มุมสุขภาพตา : #สายตาสั้น

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และพฤติกรรมที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์รักษาต้อกระจก
ศูนย์รักษาจอประสาทตา
ศูนย์เลสิก LASER VISION
ศูนย์รักษาต้อหิน
ศูนย์รักษากระจกตา
ศูนย์รักษาตาเด็ก
ศูนย์ศัลยกรรมตกแต่งรอบดวงตา
ศูนย์รักษาจักษุประสาทวิทยา

เลสิกสำหรับนักแบดมินตัน เพิ่มความคมชัดเพื่อชัยชนะทุกคอร์ต | Bangkok Eye Hospital

เลสิกสำหรับนักแบดมินตัน: พลิกเกมด้วยสายตาที่คมชัดกว่า 🏸 “พริบตาเดียวบนคอร์ต อาจเปลี่ยนชัยชนะเป็นความพลาด” การเล่นแบดมินตันไม่ได้อาศัยเพียงแค่พละกำลังหรือความเร็ว แต่หัวใจสำคัญคือ การมองเห็นที่แม่นยำและรวดเร็ว เพื่อการ "อ่านเกม อ่านลูก และอ่านทางคู่แข่ง" ได้เหนือกว่าใคร! อุปสรรคทางสายตาที่นักกีฬาต้องเจอ เคยไหมที่ต้องมัวดันแว่นระหว่างการแข่งขัน? หรือกังวลว่าคอนแทคเลนส์จะหลุดกลางเกม? ปัญหาเหล่านี้อาจทำให้คุณเสียสมาธิและพลาดจังหวะสำคัญในเสี้ยววินาที... ซึ่งอาจหมายถึงการเสียคะแนนหรือพลาดชัยชนะไปอย่างน่าเสียดาย LASIK: คำตอบสำหรับนักกีฬายุคใหม่ การทำเลสิก (LASIK) คือทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับนักกีฬาแบดมินตันและผู้ที่รักการออกกำลังกายทุกคน ช่วยปลดล็อกศักยภาพของคุณให้เหนือกว่าเดิม สายตาคมชัด: โฟกัสการเคลื่อนไหวของลูกขนไก่ได้ดีขึ้น คล่องตัวทุกการเคลื่อนไหว: ไม่ต้องกังวลเรื่องแว่นหรือคอนแทคเลนส์ มั่นใจในทุกช็อต: ทั้งลูกตบ ลูกหยอด หรือลูกตัด เมื่อไร้กังวลเรื่องสายตา คุณจะสามารถโฟกัสที่เกมการแข่งขันได้อย่างเต็มที่ เพราะการมองเห็นที่ดี ไม่ได้แค่ทำให้เล่นดีขึ้น แต่ทำให้คุณ “มั่นใจในทุกการเคลื่อนไหว” ปรึกษาการทำเลสิกสำหรับนักกีฬา ดวงตามีคู่เดียว มั่นใจให้แพทย์เฉพาะทางดูแล ที่ Laser Vision at Bangkok Eye Hospital เลียบทางด่วนรามอินทรา โทรเลย: 02-511-2111 #LASERVISION #SMILEPro #LASIK #BangkokEyeHospital #เลสิกไร้ใบมีด #LASIKForSport #Badminton #กีฬาแบดมินตัน

ภาวะสายตาสั้นในเด็ก อันตรายที่ต้องรีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ภาวะสายตาสั้นในเด็กเกิดได้จากหลากหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งสาเหตุจากปัจจัยภายในและภายนอก ทั้งนี้ภาวะสายตาสั้นในเด็กเป็นอาการที่ไม่ควรละเลย เนื่องจากส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและส่งผลต่อการมองเห็นในอนาคต ในบทความนี้ทาง Bangkok Eye Hospital จะมาแนะนำแนวทางการรักษาภาวะสายตาสั้นในเด็กอย่างถูกวิธี   ภาวะสายตาสั้นในเด็ก คือ การที่เด็กไม่สามารถมองระยะไกลได้ชัดเจน ทำให้ต้องมีการหรี่ตา หรือเพ่งสายตา เพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดขึ้น ภาวะสายตาสั้นในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ทั้งเกิดจากพันธุกรรม หรือสภาวะแวดล้อม สังเกตภาวะสายตาสั้นในเด็กได้จากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เด็กเลือกนั่งแถวหน้าสุด เพื่อให้มองเห็นกระดานชัดเจน หรือเด็กดูโทรทัศน์ระยะใกล้กว่าปกติ การแก้ไขและควบคุมค่าสายตาสั้นในเด็ก แพทย์จะพิจารณาจ่ายยา พร้อมแนะนำให้ใช้แว่นสายตาเพื่อควบคุมและชะลอสายตาสั้นที่อาจเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ปัญหาภาวะสายตาสั้นในเด็กเป็นอาการที่ไม่ควรละเลย ควรเข้ารับการปรึกษากับจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนสายตาสั้นขึ้นเรื่อยๆ จนรักษาได้ยาก และอาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก Bangkok Eye Hospital มีศูนย์รักษาตาเด็กโดยเฉพาะ มาพร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัย มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมดูแลแก้ไขทุกปัญหาเกี่ยวกับดวงตาของเด็ก     อาการสายตาสั้นในเด็ก พบบ่อยกว่าที่คิด อาการสายตาสั้นในเด็ก คือภาวะที่เด็กมีค่าสายตาผิดปกติ โดยเด็กจะมองเห็นภาพระยะไกลไม่ชัดเจน เป็นภาพเบลอ ทำให้ต้องเพ่งอยู่ตลอด ส่งผลต่อบุคลิกภาพและการดำเนินชีวิต โดยภาวะสายตาสั้นในเด็กพบได้มาก โดยอิงจากข้อมูลการวิจัยพบว่าหากพ่อแม่มีประวัติสายตาสั้น เด็กจะมีโอกาสเกิดภาวะสายตาสั้นสูงถึง 77.3% สายตาสั้นในเด็ก มีอาการอย่างไร เนื่องจากเด็กเป็นวัยที่ยังไม่รู้ว่าสายตาสั้นคืออะไร ทำให้พวกเขาไม่สามารถบอกได้ว่าการมองเห็นผิดปกติ ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมลูกเพื่อดูความผิดปกติ โดยเด็กสายตาสั้นสังเกตได้จากลักษณะความผิดปกติ ดังต่อไปนี้เด็กสายตาสั้นมักมีพฤติกรรมขยี้ตา ระคายเคืองตาบ่อยๆ เด็กสายตาสั้นมักหรี่ตา หรือเพ่งสายตาในการจ้องวัตถุ เพื่อให้มองเห็นได้ชัดขึ้น เด็กสายตาสั้นจะจ้องวัตถุในระยะประชิดมากกว่าเด็กทั่วไป เช่น ดูโทรทัศน์ระยะใกล้ อ่านหนังสือระยะใกล้ หรือหยิบของเล่นมาดูใกล้ๆ เด็กสายตาสั้นจะมีอาการปวดเบ้าตา ตาล้าอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากมองเห็นไม่ชัดเจน เด็กสายตาสั้นจะมีอาการซุ่มซ่าม เดินชนสิ่งของอยู่บ่อยครั้ง     อาการสายตาสั้นในเด็ก มีสาเหตุจากอะไร สาเหตุภาวะสายตาสั้นในเด็ก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยหลัก ดังนี้ สายตาสั้นในเด็กจากพันธุกรรม จากการศึกษาข้อมูลวิจัยพบว่าเด็กที่มีพ่อแม่ที่มีประวัติสายตาสั้น มักมีโอกาสที่เด็กจะมีสายตาสั้นสูงถึง 77.3% หรือในกรณีที่พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งมีภาวะสายตาสั้น เด็กจะมีโอกาสเกิดภาวะสายตาสั้นประมาณ 43.6% สายตาสั้นในเด็กจากปัจจัยแวดล้อม ปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลให้เกิดภาวะสายตาสั้นในเด็ก เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือเป็นระยะเวลานาน ดูโทรทัศน์เป็นระยะเวลานาน หรือการจ้องมองสิ่งของต่างๆ ในระยะประชิดเกินไป เช่น จ้องโทรศัพท์ในระยะใกล้ อ่านหนังสือระยะใกล้ เป็นต้น     การวินิจฉัยอาการสายตาสั้นในเด็กโดยแพทย์ อาการสายตาสั้นในเด็ก เป็นอาการที่สามารถพบได้โดยทั่วไป ทั้งนี้แพทย์จะทำการวินิจฉัยอาการสายตาสั้นในเด็ก โดยอิงจากขั้นตอน ดังต่อไปนี้ การทดสอบการมองเห็นโดยให้อ่านตัวอักษร หรือตัวเลขบนหน้าจอเพื่อทดสอบสายตา การตรวจตาเพิ่มเติมด้วยกล้องเป็นการตรวจหาความผิดปกติเพิ่มเติมด้วยการส่องไฟเข้าไปที่ดวงตา พร้อมใช้กล้องตรวจหาความผิดปกติ การตรวจค่าสายตาด้วยเครื่องวัดสายตาอัตโนมัติเป็นการตรวจหาค่าสายตา เพื่อให้ทราบค่าสายตาเบื้องต้น การทดสอบการหักเหของแสงเป็นการทดสอบด้วยการใช้เลนส์ ร่วมกับแท่งไฟลำแสงแคบ เพื่อปรับค่าความจำเป็นในการมองเห็น     แนวทางการรักษาสายตาสั้นในเด็ก แบบไม่ผ่าตัด ในปัจจุบันการรักษาภาวะสายตาสั้นในเด็กแบบไม่ผ่าตัด สามารถรักษาภาวะสายตาสั้นเพียงชั่วคราว โดยแบ่งวิธีการรักษาออกเป็น 2 วิธี ดังนี้ การสวมใส่แว่นตา สวมใส่แว่นตาเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน เป็นการรักษาสายตาสั้นในเด็กด้วยการสวมแว่นที่ประกอบกับเลนส์เว้าปรับตามระยะค่าสายตา เพื่อทำให้ภาพตกที่จอตาพอดี วิธีนี้เหมาะสำหรับเด็กทุกวัย เนื่องจากมีวิธีดูแลรักษาไม่ยุ่งยากเหมือนการสวมคอนแท็กต์เลนส์ การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์ สวมใส่คอนแท็กต์เลนส์เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจน เป็นการสวมคอนแท็กต์เลนส์เข้าไปในดวงตา เพื่อให้เด็กมองเห็นได้ชัดเจน วิธีนี้จะมีความยุ่งยาก และซับซ้อนกว่าการใส่แว่น เนื่องจากมีการสัมผัสดวงตาโดยตรง หากไม่รักษาความสะอาด อาจเสี่ยงต่อการอักเสบ ติดเชื้อ จึงเหมาะกับเด็กที่โตพอที่จะดูแลตัวเองและรักษาความสะอาดได้แล้ว และควรมีผู้ปกครองคอยสังเกตการสวมคอนแท็กต์เลนส์เป็นประจำ     ชะลอการเกิดสายตาสั้นในเด็ก ทำได้อย่างไร ถึงแม้ว่าภาวะสายตาสั้นในเด็กเป็นอาการที่เป็นแล้วไม่สามารถย้อนกลับคืนมาได้ แต่ก็มีวิธีชะลอการเกิดภาวะสายตาสั้นในเด็กได้ โดยปฏิบัติ ดังนี้   กำหนดเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้งให้เด็กได้ทำกิจกรรมกลางแจ้งอย่างน้อยวันละ 2 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะสายตาสั้นในเด็ก กำหนดเวลาพักสายตาควรกำหนดเวลาพักสายตาด้วยการใช้สูตร 20-20-20 คือ 20 นาที สำหรับการเรียน อีก 20 วินาที สำหรับระยะเวลาการมองไปรอบๆ และอีก 20 ฟุต เป็นระยะทางที่ควรมองออกไปให้ไกลอย่างน้อย 20 ฟุต หรือ 6 เมตร การสวมแว่นกรองแสงหากเด็กๆ มีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ หรือใช้โทรศัพท์เป็นระยะเวลานาน ควรสวมแว่นกรองแสงเพื่อถนอมสายตา การใช้ยาหยอดตาการใช้ยาหยอดตาอะโทรปีน (Atropine) ที่มีความเข้มข้นต่ำสามารถชะลอการเกิดสายตาสั้นในเด็กได้ ควรหยอดยาก่อนนอนต่อเนื่องทุกวัน เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี รักษาสายตาสั้น สายตายาวในเด็ก ที่ศูนย์โรคตาเด็ก Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร หากสังเกตเห็นว่าเด็กมีอาการสายตาสั้นหรือสายตายาว แนะนำให้พาเด็กๆ เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการเหล่านี้ได้ที่ศูนย์โรคตาเด็ก Bangkok Eye Hospitalที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้   โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป ภาวะสายตาสั้นในเด็ก เป็นอาการที่สามารถพบได้โดยทั่วไป ทั้งนี้หากเกิดภาวะสายตาสั้นขึ้นแล้ว จะไม่สามารถรักษาหายเองได้ อีกทั้งภาวะสายตาสั้นในเด็กเป็นอาการที่ไม่ควรปล่อยไว้ เนื่องจากส่งผลต่อบุคลิกภาพและการมองเห็น สำหรับผู้ที่กำลังมองหาโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านดวงตาในเด็ก ขอแนะนำศูนย์รักษาตาเด็ก Bangkok Eye Hospitalที่มีทีมแพทย์เฉพาะทางที่พร้อมดูแล ให้คำแนะนำ พร้อมเสนอแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับตัวเด็ก โดยคำนึงถึงความปลอดภัยมาก่อนเสมอ
ศูนย์รักษาจอประสาทตา

5 สุดยอดอาหารบำรุงจอประสาทตา

5 สุดยอดอาหารบำรุงจอประสาทตา :  เสริมแกร่งสายตาคู่ใจ เพื่อการมองเห็นที่คมชัด จอประสาทตา คือ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่รับภาพและส่งสัญญาณไปยังสมอง ทำให้เรามองเห็นโลกอันสวยงามรอบตัวเรา การดูแลรักษาจอประสาทตาจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้น อาจส่งผลต่อการมองเห็นอย่างถาวรได้ นอกจากการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำแล้ว การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยบำรุงและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับจอประสาทตาได้ อาหาร 5 ชนิด ที่ช่วยบำรุงจอประสาทตา และความสำคัญของสารอาหารแต่ละชนิดในอาหาร 1.    ผักใบเขียวเข้ม : ผักใบเขียว เช่น คะน้า ตำลึง ผักโขม และผักบุ้ง อุดมไปด้วยลูทีนและซีแซนทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องจอประสาทตาจากแสงสีฟ้าและรังสียูวี o    ลูทีนและซีแซนทีน : ทำหน้าที่เป็นเหมือน “แว่นกันแดดภายใน” ช่วยกรองแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายต่อดวงตา และยังช่วยลดความเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (Age-related Macular Degeneration - AMD) อ้างอิงจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Journal of Ophthalmology 2.    ปลาที่มีไขมันสูง : ปลาแซลมอน ปลาทูน่า และปลาแมคเคอเรล เป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรักษาสุขภาพของจอประสาทตา o    กรดไขมันโอเมก้า-3 : ช่วยลดการอักเสบและป้องกันจอประสาทตาแห้ง นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าโอเมก้า-3 อาจช่วยชะลอการลุกลามของโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ อ้างอิงจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Archives of Ophthalmology 3.    ไข่ : ไข่แดงอุดมไปด้วยลูทีน ซีแซนทีน และสังกะสี o    สังกะสี : ช่วยในการขนส่งวิตามินเอไปยังจอประสาทตา ซึ่งวิตามินเอมีบทบาทสำคัญในการมองเห็นในที่แสงน้อย การขาดสังกะสีอาจนำไปสู่ภาวะตาบอดกลางคืนได้ 4.    ผลไม้ตระกูลเบอร์รี : บลูเบอร์รี สตรอว์เบอร์รี และราสเบอร์รี เป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ o    สารต้านอนุมูลอิสระ : ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาจากความเสียหาย และยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังดวงตา ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพตาโดยรวม 5.    ถั่วและเมล็ดพืช : อัลมอนด์ วอลนัท และเมล็ดทานตะวัน เป็นแหล่งของวิตามินอี o    วิตามินอี : เป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตา วิตามินอียังช่วยลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อมตามที่ระบุในวารสารทางการแพทย์หลายฉบับ เมนูอาหารบำรุงสายตาที่คุณสามารถทำเองได้ง่ายๆ สลัดผักโขมกับปลาแซลมอนย่าง : อุดมไปด้วยลูทีน ซีแซนทีน และโอเมก้า-3 ไข่เจียวใส่ผัก : ได้รับทั้งลูทีน ซีแซนทีน และสังกะสี โยเกิร์ตกับผลไม้รวมและถั่ว : รวมสารอาหารบำรุงสายตาหลายชนิดไว้ในเมนูเดียว น้ำปั่นบลูเบอร์รี : ดื่มง่าย ได้รับสารต้านอนุมูลอิสระเต็มๆ ผลงานวิจัยสนับสนุน งานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Journal of Ophthalmology พบว่า การรับประทานอาหารที่มีลูทีนและซีแซนทีนสูง ช่วยลดความเสี่ยงของโรคจอประสาทตาเสื่อมขั้นสูงได้ งานวิจัยในวารสาร Archives of Ophthalmology ระบุว่า ผู้ที่รับประทานปลาที่มีไขมันสูงเป็นประจำ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมน้อยกว่าผู้ที่ไม่ค่อยรับประทาน  ที่ศูนย์รักษาจอประสาทตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ เรามีทีมจักษุแพทย์เฉพาะทางด้านจอประสาทตา พร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย คอยให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคทางจอประสาทตาอย่างครบวงจรหากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพตา หรือต้องการเข้ารับการตรวจเช็คสุขภาพตา สามารถติดต่อได้ที่ 02-511-2111 ศูนย์รักษาจอประสาทตา โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ ได้ทันที เราพร้อมดูแลดวงตาของคุณ เพื่อให้คุณมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมองเห็นโลกได้อย่างชัดเจน สุขภาพตาที่ดี เริ่มต้นจากการใส่ใจ
ศูนย์รักษาตาเด็ก

การควบคุมภาวะสายตาสั้นในเด็ก

การควบคุมภาวะสายตาสั้นในเด็ก เนื่องจากสายตาสั้นในเด็กเป็นภาวะที่ไม่สามารถทำให้หายขาดได้แต่สามารถควบคุมให้เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดหรือเพิ่มขึ้นช้าลง ทางการเเพทย์จึงใช้คำว่าควบคุมแทนคำว่ารักษา แน่นอนว่าลักษณะดวงตาและสภาวะสายตาของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการวินิจฉัยจากจักษุเเพทย์ก่อน เพื่อประเมินเข้ารับการใช้ยาหรือใส่คอนเเทคเลนส์เพื่อควบคุมสายตาสั้นสำหรับเด็ก   คุณสมบัติและลักษณะเบื้องต้นของเด็กที่ควรเข้ารับการควบคุมสายตาสั้น มีอายุตั้งแต่ 6 ถึง 12 ปีและได้รับการวินิจฉัยว่ามีสายตาสั้นตั้งแต่อายุน้อยๆ เด็กกลุ่มอายุนี้มีโอกาสที่จะตอบสนองต่อการควบคุมสายตาสั้นได้ดีเนื่องจากดวงตายังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ เด็กที่มีภาวะสายตาสั้นขึ้นอย่างรวดเร็ว(เพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งร้อยต่อปี) เด็กที่มีคุณพ่อหรือคุณแม่สายตาสั้นมาก เนื่องจากมีโอกาสสูงที่เด็กจะมีสายตาสั้นมากเช่นกัน   ทำไมเด็กๆ จึงควรที่จะได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับการควบคุมสายตาสั้น นอกจากอาการมองไม่ชัดแล้วสำหรับเด็กๆที่มีสายตาสั้นยังมีความเสื่ยงอื่นๆที่จะมีภาวะเเทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น โรคจอประสาทตาหลุดหรือโรคต้อหิน โรคมาร์แฟนซินโดรม    ปัจจัยอื่นๆที่ควรพิจารณาก่อนเข้ารับการควบคุมสายตาสั้นโดยจักษุเเพทย์ ความส่ํมาเสมอเเละวินัยของเด็ก - เนื่องจากวิธีการควบคุมสายตาสั้นโดยใช้คอนแทคเลนส์หรือการให้ยาต้องมีความส่ํมาเสมอเพื่อให้เห็นผลการรักษา ความเข้าใจในผลข้างเคียง - เนื่องจากการใช้ยาหยอดตาจะมีผลข้างเคียงบางอย่างเช่นมองเห็นใกล้ๆไม่ชัด ซึ่งในบางครั้งเด็กๆอาจจะทนไม่ได้   ท้ายที่สุดแล้วแพทย์และผู้ปกครองควรตัดสินใจร่วมกันเพื่อนพิจารณาการควมคุมสายตาสั้นในเด็กเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงที่สุด  
ศูนย์เลสิก LASER VISION

สายตาสั้นมีกี่ระดับ? รู้ทันสาเหตุ อาการ พร้อมวิธีรักษาและป้องกัน!

‘สายตาสั้น’เป็นปัญหาทางสายตาที่หลายคนอาจพบเจอ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเพิ่มขึ้น และหลายคนอาจจะยังสับสนอยู่ว่ามองไกลไม่ชัดสายตาสั้นหรือยาว? สายตาสั้นไม่ได้มีแค่ระดับเดียว แต่มีหลายระดับที่ส่งผลต่อการมองเห็นแตกต่างกันไป และไม่เพียงแค่ทำให้มองเห็นวัตถุในระยะไกลไม่ชัดเจนเท่านั้น แต่ในบางกรณีอาจส่งผลให้มองแทบไม่เห็นในที่สว่างหรือที่มีแสงจ้า บทความนี้จะพาไปเช็กระดับของสายตาสั้น วิธีสังเกตอาการแบบง่ายๆ พร้อมแนะนำแนวทางรักษาและป้องกันไม่ให้สายตาแย่ลง สายตาสั้นคือการที่แสงไม่โฟกัสที่จอประสาทตา แต่ไปตกที่ด้านหน้าของจอ ทำให้มองเห็นภาพไกลไม่ชัดเจน โดยมีปัจจัยต่างๆ เช่น ลูกตามีความยาวเกินไป กระจกตาหรือเลนส์โค้งมากเกินไป พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม อายุ และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย รวมถึงปัจจัยทางการแพทย์ การเช็กระดับสายตาสั้นแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเบา (Dioptre -0.25 ถึง -3.00) มักไม่รุนแรง ระดับปานกลาง (Dioptre -3.00 ถึง -6.00) ต้องการแว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ และระดับรุนแรง (Dioptre > -6.00) ซึ่งอาจต้องใช้แว่นตาความหนาสูงหรือพิจารณาผ่าตัด การรักษาสายตาสั้นมี 3 วิธีหลักๆ คือการใส่แว่นตาช่วยปรับแสงให้โฟกัสที่จอประสาทตา การใช้คอนแท็กต์เลนส์ที่สะดวก และการทำเลสิกที่สามารถแก้ไขปัญหาสายตาสั้นอย่างถาวร ที่มีการปรับรูปทรงของกระจกตาด้วยเลเซอร์     สายตาสั้นเกิดจากอะไร? ปัจจัยที่ทำให้เกิดสายตาสั้น สายตาสั้น (Myopia) เกิดขึ้นเมื่อแสงที่ผ่านเข้ามาในดวงตาของเรามีการโฟกัสผิดที่ ไม่ว่าจะเกิดสายตาสั้นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง โดยปกติแล้ว เมื่อแสงผ่านกระจกตา (Cornea) และเลนส์ตา (Lens) จะต้องโฟกัสไปที่จอประสาทตา (Retina) เพื่อให้เราเห็นภาพที่ชัดเจน แต่ในกรณีของผู้ที่มีสายตาสั้น แสงจะไม่ได้ตกลงบนจอประสาทตาโดยตรง แต่จะตกไปที่ด้านหน้าของจอประสาทตา ทำให้ภาพที่เราเห็นในระยะไกลไม่ชัดเจนหรือเห็นภาพเบลอ โดยสาเหตุที่ทำให้สายตาสั้นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้ 1. ลูกตามีความยาวมากเกินไป สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของสายตาสั้นคือลูกตายาวเกินไป จากด้านหน้าไปด้านหลัง (จากกระจกตาถึงจอประสาทตา) เมื่อขนาดของลูกตามีความยาวมากเกินไป การโฟกัสของแสงจะเกิดขึ้นก่อนที่จอประสาทตา ทำให้เกิดภาพเบลอในระยะไกล เพราะแสงไม่ได้โฟกัสตรงจุดที่จอประสาทตา (Retina) ซึ่งควรจะเป็นจุดที่แสงรวมตัวกันเพื่อให้เห็นภาพที่คมชัด 2. กระจกตาหรือเลนส์ตาโค้งมากเกินไป ในบางกรณีกระจกตาหรือเลนส์ตาของผู้ที่มีสายตาสั้นจะโค้งมากเกินไป ซึ่งทำให้แสงหักเหมากเกินไปและไม่สามารถโฟกัสที่จอประสาทตาได้เช่นกัน การหักเหที่มากเกินไปทำให้แสงไปตกที่ด้านหน้าของจอประสาทตา ทำให้ภาพไม่ชัดเจนเมื่อมองในระยะไกล 3. พันธุกรรม สายตาสั้นสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หากมีสมาชิกในครอบครัวที่มีสายตาสั้น โอกาสที่ลูกหลานจะมีสายตาสั้นก็จะสูงขึ้น โดยเฉพาะถ้าพ่อแม่สายตาสั้นทั้งสองคนหรือมีอาการสายตาสั้นในระดับรุนแรง 4. ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สายตาในระยะใกล้เป็นเวลานานๆ อาจทำให้สายตาสั้นได้ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่มีการใช้งานอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือการอ่านหนังสือในระยะใกล้เป็นเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการโฟกัสของตาเกิดความเครียด จนทำให้การหักเหของแสงผิดปกติได้ 5. อายุและการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย แม้ว่าสายตาสั้นมักจะเริ่มต้นในช่วงวัยเด็กหรือวัยรุ่น แต่ในบางกรณีสามารถเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการพัฒนาและการเจริญเติบโตของดวงตาอาจมีส่วนทำให้เกิดสายตาสั้นขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการเจริญเติบโตของกระจกตาหรือความยาวของลูกตาที่เพิ่มขึ้น 6. ปัจจัยทางการแพทย์บางประการ บางครั้งการมีปัญหาทางสุขภาพหรือได้รับบาดเจ็บที่ดวงตา อาจทำให้เกิดอาการสายตาสั้นได้ เช่น การผ่าตัดตาหรือการได้รับแสง ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างตา สังเกตอาการเริ่มต้นของสายตาสั้น ที่ไม่ควรมองข้าม สายตาสั้นมีอาการเริ่มต้นที่สังเกตได้จากการมองเห็นไม่ชัดเจนในระยะไกล และบางครั้งอาจจะรู้สึกว่ามองไม่เห็นสิ่งต่างๆ ที่อยู่ไกลออกไปได้ดีเหมือนเมื่อก่อน อาจจะเริ่มเห็นภาพเบลอเมื่อมอง ต้องเพ่งสายตาเมื่อมองสิ่งที่อยู่ไกลออกไปหรืออาจจะรู้สึกปวดตาเมื่อต้องเพ่งสายตามากๆ เมื่อเกิดอาการสายตาสั้น ภาพที่เห็นจะเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน เช่น การไม่สามารถอ่านป้ายถนนหรือเลขทะเบียนรถได้ชัดเจนจากระยะไกล ซึ่งมักเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าอาจเริ่มมีปัญหาสายตาสั้น การมองเห็นภาพที่ไม่ชัดเจนในระยะไกลเป็นหนึ่งในอาการที่สามารถสังเกตได้ง่าย และมักเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสายตาสั้นที่หลายคนมักจะพบในระยะแรก     เช็กระดับสายตาสั้น รู้ทันความรุนแรงของอาการ การเช็กระดับสายตาสั้นคือการประเมินว่าความผิดปกติในสายตาของเรานั้นรุนแรงเพียงใด ซึ่งช่วยให้รู้ว่าอาการอยู่ในระดับไหน สายตาสั้นค่าลบหรือค่าบวก และควรรักษาหรือปรับปรุงการดูแลอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาสายตาลุกลามมากขึ้น สายตาสั้นมีกี่ระดับ? สามารถแบ่งระดับความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับได้ ดังนี้ ระดับเบา (Mild Myopia) สายตาสั้นระดับเบาจะมีค่า Dioptre -0.25 ถึง -3.00 Dioptre ในระดับนี้มักไม่รุนแรงมาก สามารถมองเห็นในระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่จะมีปัญหาบ้างในการมองเห็นในระยะไกล เช่น การอ่านป้ายถนนหรือเลขทะเบียนรถจากระยะไกล อาจไม่จำเป็นต้องรักษาทันที แต่แนะนำให้ตรวจสายตาประจำปีเพื่อดูความเปลี่ยนแปลง ระดับปานกลาง (Moderate Myopia) สายตาสั้นระดับปานกลางจะมีค่า Dioptre -3.00 ถึง -6.00 Dioptre ในระดับนี้มีปัญหาการมองเห็นในระยะไกลชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะในสภาพแสงน้อยหรือระหว่างการขับขี่ที่ต้องการแว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์เพื่อช่วยในการมองเห็นในระยะไกล อาจพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัดเลสิกถ้าจำเป็น ระดับรุนแรง (Degenerative Myopia) สายตาสั้นระดับรุนแรงมีค่า Dioptre มากกว่า -6.00 Dioptre อาการในระดับนี้จะมีปัญหามากขึ้นในการมองเห็นระยะไกล อาจมองเห็นภาพเบลอทั้งในระยะไกลและใกล้ ได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องใช้แว่นตาหรือคอนแท็กต์เลนส์ที่มีค่าสายตาสูง ในบางกรณีอาจต้องพิจารณาผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาสายตาสั้นด้วย ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีปัญหาสายตาสั้น อาการสายตาสั้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในระยะไกลแล้ว ยังมีผลกระทบต่อหลายๆ ด้านในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจสร้างความลำบากหรือความไม่สะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การเรียน หรือการใช้ชีวิตในกิจกรรมประจำวัน หากไม่ได้รับการรักษาหรือการดูแลที่เหมาะสม สายตาสั้นอาจส่งผลกระทบในหลายด้าน ดังนี้ การขับรถยนต์และการเดินทางสายตาสั้นทำให้ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกลๆ ชัดเจน เช่น ป้ายจราจร ทำให้ขับขี่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะในเวลากลางคืน การเรียนและการทำงานที่ต้องใช้สายตาระยะไกลนักเรียนและผู้ทำงานที่ต้องดูสิ่งที่อยู่ไกล เช่น กระดานหรือจอคอมพิวเตอร์ จะมองเห็นไม่ชัด ทำให้ไม่สะดวกในการทำงาน ความเครียดและปวดตาการเพ่งสายตาหรือมองสิ่งเบลอเป็นเวลานานทำให้เกิดความเครียดและปวดตา ซึ่งส่งผลให้รู้สึกไม่สบายได้ การทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือกีฬาการมองไม่เห็นสิ่งที่อยู่ไกลๆ เช่น ลูกบอลในกีฬา อาจทำให้เล่นกีฬาได้ไม่ดี หรือเกิดอุบัติเหตุได้ ผลกระทบทางจิตใจและความมั่นใจคนที่มีสายตาสั้นอาจรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองเมื่อไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในระยะไกลได้ชัดเจน ปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวันกิจวัตรประจำวัน เช่น การขับรถหรือดูโทรทัศน์ จะรู้สึกว่าทำอะไรก็ไม่สะดวก เพราะมองสิ่งต่างๆ ได้ไม่ชัดเจน ผลกระทบจากการไม่รักษาหากไม่รักษาสายตาสั้นอาจทำให้ภาวะสายตาแย่ลงเรื่อยๆ และเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางตาอื่นๆ ในอนาคต     แนวทางการรักษาสายตาสั้น การรักษาสายตาสั้นสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและความสะดวกในการใช้ชีวิตของแต่ละคน โดยหลักๆ แล้วมี 3 วิธีในการรักษาสายตาสั้นที่ได้รับความนิยม ดังนี้ 1. การใส่แว่นตา แว่นตาเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและสะดวกที่สุดในการแก้ไขปัญหาสายตาสั้น แว่นตาจะช่วยปรับให้แสงโฟกัสตรงจอประสาทตา โดยแว่นตาจะทำหน้าที่ช่วยให้ผู้ที่มีสายตาสั้นสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลได้ชัดเจนขึ้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยและไม่เจ็บปวด เหมาะสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นในระดับที่ไม่รุนแรงมาก หรือผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัด 2. การใส่คอนแท็กต์เลนส์ คอนแท็กต์เลนส์เป็นตัวเลือกที่นิยมในหมู่คนที่ไม่ต้องการใส่แว่นตา หรือไม่ชอบให้มีกรอบแว่นบนใบหน้า คอนแท็กต์เลนส์จะทำหน้าที่เหมือนแว่นตา ช่วยปรับการโฟกัสแสงให้ถูกต้อง ทำให้ผู้ที่มีสายตาสั้นสามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่ข้อดีของคอนแท็กต์เลนส์คือจะไม่มีกรอบแว่นมาขวางทางการมองเห็น และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น เช่น การเล่นกีฬา หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง 3. การผ่าตัดเลเซอร์ (LASIK) การรักษาสายตาสั้นด้วยเลสิกเป็นวิธีที่ช่วยรักษาสายตาสั้นอย่างถาวร โดยการใช้เลเซอร์ปรับรูปทรงของกระจกตา เพื่อให้แสงที่เข้าสู่ตาตกลงบนจอประสาทตาอย่างถูกต้อง วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นในระดับสูง หรือผู้ที่ไม่ต้องการใช้แว่นตาและคอนแท็กต์เลนส์อีกต่อไป   การทำเลสิกเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยและสามารถช่วยแก้ปัญหาสายตาสั้นได้อย่างถาวร แต่ก็ต้องได้รับการประเมินจากแพทย์ก่อนว่าเหมาะสมกับการทำผ่าตัดวิธีไหน หรือเหมาะกับการผ่าตัดหรือไม่ รวม 7 วิธีง่ายๆ ที่ช่วยป้องกันสายตาสั้น ป้องกันสายตาสั้นได้โดยการดูแลและปฏิบัติตามวิธีต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพของสายตาและลดความเสี่ยงสายตาสั้น ดังนี้ หากต้องใช้สายตานานๆ เช่น อ่านหนังสือหรือใช้คอมพิวเตอร์ ควรพักสายตาทุก 20 - 30 นาที โดยมองห่างจากจอหรือหนังสือประมาณ 20 ฟุต (6 เมตร) เป็นเวลา 20 วินาที เพื่อให้กล้ามเนื้อตาต้องการพักผ่อนและไม่เกิดความเครียด ควรจัดแสงในพื้นที่ทำงานหรือการเรียนให้เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการเพ่งสายตาในสภาพแสงที่ไม่เพียงพอหรือจ้ามากเกินไป ซึ่งจะช่วยให้สายตามีความสะดวกในการทำงาน ควรตั้งระยะห่างจากจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือให้ห่างจากตาประมาณ 40 - 50 เซนติเมตร และไม่ควรมองหน้าจอจากระยะใกล้เกินไป เพราะอาจทำให้เกิดความเครียดกับดวงตา การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอช่วยให้ดวงตาได้พักและฟื้นฟูจากการใช้งานหนัก รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพตา โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามิน A, C, E และแร่ธาตุอื่นๆ เช่น ผักใบเขียวและผลไม้สด เพื่อช่วยเสริมสร้างสุขภาพตาและป้องกันการเกิดปัญหาทางสายตา ควรตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ ไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพตา เพราะหากพบว่าเป็นสายตาสั้นในระยะแรก จะช่วยให้รักษาได้ทันเวลาและป้องกันไม่ให้สายตาแย่ลง หลีกเลี่ยงใช้สายตานานๆ หรือมองสิ่งต่างๆ ในระยะใกล้เป็นเวลานาน เช่น การอ่านหนังสือหรือใช้โทรศัพท์มือถือ ควรพักสายตาหรือเปลี่ยนกิจกรรมบ้างเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดต่อดวงตา     รักษาสายตาสั้น ที่ศูนย์รักษาตา Bangkok Eye Hospital ดีอย่างไร ศูนย์รักษาตา Bangkok Eye Hospital บริการตรวจวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและผู้ชำนาญการ ที่พร้อมให้คำแนะนำและการรักษาสายตาสั้นในรูปแบบต่างๆ ผู้มีประสบการณ์ด้านการดูแลดวงตาเฉพาะทาง ให้บริการครอบคลุมทุกโรคเกี่ยวกับดวงตา การตรวจสุขภาพตาโดยรวม ตรวจสอบสุขภาพของดวงตาและหาความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการมองเห็น การตรวจวัดค่าสายตา (Refraction Test) โดยประเมินค่าสายตาเพื่อหาค่าความผิดปกติและกำหนดค่าสายตาที่เหมาะสม ใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยในการรักษา สรุป สายตาสั้นเกิดจากการที่แสงโฟกัสผิดที่ในดวงตาทำให้มองเห็นภาพไกลไม่ชัดเจน ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดสายตาสั้น ได้แก่ ลูกตามีความยาวเกินไป กระจกตาหรือเลนส์ตาโค้งมากเกินไป และพันธุกรรม สาเหตุอื่นๆ อย่างปัจจัยสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้สายตาใกล้เป็นเวลานาน และการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย ที่เกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น หากมีอาการสายตาสั้นควรเช็กระดับความรุนแรงเพื่อเลือกวิธีรักษา เช่น การใส่แว่นตา คอนแท็กต์เลนส์ หรือการผ่าตัดเลเซอร์ (LASIK) นอกจากนี้ การป้องกันสายตาสั้นสามารถทำได้โดยการพักสายตาอย่างเหมาะสม การออกกำลังกาย และการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ ก็สามารถป้องกันสายตาสั้นได้ด้วย หากต้องการรักษาสายตาสั้น ที่ศูนย์รักษาตาBangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)มีความมุ่งมั่นในการให้บริการด้วยเทคโนโลยีทันสมัยโดยผู้มีประสบการณ์ในการรักษาสายตาสั้น พร้อมดูแลหลังการรักษาอย่างมีคุณภาพ รวมถึงให้คำแนะนำที่เหมาะสมและติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง อ่านบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เลสิกสายตาสั้น บอกลาปัญหามองเห็นไม่ชัด พร้อมการเตรียมตัวก่อนทำ การตรวจตาก่อนทำเลสิกคืออะไร ทำไมต้องตรวจถึง 3 ชั่วโมง?!! ทำเลสิกที่ไหนดี? เปรียบเทียบเทคนิคและเกณฑ์การเลือกโรงพยาบาล FAQ – คำถามที่พบบ่อย สายตาสั้น มีกี่ระดับ? สายตาสั้นแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับเบา (Dioptre -0.25 ถึง -3.00) ระดับปานกลาง (Dioptre -3.00 ถึง -6.00) และระดับรุนแรง (Dioptre มากกว่า -6.00) การมองเห็นในระยะไกลจะยิ่งเบลอเมื่อระดับสายตาสั้นสูงขึ้น ระดับสายตาสั้นเท่าไรถึงจะอันตราย? สายตาสั้นที่มีค่า Dioptre มากกว่า -6.00 อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสายตาอื่นๆ และอาจต้องการการรักษาเพิ่มเติม สายตาสั้นแก้อย่างไร? สายตาสั้นแก้ได้ด้วยการใส่แว่นตา คอนแท็กต์เลนส์ หรือการทำเลสิก เพื่อปรับรูปทรงของกระจกตาให้แสงโฟกัสที่จอประสาทตา สายตาสั้นไม่ใส่แว่น อันตรายหรือไม่? สามารถไม่ใส่แว่นได้ แต่อาจทำให้มองเห็นในระยะไกลไม่ชัดเจน และอาจเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือความผิดปกติของสายตาในระยะยาว
ศูนย์เลสิก LASER VISION

ภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน สายตาพร่ามัวเมื่ออยู่ในที่มืดหรือตอนกลางคืน

เคยเป็นกันหรือไม่ที่รู้สึกว่าสายตาของเราสั้นแค่เฉพาะตอนกลางคืนหรือตอนอยู่ในที่มืด ๆ อยากจะบอกว่าอาการเหล่านี้มีอยู่จริง ซึ่งเป็นอาการของภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน (Night Myopia) อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอะไร มีความอันตรายหรือไม่ Laser Vision จะช่วยอธิบายเคลียร์ชัดให้คุณเอง   ภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน (Night Myopia) คืออะไร? ภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน คืออาการที่ดวงตามองเห็นวัตถุในระยะกลางและระยะไกลได้ไม่ชัดเจนในช่วงเวลากลางคืนหรือในสภาวะที่มีแสงสว่างน้อย อาจมองเห็นแสงไฟในระยะไกลเป็นแสงฟุ้ง ทำให้ต้องฝืนเพ่งตามองเป็นพิเศษ เพื่อให้ภาพมองเห็นชัดขึ้น จนทำให้ตาอ่อนล้าได้ง่ายเร็วขึ้น ซึ่งภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืนจะกระทบกับบุคคลที่ชื่นชอบการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในเวลากลางคืน ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่รถยนต์ หรือการทำงานในช่วงเวลากลางคืน หลายคนอาจจะคิดว่าภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืนอาจมีอาการร้ายแรงหรือต้องรับการรักษาด้วยวิธีพิเศษ แตกต่างจากการรักษาอาการสายตาสั้นทั่วไป แต่แท้จริงแล้ว เชื่อไหมว่าอาการสายตาสั้นตอนกลางคืน สายตาพร่าเมื่ออยู่ในที่มืด เป็นเพียงสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะสายตาสั้นตามปกติทั่วไป ซึ่งท่านสามารถรักษาได้ง่าย ๆ ด้วยการสวมใส่แว่นสายตาหรือการผ่าตัดทำเลสิกที่เหมาะสมเท่านั้น   ภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน เกิดขึ้นได้อย่างไร?   ●       การขยายของรูม่านตา ในภาวะที่แสงสว่างมีน้อย รูม่านตาของคนเราจะทำการขยายมากขึ้นเป็นอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มปริมาณของแสงเข้าสู่ดวงตาให้เห็นภาพชัดขึ้น แต่การขยายของรูม่านตาเช่นนี้กลับมีข้อเสียเช่นเดียวกัน โดยมันจะส่งผลกับสิ่งที่เรียกว่า Spherical aberration หรือก็คือการมองเห็นภาพเบลอมากยิ่งขึ้นเมื่อรูม่านตาของเราขยาย จึงไม่แปลกที่ใครหลายคนอาจจะเห็นภาพเบลอในช่วงเวลากลางคืน ●       Spherical aberration ภาพเบลอที่เกิดจากรูม่านตาขยาย มีสาเหตุมาจากการที่ผลของแสงเดินทางผ่านความโค้งของกระจกตาในขณะที่รูม่านตาเปิดกว้างขยายขึ้น ทำให้แสงมีการหักเหห่างจากจอรับภาพมากกว่าปกติ ยิ่งหากมากเท่าไร สมองของคนเราก็จะได้รับภาพเบลอมากขึ้นตามไปด้วย ●       เซลล์รับภาพมีความไวต่อแสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน ขณะที่เซลล์แสงรับภาพในคนเราจะมีความต่อแสงที่ 555 นาโนเมตร และเมื่อไม่มีแสงเซลล์รับภาพจะมีความไวต่อแสงที่ 510 นาโนเมตร ซึ่งปริมาณของแสงที่แตกต่างกันนี้ สามารถทำให้ภาพที่เกิดขึ้นในสมองคนเราเบลอขึ้นได้ ●       Chromatic aberration โดยปกติแล้วเมื่อแสงเดินทางผ่านกระจกตา แสงจะแยกออกเรียงตามลำดับความยาวของคลื่นโดยเรียงการตกโฟกัสก่อนไปหลัง และจากคลื่นสั้นไปคลื่นยาว แต่ในตอนกลางคืน เซลล์รับภาพจะเปลี่ยนจากการรับคลื่นแสงสีเหลืองในตอนกลางวัน มาเป็นการรับคลื่นแสงสีน้ำเงินที่มีความถี่สูงขึ้นในตอนกลางคืนแทน ทำให้คนเราสามารถเกิดสายตาสั้นได้ประมาณ -0.50D เพราะแสงสีน้ำเงินจะตกก่อนจอรับภาพ   ภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน ไม่เป็นอะไรแล้วจริงหรือ? คนที่มีภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน หรือแม้แต่คนสายตาสั้นมาก บางรายอาจมีการเสื่อมของ Rod ที่ทำงานตอนกลางคืนร่วมด้วย ส่งผลให้เกิดการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง โดยเฉพาะวิตามิน A ซึ่งเป็นวิตามินที่ช่วยในการมองเห็น อาการรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นโรคตาบอดกลางคืนได้ แม้ว่าจะมีอาการไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนกัน เช่น อาจทำให้การขับรถในช่วงเวลากลางคืนลำบากและเสี่ยงอันตรายมากกว่าเดิม รวมถึงการขึ้นลงบันไดในพื้นที่มืด เป็นต้น   คืนความคมชัดยาม่ํคาคืน ด้วยการรักษาที่ทันสมัยจาก Laser Vision ทุกปัญหาด้านสายตาสามารถรักษาให้ดีขึ้นด้วย เพียงคุณปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคล โดย Laser Vision International LASIK Center เป็นศูนย์รักษาสายตาอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 25 ปี พร้อมด้วยทีมแพทย์เฉพาะด้านและเครื่องมืออันทันสมัยได้มาตรฐานสากล สามารถดำเนินการรักษาภาวะสายตาสั้นตอนกลางคืน และอาการตาบอดกลางคืนได้ หรือในเคสที่รุนแรงมีสาเหตุจากต้อกระจกตา ทางเราก็มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถผ่าตัดได้อย่างปลอดภัย ปรึกษาเพิ่มเติม โทร 02-511-2111

ที่อยู่

ช่องทางติดต่อ

calling
ติดต่อเรา :