามารถช่วยแก้ปัญหาสายตาสั้นได้อย่างถาวร แต่ก็ต้องได้รับการประเมินจากแพทย์ก่อนว่าเหมาะสมกับการทำผ่าตัดวิธีไหน หรือเหมาะกับการผ่าตัดหรือไม่ รวม 7 วิธีง่ายๆ ที่ช่วยป้องกันสายตาสั้น ป้องกันสายตาสั้นได้โดยการดูแลและปฏิบัติตามวิธีต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพของสายตาและลดความเสี่ยงสายตาสั้น ดังนี้ หากต้องใช้สายตานานๆ เช่น อ่านหนังสือหรือใช้คอมพิวเตอร์ ควรพักสายตาทุก 20 - 30 นาที โดยมองห่างจากจอหรือหนังสือประมาณ 20 ฟุต (6 เมตร) เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อให้กล้ามเนื้อตาต้องการพักผ่อนและไม่เกิดความเครียด ควรจัดแสงในพื้นที่ทำงานหรือการเรียนให้เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการเพ่งสายตาในสภาพแสงที่ไม่เพียงพอหรือจ้ามากเกินไป ซึ่งจะช่วยให้สายตามีความสะดวกในการทำงาน ควรตั้งระยะห่างจากจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือให้ห่างจากตาประมาณ 40 - 50 เซนติเมตร และไม่ควรมองหน้าจอจากระยะใกล้เกินไป เพราะอาจทำให้เกิดความเครียดกับดวงตา การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอช่วยให้ดวงตาได้พักและฟื้นฟูจากการใช้งานหนัก รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพตา โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามิน A, C, E และแร่ธาตุอื่นๆ เช่น ผักใบเขียวและผลไม้สด เพื่อช่วยเสริมสร้างสุขภาพตาและป้องกันการเกิดปัญหาทางสายตา ควรตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ ไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตา เพราะหากพบว่าเป็นสายตาสั้นในระยะแรก จะช่วยให้รักษาได้ทันเวลาและป้องกันไม่ให้สายตาแย่ลง หลีกเลี่ยงใช้สายตานานๆ หรือมองสิ่งต่างๆ ในระยะใกล้เป็นเวลานาน เช่น การอ่านหนังสือหรือใช้โทรศัพท์มือถือ ควรพักสายตาหรือเปลี่ยนกิจกรรมบ้างเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดต่อดวงตา     รักษาสายตาสั้น ที่ศูนย์รักษาตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร ศูนย์รักษาตา Bangkok Eye Hospital บริการตรวจวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและผู้ชำนาญการ ที่พร้อมให้คำแนะนำและการรักษาสายตาสั้นในรูปแบบต่างๆ ผู้มีประสบการณ์ด้านการดูแลดวงตาเฉพาะทาง ให้บริการครอบคลุมทุกโรคเกี่ยวกับดวงตา การตรวจสุขภาพตาโดยรวม ตรวจสอบสุขภาพของดวงตาและหาความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการมองเห็น การตรวจวัดค่าสายตา (Refraction Test) โดยประเมินค่าสายตาเพื่อหาค่าความผิดปกติและกำหนดค่าสายตาที่เหมาะสม ใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยในการรักษา สรุป สายตาสั้นเกิดจากการที่แสงโฟกัสผิดที่ในดวงตาทำให้มองเห็นภาพไกลไม่ชัดเจน ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดสายตาสั้น ได้แก่ ลูกตามีความยาวเกินไป กระจกตาหรือเลนส์ตาโค้งมากเกินไป และพันธุกรรม สาเหตุอื่นๆ อย่างปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สายตาใกล้เป็นเวลานาน และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ที่เกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น หากมีอาการสายตาสั้นควรเช็กระดับความรุนแรงเพื่อเลือกวิธีรักษา เช่น การใส่แว่นตา คอนแท็กต์เลนส์ หรือการผ่าตัดเลเซอร์ (LASIK) นอกจากนี้ การป้องกันสายตาสั้นสามารถทำได้โดยการพักสายตาอย่างเหมาะสม การออกกำลังกาย และการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ ก็สามารถป้องกันสายตาสั้นได้ด้วย หากต้องการรักษาสายตาสั้น ที่ศูนย์รักษาตาBangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)มีความมุ่งมั่นในการให้บริการด้วยเทคโนโลยีทันสมัยโดยผู้มีประสบการณ์ในการรักษาสายตาสั้น พร้อมดูแลหลังการรักษาอย่างมีคุณภาพ รวมถึงให้คำแนะนำที่เหมาะสมและติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เลสิกสายตาสั้น บอกลาปัญหามองเห็นไม่ชัด พร้อมการเตรียมตัวก่อนทำ การตรวจตาก่อนทำเลสิกคืออะไร ทำไมต้องตรวจถึง 3 ชั่วโมง?!! ทำเลสิกที่ไหนดี? เปรียบเทียบเทคนิคและเกณฑ์การเลือกโรงพยาบาล FAQ – คำถามที่พบบ่อย สายตาสั้น มีกี่ระดับ? สายตาสั้นแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเบา (Dioptre -0.25 ถึง -3.00) ระดับปานกลาง (Dioptre -3.00 ถึง -6.00) และระดับรุนแรง (Dioptre มากกว่า -6.00) การมองเห็นในระยะไกลจะยิ่งเบลอเมื่อระดับสายตาสั้นสูงขึ้น ระดับสายตาสั้นเท่าไรถึงจะอันตราย? สายตาสั้นที่มีค่า Dioptre มากกว่า -6.00 อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสายตาอื่นๆ และอาจต้องการการรักษาเพิ่มเติม สายตาสั้นแก้อย่างไร? สายตาสั้นแก้ได้ด้วยการใส่แว่นตา คอนแท็กต์เลนส์ หรือการทำเลสิก เพื่อปรับรูปทรงของกระจกตาให้แสงโฟกัสที่จอประสาทตา สายตาสั้นไม่ใส่แว่น อันตรายหรือไม่? สามารถไม่ใส่แว่นได้ แต่อาจทำให้มองเห็นในระยะไกลไม่ชัดเจน และอาจเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือความผิดปกติของสายตาในระยะยาว
ศูนย์เลสิก LASER VISION

สายตายาวเกิดจากอะไร? รู้ทันสาเหตุและวิธีแก้ไขง่ายๆ ที่ได้ผลชัวร์

สายตายาวคือการที่กระจกตาหรือเลนส์ตาไม่สามารถโฟกัสแสงที่ให้ตรงจุดที่จอตา ทำให้มองเห็นวัตถุใกล้ไม่ชัด มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระจกตาหรือเลนส์ตาเมื่ออายุเพิ่มขึ้น หรืออาจเป็นผลจากกรรมพันธุ์ การรักษาสายตายาวสามารถทำได้โดยการใส่แว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ที่เหมาะสมเพื่อช่วยโฟกัสแสงให้ถูกต้อง หรือเลือกทำการผ่าตัดเลสิกสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการใส่แว่นตา รวมถึงการดูแลสุขภาพตาและพักสายตาก็เป็นสิ่งสำคัญ การป้องกันสายตายาวสามารถทำได้โดยการพักสายตาทุก 20 นาที เมื่อใช้สายตานานๆ รักษาระยะห่างจากหน้าจอให้เหมาะสม และตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีสารบำรุงสายตาก็ช่วยป้องกันได้ รู้ไหมว่าสายตายาวเป็นปัญหาที่หลายคนอาจจะไม่ทันสังเกต โดยทั่วไปแล้วสายตายาวเกิดจากการใช้สายตามากเกินไป หรืออาจเกิดจากความผิดปกติในดวงตาที่ทำให้การโฟกัสแสงที่กระทบตาผิดปกติ ส่งผลให้มองเห็นสิ่งใกล้ตัวไม่ชัดเจน  ปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เมื่อเกิดแล้วสามารถรักษาและแก้ไขได้ด้วยวิธีที่หลากหลาย ทั้งการปรับพฤติกรรมหรือการรักษาทางการแพทย์ ลองมาทำความเข้าใจสาเหตุ วิธีป้องกัน และวิธีแก้ไขที่ได้ผลชัวร์ไปพร้อมกันในบทความนี้   รู้ทันสาเหตุ สายตายาวเกิดจากอะไร? สายตายาว (Hyperopia) เกิดจากความผิดปกติในการโฟกัสแสงที่กระทบตา ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้มองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวไม่ชัดเจน แต่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลได้ชัดเจน สาเหตุหลักของปัญหานี้มาจากการที่แสงที่กระทบตาไม่ได้โฟกัสตรงจุดกระทบของจอตา (Retina) แต่จะไปกระทบที่หลังจอตาแทน ซึ่งเกิดจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้ รูปทรงของลูกตา ถ้าลูกตายาวเกินไปหรือมีลักษณะเป็นทรงกลมเกินไป แสงที่ผ่านเข้ามาจะไม่โฟกัสตรงที่จอตาแต่จะกระทบหลังจอตา ทำให้มองเห็นสิ่งใกล้ตัวไม่ชัดเจน ความผิดปกติของกระจกตา (Cornea) หากกระจกตามีความโค้งที่ไม่เหมาะสม เช่น โค้งน้อยเกินไป แสงที่เข้ามาจะไม่ได้โฟกัสที่จอตาอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหาการมองเห็น ปัญหาของเลนส์ในตา (Lens) ถ้าเลนส์ในตายืดหยุ่นน้อยหรือมีความผิดปกติในการปรับโฟกัส ก็สามารถทำให้แสงไม่สามารถรวมตัวที่จอตาได้ จึงทำให้มองเห็นสิ่งที่ใกล้ตัวไม่ชัด โดยทั่วไปแล้วสาเหตุของสายตายาวอาจเกิดจากกรรมพันธุ์หรืออาจเกิดขึ้นจากการใช้สายตาใกล้มากเกินไปในช่วงเวลานานๆ ซึ่งสามารถทำให้เกิดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อตาได้ ทั้งหมดนี้สามารถรักษาหรือปรับแก้ได้ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การใส่แว่นตาหรือการทำเลเซอร์ตา เป็นต้น สังเกตอาการสายตาเป็นอย่างไร อาการของสายตายาวหรือที่บางคนเรียกกันว่าตาไกลมักจะมีอาการ ดังนี้ มองใกล้ไม่ชัด หากต้องอ่านหนังสือ หรือมองสิ่งของที่อยู่ใกล้ๆ จะรู้สึกไม่ชัดเจนและอาจเกิดอาการตาล้าหรือปวดตาได้ ต้องเพ่งหรือหลับตา เพื่อให้ภาพที่มองอยู่ชัดขึ้น อาจจะต้องเพ่งหรือหลับตาเล็กน้อย ปวดตาหรือปวดหัว เมื่อพยายามเพ่งมองหรือใช้สายตามากๆ อาจทำให้เกิดอาการปวดตาหรือปวดหัว มองไกลชัด คนที่มีอาการสายตายาวจะมองสิ่งที่อยู่ไกลได้ชัดเจน แต่จะมีปัญหาเมื่อมองสิ่งที่อยู่ใกล้   หากมีอาการเหล่านี้ ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อทำการตรวจสายตาและรับการรักษา     แนวทางการรักษาสายตายาว การรักษาและวิธีแก้ไขสายตายาวมีหลายวิธีที่สามารถช่วยให้ผู้ที่มีปัญหานี้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาและความสะดวกของผู้ที่ต้องการรักษา โดยสายตายาวมีวิธีแก้ ดังนี้ การใส่แว่นตา แว่นตาสำหรับสายตายาวเป็นวิธีรักษาสายตายาวด้วยวิธีธรรมชาติ ที่ง่ายและปลอดภัยที่สุดในการช่วยปรับการโฟกัสแสงให้เข้าสู่จอตาอย่างถูกต้อง แว่นตาจะช่วยปรับแสงที่เข้าสู่ดวงตาให้โฟกัสได้ตรงจุดทำให้มองเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจนขึ้น การเลือกแว่นตาควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อวัดค่าสายตาและเลือกแว่นที่เหมาะสมกับสภาพดวงตาของเรา การใช้คอนแท็กต์เลนส์ อีกหนึ่งวิธีแก้สายตายาวคือการใส่คอนแท็กต์เลนส์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่ชอบใส่แว่นตา โดยจะทำงานคล้ายกับแว่นตาในการปรับการโฟกัสแสงให้เข้าสู่จอตา แต่จะใส่ติดกับตาเลย ช่วยให้มองเห็นได้ชัดเจนโดยไม่ต้องมีกรอบแว่น การทำเลเซอร์ (LASIK) เลสิก (Lasik) เป็นการผ่าตัดเลเซอร์ที่ใช้ในการปรับรูปร่างของกระจกตาเพื่อปรับการโฟกัสแสงให้เกิดการมุ่งตรงไปที่จอตาแทนการกระทบหลังจอตา ซึ่งจะช่วยให้การมองเห็นดีขึ้น การทำเลสิกเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการพึ่งพาแว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ แต่ควรปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนการทำการรักษาเพื่อตรวจสอบความเหมาะสม การเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม REL การเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม หรือ Refractive Lens Exchange (RLE) ถือเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาสายตายาวตามอายุ RLE ที่เกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป  Femto RLE (การแก้ไขปัญหาสายตายาวแบบไร้ใบมีด) เทคโนโลยีการผ่าตัดที่ใช้เลเซอร์ Femtosecond ในการทำหัตถการ ไม่ต้องใช้ใบมีดในการผ่าตัด ทำให้ปลอดภัยมากขึ้น ให้ความแม่นยำสูงในการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ การรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม (RLE) เป็นการรักษาภาวะสายตายาวตามอายุที่เน้นการแก้ไขปัญหาบริเวณเลนส์แก้วตา โดยแพทย์จะทำการเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเดิมที่เริ่มเสื่อมสภาพออกไป แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้ามาแทนที่ RLE เป็นวิธีการรักษาสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) ที่เกิดขึ้นในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป แพทย์จะทำการเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเดิมที่เริ่มเสื่อมสภาพออกไป แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้ามาแทนที่ RLE เลนส์แก้วตาเทียมที่ออกแบบมาสำหรับการรักษาสายตายาวตามอายุโดยเฉพาะ RLE แตกต่างจาก LASIK ที่เน้นปรับเปลี่ยนรูปร่างกระจกตา RLE เน้นการเปลี่ยนเลนส์โดยตรง ช่วยแก้ปัญหาการมองเห็นที่ต้องยื่นหนังสือให้ไกลจากตัวเองจึงจะเห็น   การปรับพฤติกรรมการใช้สายตา หากต้องใช้สายตาจ้องมองหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือเป็นเวลานาน ควรพักสายตาทุก 20 นาที โดยการมองไปที่จุดไกลๆ 20 ฟุต ประมาณ 20 วินาที รวมทั้งการใช้แสงสว่างที่เหมาะสมควรใช้งานในที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อไม่ให้ดวงตาต้องทำงานหนักเกินไป และการรักษาท่าทางการนั่งที่ถูกต้อง ให้มีระยะห่างที่เหมาะสมจากหน้าจอคอมพิวเตอร์จะช่วยลดความตึงเครียดของดวงตา การรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดเล็ก (ในกรณีเฉพาะ) บางกรณีอาจต้องใช้ยาเฉพาะหรือผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาสายตายาว หากมีความผิดปกติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น การตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปีเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจพบปัญหาสายตายาวแต่เนิ่นๆ และป้องกันการเกิดปัญหาที่รุนแรงในอนาคต   การรักษาสายตายาวสามารถช่วยให้ผู้ที่มีปัญหานี้สามารถมองเห็นได้ดีขึ้น แต่การเลือกวิธีรักษาขึ้นอยู่กับความต้องการและสถานการณ์ของแต่ละคน ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อหาวิธีที่เหมาะสมที่สุด     7 วิธีป้องกันสายตายาว ทำได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน การป้องกันการเกิดสายตายาวสามารถทำได้โดยการดูแลตาและปรับพฤติกรรมการใช้สายตา ดังนี้ การพักสายตาโดยใช้หลัก 20-20-20 ทุก 20 นาที มองไปที่จุดไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อลดความเครียดที่ดวงตา การรักษาระยะห่างที่เหมาะสมจากหน้าจอประมาณ 20-30 นิ้ว และปรับความสูงให้เหมาะสม การปรับแสงสว่างที่เพียงพอ ไม่ให้แสงสะท้อนตรงตา เพื่อให้ตาทำงานน้อยลง การตรวจสุขภาพตาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอเพื่อพบปัญหาและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รับประทานอาหารที่มีวิตามิน A, C, E และสารอาหารบำรุงสายตา เช่น ผักใบเขียว แครอท และผลไม้ การใส่แว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ที่แพทย์แนะนำหากมีปัญหาสายตา เพื่อลดความเครียดที่ดวงตา การหลีกเลี่ยงการใช้งานที่ทำให้ตาเครียด หลีกเลี่ยงการใช้สายตานานๆ โดยไม่พัก หากใช้สายตานาน ควรหยุดพักและเปลี่ยนกิจกรรมบ้าง รักษาสายตายาว ที่ศูนย์รักษาตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร Bangkok Eye Hospital ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาสายตายาวด้วยเทคโนโลยีและเครื่องมือทันสมัย โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ พร้อมทั้งการประเมินสภาพดวงตาอย่างละเอียดและการแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล การตรวจสุขภาพตาและวินิจฉัยสายตายาว โดยใช้เทคโนโลยีล่าสุดในการตรวจสภาพตาและค่าสายตาเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง การปรับการมองเห็นด้วยแว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ โดยแนะนำการใช้แว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ที่เหมาะสมกับสภาพดวงตา การผ่าตัดเลเซอร์ LASIK สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการพึ่งพาแว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ เรามีบริการผ่าตัด ทำเลสิกที่ช่วยปรับการโฟกัสแสงให้ตรงจุด การติดตามผลและการรักษาระยะยาว หลังการรักษา เรามีการติดตามผลและให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพตาอย่างต่อเนื่อง สรุป สายตายาวเกิดจากการที่แสงไม่สามารถโฟกัสที่จอตาอย่างถูกต้อง ซึ่งทำให้มองเห็นสิ่งใกล้ไม่ชัดเจน สาเหตุหลักมาจากความผิดปกติในกระจกตาหรือเลนส์ตา เช่น กระจกตาที่โค้งน้อยเกินไป หรือการยืดหยุ่นของเลนส์ที่ลดลงตามอายุ การรักษาสายตายาวสามารถทำได้ด้วยการใส่แว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ หรือการทำเลเซอร์ เลสิกเพื่อปรับการโฟกัสแสงให้ถูกต้อง   นอกจากนี้ยังควรพักสายตาและตรวจสุขภาพตาเป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หากมีภาวะสายตายาว Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาสายตายาวด้วยการใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการตรวจวินิจฉัยและรักษาสายตายาว โดยผู้ชำนาญการ พร้อมการให้คำแนะนำการรักษาที่เหมาะสม โดยมีบริการผ่าตัด LASIK และการปรับการมองเห็นด้วยแว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ รวมถึงการติดตามผลหลังการรักษา อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำเลสิกที่ไหนดี? เปรียบเทียบเทคนิคและเกณฑ์การเลือกโรงพยาบาล  เลสิกสายตาเอียง แก้ไขปัญหาภาพเบลอ ภาพไม่ชัด กับข้อควรรู้ก่อนทำ เลสิกสายตาสั้น บอกลาปัญหามองเห็นไม่ชัด พร้อมการเตรียมตัวก่อนทำ FAQ – คำถามที่พบบ่อย เริ่มสายตายาวที่อายุเท่าไร? สายตายาวมักเริ่มเกิดขึ้นเมื่ออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากเลนส์ตาเริ่มเสื่อมและยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้การโฟกัสสิ่งใกล้ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของกระบวนการชราภาพตา ค่าสายตายาววัดได้ระดับ ค่าสายตายาวมี 3 ระดับหลัก ได้แก่ ระดับเบา (ต่ำกว่า +2.00 Diopter) ระดับปานกลาง (ระหว่าง +2.00 ถึง +4.00 Diopter) และระดับรุนแรง (สูงกว่า +4.00 Diopter) ซึ่งแต่ละระดับจะมีผลกระทบต่อการมองเห็นที่แตกต่างกัน และจำเป็นต้องเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม สายตายาวเท่าไรควรใส่แว่น ควรใส่แว่นเมื่อมีสายตายาวประมาณ +0.5 Diopter ขึ้นไป หรือเมื่อมีอาการมองใกล้ไม่ชัดหรือปวดตา วิธีสังเกตอาการสายตายาว อาการสายตายาวสามารถสังเกตได้จากการมองเห็นสิ่งใกล้ไม่ชัดเจน หรือรู้สึกเมื่อยตาหรือปวดตาหลังจากการอ่านหรือทำกิจกรรมที่ใช้สายตานานๆ
ศูนย์เลสิก LASER VISION

วิธีทำเลสิกเลือกด้วยตัวเองได้ไหม?

วิธีทำเลสิกเลือกด้วยตัวเองได้ไหม? วิธีทำเลสิกเลือกด้วยตัวเองได้ไหม?      หนึ่งในข้อสงสัยที่สอบถามกันเข้ามาอย่างมากมาย คือ ทำเลสิกแบบไหนดี? ฉันเลือกเองได้ไหม? หรือต้องให้หมอเลือก? ซึ่งในวันนี้ Laser Vision จะขอตอบให้เคลียร์ทุกคำถามเกี่ยวกับการทำเลสิกแต่ละวิธี และวิธีการทำเลสิกแบบไหนเป็นวิธีที่เหมาะสมกับคุณ? Laser Vision มีการให้บริการรักษาสายตาไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตาเอียง หรือสายตายาวทั้งหมด 4 รูปแบบด้วยกัน โดยแต่ละรูปแบบก็จะมีข้อจำกัดและขอบเขตในการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้   PRK      PRK เป็นการรักษาที่เริ่มต้นมายาวนาน การรักษาสายตาด้วยวิธีนี้จะเริ่มจาก การลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุดก่อน จากนั้นจะใช้ Excimer Laser ทำการปรับผิวกระจกตาให้ได้ความโค้งที่พอดีกับค่าสายตา วิธีนี้จะไม่มีการแยกขั้นกระจกตา เหมาะกับการรักษาสายตาผิดปกติสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้น สายตาเอียง หรือสายตายาวที่ไม่มากเกินไป ต้องอาศัยการพักฟื้นที่ยาวนานกว่า อย่างน้อยประมาณ 1 สัปดาห์ และอาจต้องมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง   LASIK      LASIK หรือ Laser In Situ Keratomileusis เป็นการรักษาที่ได้รับการพัฒนาต่อมาจากการรักษาด้วยวิธี PRK และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย โดยวิธีนี้จะมีขั้นตอนการแยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีดขนาดเล็ก และเปิดชั้นกระจกตาออก จากนั้นจึงใช้ Excimer Laser ไปปรับความโค้งของผิวกระจกตาชั้นกลางเพื่อให้ได้ค่าความโค้งที่พอดี แล้วปิดกระจกตากลับเข้าตำแหน่งเดิม การรักษาด้วยวิธีเลสิกนี้ทำให้เพิ่มโอกาสในการรักษาสำหรับผู้ที่มีสายตาผิดปกติในระดับสูงได้ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตาเอียง หรือสายตายาว และยังใช้เวลาในการพักฟื้นเพียง 1 วันก็กลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ   NanoLASIK      NanoLASIK เป็นวิธีการรักษาสายตาที่ทันสมัยมากขึ้น และได้รับความนิยมมากที่สุด วิธีนี้จะเป็นการรักษาโดยใช้แสงเลเซอร์ในทุกขั้นตอน โดยไม่จำเป็นต้องใช้ใบมีด (Bladeless) โดยขั้นตอนในการแยกชั้นกระจกตาจะใช้เลเซอร์ที่เรียกว่า Femtosecond Laser ที่มีพลังงานน้อยกว่า ในระดับนาโนจูล ในการแยกชั้นกระจกตาแทน แล้วค่อยใช้ Excimer Laser ทำการปรับผิวกระจกตาให้ได้ค่าสายตาตามต้องการ วิธีนี้สามารถเพิ่มโอกาสให้กับผู้ที่มีสายตาผิดปกติในระดับสูงได้มากขึ้น และยังช่วยลดอาการระคายเคืองได้   NanoRelex      NanoRelex ถือเป็นวิธีการรักษาสายตาที่ทันสมัยที่สุด โดยการใช้ Femtosecond Laser ยิงเข้าไปตัดแต่งเนื้อเยื่อในชั้นกระจกตาเพื่อปรับค่าสายตาให้เป็นปกติ จากนั้นนำกระจกตาส่วนเกินออกมาผ่านทางแผลขนาดเล็ก ๆ เพียง 2-3 มม. การรักษาสายตาด้วยวิธี NanoRelex นี้ จะไม่มีการแยกชั้นกระจกตา และแผลมีขนาดเล็กมาก ๆ จึงถือเป็นการรักษาที่มีความอ่อนโยนต่อดวงตามากที่สุด และยังรักษาความแข็งแรงให้กระจกตาได้ แต่วิธี NanoRelex นั้น จะเหมาะกับผู้ที่มีสายตาสั้น หรือสายตาเอียงเท่านั้น ยังไม่สามารถรักษาสายตายาวโดยกำเนิดได้      หลังจากทราบถึงความแตกต่างของการรักษาแต่ละวิธีแล้ว จะเห็นได้ว่า “ดวงตาของคุณ” จะเป็นผู้ให้คำตอบเองว่า คุณสามารถเข้ารับการรักษาสายตาด้วยวิธีใดได้บ้าง      และนอกเหนือจากข้อมูลด้านสภาพดวงตา และวิธีการรักษาสายตาแต่ละแบบแล้ว พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทีมแพทย์นำมาพิจารณาแนะนำวิธีการทำเลสิกที่เหมาะสมที่สุด การทำเลสิกแต่ละชนิดก็ยังมีข้อระวังเรื่องการดูแลหลังการรักษาและการพักฟื้นที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย ดังนั้น การตัดสินใจว่าจะเลือกทำเลสิกวิธีใด จึงควรเป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างคนไข้และแพทย์ เพื่อการมองเห็นที่ดีที่สุดของคุณ และขอให้วางใจใน Laser Vision เพราะจักษุแพทย์ของเราเป็นทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตาและการรักษาสายตาผิดปกติโดยเฉพาะที่เปี่ยมด้วยประสบการณ์การรักษาที่ยาวนาน
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111