ใหม่ล่าสุด การรักษาต้อกระจกแบบไร้ไบมีด

รักษาต้อกระจกแบบไร้ใบมีดโดยใช้เลนส์พรีเมียม และ เลนส์ธรรมดา

 

Empowering Sight

Inspiring Tomorrow

 

Empowering Sight

Inspiring Tomorrow

ជ្រុងនៃសុខភាពភ្នែក

តម្រៀប
Dry eyes
Dry eyes ទឹកភ្នែកដើរតួនាទីយ៉ាងសំខាន់ក្នុងការរក្សាភ្នែករបស់យើងឱ្យមានសំណើម, ធានាឱ្យឃើញច្បាស់ដោយអនុញ្ញាតឱ្យពន្លឺឆ្លងកាត់កែវភ្នែកប្រកបដោយប្រសិទ្ធភាព និងផ្គត់ផ្គង់អុកស៊ីហ្សែនចិញ្ចឹមភ្នែក។ វាក៏ជួយការពារការឆ្លងមេរោគនិងសារធាតុផ្សេងៗផងដែរ។    នៅពេលដែលភ្នែកស្ងួត, វាជាបញ្ហាទូទៅមួយដែលអាចកើតឡើងពីការផលិតទឹកភ្នែកមិនប្រក្រតីឬទឹកភ្នែកមានការហួតលឿនពេក។ វាអាចធ្វើអោយមានភាពមិនស្រណុក, ក្រហាយ, មានអារម្មណ៍ថាដូចមានអ្វីនៅក្នុងភ្នែករបស់អ្នក, ភ្នែកមានសភាពក្រហម, រោយ, មើលឃើញព្រិលៗដែលទទួលភាពប្រសើរជាមួយការព្រិចភ្នែក, ឬសូម្បីតែមានអារម្មណ៍ថារោយភ្នែក។ ហេតុផលដែលមានភ្នែកស្ងួតអាចមានការប្រែប្រួលនៅពេលកាន់តែចាស់ឬជាស្រ្ដី (យេស៎, យើងងាយនឹងរងនូវភ្នែកស្ងួត) ការអាលាក់ហ្សីជាមួយថ្នាំ, ការចំណាយជាច្រើនពេលទៅលើ Screens, នៅទីកន្លែងដែលមានដី ផ្សែង ឬ មានខ្យល់ខ្លាំងនិងមានពន្លឺច្រើន, រួមបញ្ចូលទាំងអស់។    ប៉ុន្ដែមានដំណឹងល្អនោះគឺជាពិធីនៃការព្យាបាលភ្នែកស្ងួត:   ការចៀសឆ្ងាយពីអ្វីដែលអាចធ្វើអោយវាកាន់តែអាក្រក់ដូចជាខ្យល់ខ្លាំងនិងធូលីដីដោយគ្រាន់តែពាក់វែនតានិងការការពារភ្នែក។ ចងចាំថាត្រូវសំរាកឬព្រិចភ្នែកអោយបានញឹកញាប់ ជាពិសេសនៅពេលអ្នកជាប់ជាមួយ Screen ខណៈណាមួយ។  អ្នកទទួលបាននូវថ្នាំបណ្ដក់ភ្នែកដែលហៅថាទឹកភ្នែកសុប្បនិមិត្ត។ មានពីប្រភេទគឺសម្រាប់ពេលថ្ងៃ (ទឹកច្រើន) និងពេលយប់ (ក្រាស់បន្ដិច) ដែលត្រូវប្រើអាស្រ័យទៅលើស្ថានភាពភ្នែកស្ងួតរបស់អ្នក។  ពេលខ្លះពេទ្យរបស់អ្នកអាចនែនាំថ្នាំបណ្ដក់ភ្នែកពិសេសដែលជំរុញអោយភ្នែករបស់អ្នកបង្កើតទឹកភ្នែកបានច្រើន។  ផ្ដល់ការព្យាបាលភ្នែករបស់អ្នកជាមួយក្រណាត់ស្អាតហើយក្ដៅឧន្ឌៗ រួចស្អំលើភ្នែកដើម្បីជូយអោយមានអារម្មណ៍ល្អប្រសើរ។ ប្រសិនបើភ្នែកស្ងួតកាន់តែខ្លាំងហើយមិនប្រសើរឡើង ការជជែកជាមួយគ្រូពេទ្យភ្នែកគឺជារឿងល្អ។   សរុបមក ភ្នែកស្ងួតអាចជាបញ្ហារំខានមួយ ប៉ុន្តែមានដំណោះស្រាយនៅទីនោះ។ វាជារឿងសំខាន់ក្នុងការថែរក្សាភ្នែករបស់អ្នកឱ្យបានល្អ ជាពិសេសនៅពេលដែលមានសភាពស្ងួតនៅខាងក្រៅ (អាកាសធាតុស្ងួត)។ ប្រសិនបើអ្នកសង្ស័យថាអ្នកមានបញ្ហាភ្នែកស្ងួត ការជជែកជាមួយអ្នកជំនាញផ្នែកថែរក្សាភ្នែកគឺជាទង្វើដ៏ឆ្លាតវៃ។
អាន​បន្ថែម
Children's Eye Center
การควบคุมภาวะสายตาสั้นในเด็ก
การควบคุมภาวะสายตาสั้นในเด็ก เนื่องจากสายตาสั้นในเด็กเป็นภาวะที่ไม่สามารถทำให้หายขาดได้แต่สามารถควบคุมให้เพิ่มขึ้นน้อยที่สุดหรือเพิ่มขึ้นช้าลง ทางการเเพทย์จึงใช้คำว่าควบคุมแทนคำว่ารักษา แน่นอนว่าลักษณะดวงตาและสภาวะสายตาของเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับการวินิจฉัยจากจักษุเเพทย์ก่อน เพื่อประเมินเข้ารับการใช้ยาหรือใส่คอนเเทคเลนส์เพื่อควบคุมสายตาสั้นสำหรับเด็ก   คุณสมบัติและลักษณะเบื้องต้นของเด็กที่ควรเข้ารับการควบคุมสายตาสั้น มีอายุตั้งแต่ 6 ถึง 12 ปีและได้รับการวินิจฉัยว่ามีสายตาสั้นตั้งแต่อายุน้อยๆ เด็กกลุ่มอายุนี้มีโอกาสที่จะตอบสนองต่อการควบคุมสายตาสั้นได้ดีเนื่องจากดวงตายังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ เด็กที่มีภาวะสายตาสั้นขึ้นอย่างรวดเร็ว(เพิ่มขึ้นมากกว่าหนึ่งร้อยต่อปี) เด็กที่มีคุณพ่อหรือคุณแม่สายตาสั้นมาก เนื่องจากมีโอกาสสูงที่เด็กจะมีสายตาสั้นมากเช่นกัน   ทำไมเด็กๆ จึงควรที่จะได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับการควบคุมสายตาสั้น นอกจากอาการมองไม่ชัดแล้วสำหรับเด็กๆที่มีสายตาสั้นยังมีความเสื่ยงอื่นๆที่จะมีภาวะเเทรกซ้อนร่วมด้วย เช่น โรคจอประสาทตาหลุดหรือโรคต้อหิน โรคมาร์แฟนซินโดรม    ปัจจัยอื่นๆที่ควรพิจารณาก่อนเข้ารับการควบคุมสายตาสั้นโดยจักษุเเพทย์ ความส่ํมาเสมอเเละวินัยของเด็ก - เนื่องจากวิธีการควบคุมสายตาสั้นโดยใช้คอนแทคเลนส์หรือการให้ยาต้องมีความส่ํมาเสมอเพื่อให้เห็นผลการรักษา ความเข้าใจในผลข้างเคียง - เนื่องจากการใช้ยาหยอดตาจะมีผลข้างเคียงบางอย่างเช่นมองเห็นใกล้ๆไม่ชัด ซึ่งในบางครั้งเด็กๆอาจจะทนไม่ได้   ท้ายที่สุดแล้วแพทย์และผู้ปกครองควรตัดสินใจร่วมกันเพื่อนพิจารณาการควมคุมสายตาสั้นในเด็กเพื่อให้ได้ผลลัพธ์สูงที่สุด  
Laser Vision
อย่าให้ปัญหาสายตาสั้นทำให้ชีวิตของคุณยุ่งยาก!
หลายคนมีปัญหาสายตาสั้น ทำให้มีทัศนวิสัยในการมองเห็นแย่ มองเห็นภาพไกล ๆ ไม่ชัด มองเห็นเป็นภาพเบลอ ซึ่งสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่มีค่าสายตาสั้นสูงมาก จนทำให้ต้องใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์แทบจะตลอดเวลา ซึ่งถือเป็นการเพิ่มอุปกรณ์จำเป็นในการดำรงชีวิตและเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวันอีกด้วย โดยเฉพาะคนที่สายตาสั้นและต้องใส่คอนแทคเลนส์ยังต้องเพิ่มเรื่องของการดูแลความสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ดวงตาติดเชื้อและอาจนำไปสู่อันตรายร้ายแรงต่อดวงตาอีกด้วย   ทั้งนี้ทั้งนั้นสายตาสั้นอาจไม่ใช่แค่ปัญหาที่สร้างความรำคาญ หรือทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินชีวิตเพียงแค่นั้น แต่ยังส่งผลกระทบกับชีวิตได้อีกหลายด้าน ทั้งด้านสุขภาพ ด้านการเงิน หรือแม้กระทั่งยังอาจเป็นตัวกำหนดอาชีพในอนาคตเราได้อีกด้วย ดังนั้นหากไม่อยากปล่อยให้เรื่องสายตาสั้นเป็นปัญหากวนใจ ควรหาทางแก้ไขตั้งแต่เนิ่น ๆ   ผลกระทบด้านต่าง ๆ ที่เกิดจากสายตาสั้น ด้านสุขภาพ หลายคนยังไม่ทราบว่าหากใครที่มีสายตาสั้นมาก ๆ ในอนาคตอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ในบริเวณดวงตาได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อม จอตาลอก จอตาฉีกขาด หรือวุ้นในตาเสื่อม ซึ่งในบางกรณีอาจรุนแรงถึงขึ้นทำทำให้สูญเสียการมองเห็นได้เลย   ด้านสังคมและการดำเนินชีวิตประจำวัน สายตาสั้นทำให้ขาดความคล่องตัวในการดำเนินชีวิตและการทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ในวัยเรียนอาจประสบปัญหามองกระดานเรียนไม่ชัด ทำให้มีปัญหาการเรียนสะดุดได้ เมื่อโตขึ้นการทำกิจกรรมบางอย่างก็ต้องใช้สายตาเป็นส่วนสำคัญ เช่น การขับขี่รถจักรยานยนต์หรือรถมอเตอร์ไซต์และอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อความคล่องตัวและความปลอดภัยจึงต้องใส่แว่นสายตาและคอนแทคเลนส์ และนำมาสู่ผลกระทบในข้อถัดไป   ด้านการเงิน เมื่อเริ่มรู้ว่าตนเองมีค่าสายตาที่ผิดปกติ ควรตรวจวัดค่าสายตาก่อนเป็นอันดับแรก แล้วจึงทำการตัดแว่นหรือหาซื้อคอนแทคเลนส์ตามค่าสายตาของตนเอง เพื่อปรับให้มีการมองเห็นที่เหมาะสม ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา ต่างจากคนที่มีค่าสายตาปกติ และค่าสายตาเป็นอะไรที่ไม่คงที เมื่ออายุมากขึ้นค่าสายตาสั้นก็อาจสูงขึ้นตามไปด้วยทำให้ต้องเปลี่ยนเลนส์แว่นหรือคอนแทคเลนส์ใหม่ ๆ ทุกครั้งที่ค่าสายตาเปลี่ยน ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นในชีวิตประจำวัน   ด้านการประกอบอาชีพ รู้หรือไม่ว่าบางอาชีพมีการกำหนดค่าสายตาสูงสุดที่สามารถประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้ด้วย ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นอาชีพที่ต้องใช้สายตาเพื่อความละเอียดแม่นยำเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน ของทั้งตนเองและผู้อื่น อย่างเช่น อาชีพนักบินถูกกำหนดห้ามสายตาสั้นเกิน -3.00D ห้ามสายตาเอียงเกิน -1.50D ส่วนนายสิบ นายร้อย ตำรวจและทหาร ต้องมีสายตาปกติและอ่าน snellen chart ได้หกต่อหก   แก้ไขสายตาสั้น ให้หมดความกังวลใจ ด้วยการทำเลสิกกับ LASERVISION เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินชีวิต และสำหรับบางคนที่อยากทำอาชีพได้แบบที่หวังโดยไม่ต้องกังวลใจกับเรื่องค่าสายตา หนทางเดียวที่จะทำให้ค่าสายตาเป็นปกติ คือ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขค่าสายตา โดยที่ในปัจจุบันการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตานั้นนิยมทำด้วยการเลเซอร์ ซึ่งเป็นการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพื่อให้ผลลัพธ์มีความแม่นยำมากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น ที่สำคัญคือแผลผ่าเล็กไม่ต้องพักฟื้นนาน เหมือนกับการที่ศูนย์รักษาสายตานานาชาติ เลเซอร์วิชั่น เป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวในไทยที่นำเอาเทคโนโลยี NanoRelex® เข้ามาใช้ในการผ่าตัดแก้ไขค่าสายตา   โดย NanoRelex® เป็นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของ Femtosecond Laser ที่มีความแม่นยำสูง ในการปรับแต่งเนื้อเยื่อภายในชั้น Stroma ของกระจกตา ด้วยการคำนวณชิ้นเนื้อกระจกตา เป็นรูป 3 มิติ ที่เรียกว่า Lenticule ตามค่าสายตาของแต่ละบุคคล แล้วทำการนำ Lenticule ออกผ่านทางแผลขนาดเล็กประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าตัดน้อย ลดอาการตาแห้งได้ดี ที่สำคัญคือ หลังการผ่าตัดกระจกตาจะยังคงรูปร่างและความแข็งแรงอยู่ ทำให้คุณมั่นใจในการใช้ชีวิตด้วยการมองเห็นที่ดีขึ้น และไม่มีปัญหากวนใจอื่น ๆ ตามมาในภายหลัง
Laser Vision
อาการตาแพ้แสง (Photophobia) เป็นอย่างไรและต้องรักษายังไง?
ภาวะตาแพ้แสง (Photophobia) เป็นภาวะที่ดวงตามีความไวต่อแสง ไม่สามารถสู้แสงได้ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด แสงจากหลอดไฟ แสงจากหน้าจอมือถือ แท็บเล็ต หรือโน้ตบุ้ค ซึ่งเมื่อดวงตาต้องเจอแสงเหล่านี้ก็อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง แสบ และมีน้ำตาไหล เป็นอาการที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับกลุ่มที่ต้องใช้สายตาบ่อย ไม่ค่อยได้หยุดพักระหว่างวัน ซึ่งผู้ที่มีดวงตาสีอ่อนจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาแพ้แสงมากกว่าผู้ที่มีดวงตาสีเข้ม เนื่องจากตาสีอ่อนมีเม็ดสีน้อยกว่า จึงปกป้องดวงตาจากแสงได้น้อยกว่านั่นเอง   ส่วนสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการตาแพ้แสงมาจากหลากหลายสาเหตุ ทั้งจากพฤติกรรม โรค ยา การผ่าตัดและอื่น ๆ ดังนั้นมาลองดูกันว่าสาเหตุของการเกิดตาแพ้แสงนั้นมีอะไรบ้าง และมีพฤติกรรมไหนบ้างที่อาจจะทำให้คุณเสี่ยงมีภาวะตาแพ้แสงในอนาคต จะได้หลีกเลี่ยง เพื่อป้องกัน รวมถึงมาดูว่าหากคุณกำลังมีภาวะตาแพ้แสงอยู่ในขณะนี้จะรักษาได้อย่างไรบ้าง   สาเหตุหรือที่มาของการเกิดอาการตาแพ้แสง เยื่อบุตาหรือม่านตาอักเสบ ความผิดปกติของกระจกตา หรือการเกิดอุบัติเหตุทางตาทำให้มีแผลบนกระจกตา ตาอักเสบหรือติดเชื้อจากสิ่งสกปรก รูม่านตาขนาดใหญ่กว่าปกติ ตาแห้งจากการใช้สายตาหรือจ้องหน้าจอ/แสงนาน ๆ  อาการตาแพ้แสงสืบเนื่องจากไมเกรน ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่ส่งผลต่อตา เช่น ยาทาสิว ยาแก้อักเสบ ยาคุม ใส่คอนแทคเลนส์ที่มีขนาด หรือรูปทรงไม่เหมาะสมกับตา จนทำให้เกิดการระคายเคือง ใช้ยาหยอดตาที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ มีโรคหรืออาการเจ็บป่วยทางสมองที่อาจส่งผลต่ออาการตาแพ้แสง เช่น เนื้องอกในต่อมใต้สมอง ก้านสมองเสื่อม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือการได้รับบาดเจ็บที่รุนแรงทางสมอง   วิธีรักษาและบรรเทาอาการตาแพ้แสง หากสงสัยว่าอาการแสบตา ระคายเคืองตา หรือน้ำตาไหลบ่อย ๆ เมื่อต้องเจอกับแสง อาจเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโดยในเบื้องต้น แพทย์อาจซักถามอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และอาจมีการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติมตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น การตรวจฟิล์มน้ำตาเพื่อดูปริมาณน้ำตา การตรวจด้วยเครื่อง Slit-Lamp เพื่อหาอาการบาดเจ็บหรือการอักเสบบนผิวดวงตา หรือการทำ MRI เพื่อตรวจหาความผิดปกติต่าง ๆ   แต่โดยทั่วไปแล้วอาการตาแพ้แสงที่ไม่รุนแรงมาก สามารถรักษาและบรรเทาอาการได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้าทั้งแสงแดดและหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หากจำเป็นต้องอยู่กับแสงแดดหรือแสงจากหน้าจอเป็นเวลานาน ให้พักสายตาเป็นระยะ ๆ แต่ละรอบอาจจะพักสายตาไม่นานแต่เน้นทำบ่อย ๆ อ่านหนังสือ หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ รวมถึงใช้จอคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีสารแคโรทีนอยด์ เช่น แครอท ผักบุ้ง ปวยเล้ง หรือผักผลไม้ที่มีสีส้มสีเหลืองเป็นส่วนใหญ่เยอะ ๆ เพื่อบำรุงสายตาให้แข็งแรง ใส่แว่นกันแดด กัน UV หรือแว่นที่เป็นเลนส์ปรับแสง เพื่อช่วยถนอมสายตาเมื่อต้องออกกลางแจ้ง เลือกคอนแทคเลนส์ที่มีค่าอมน้ำสูง หรือลดการใส่คอนแทคเลนส์แล้วหันมาใส่แว่นแทนหากอยู่ในช่วงที่มีอาการตาแพ้แสง หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอางบริเวณรอบดวงตา การต่อขนตา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการระคายเคือง หรือหากมีอาการรุนแรง เช่น เจ็บปวดดวงตาเมื่อต้องเจอกับแสงในรูปแบบต่าง ๆ อาจต้องมีการใช้น้ำตาเทียม หรือยารักษาตามสาเหตุที่ทำให้ตาเกิดอาการแพ้แสง   ทำเลสิกทั้งทีต้องที่ Laser Vision เพราะดวงตาคืออวัยวะสำคัญที่ทำให้เรามองเห็น และยังเป็นอวัยวะที่บอบบางอีกด้วย เราจึงต้องรักษาดูแลและถนอมดวงตาไว้ให้มาก ๆ ดังนั้นหากจะทำการผ่าตัดเพื่อปรับแก้ไขค่าสายตาให้กลับมาเป็นปกติทั้งที ก็ต้องเลือกศูนย์เลสิกที่ไว้ใจได้ มีใบรับรอง มีการผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีบริการที่ใส่ใจ และทั้งหมดที่ว่ามานี้ก็คงหนีไม่พ้น ศูนย์รักษาสายตานานาชาติ เลเซอร์วิชั่น ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการรักษาดวงตามาแล้วกว่า 25 ปี ที่สำคัญยังมีเทคโนโลยีเฉพาะอย่าง NanoRelex® ที่มีเฉพาะศูนย์เลเซอร์วิชั่น ให้การผ่าตัดที่แผลเล็ก ฟื้นตัวง่าย
Laser Vision
5 วิธีสำหรับการดูแลสายตาแบบเบสิก ป้องกันการเสื่อมก่อนวัยอันควร
5 วิธีสำหรับการดูแลสายตาแบบเบสิก ป้องกันการเสื่อมก่อนวัยอันควร   ดวงตา เป็นอวัยวะสำคัญที่ทำให้เรามีประสาทสัมผัสทางด้านการมองเห็น ซึ่งการมองเห็นที่ดีจะทำให้เราเพลิดเพลินไปกับแสง สี และทัศนียภาพที่ได้สัมผัส แต่ดวงตาเองก็เหมือนกับอวัยวะอื่น ๆ ทั่วไปในร่างกายที่มักเสื่อมสภาพตามอายุที่มากขึ้นของเรา แต่ในปัจจุบันการเติบโดตของเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟน ทำให้เราใช้สายตามากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มวัยทำงานที่ตาแทบจะอยู่กับหน้าจอตลอดเวลาตั้งตื่นนอนยันตอนหลับ   ดังนั้นคนในสองกลุ่มนี้หรือในผู้สูงอายุเอง ควรหันมาใส่ใจกับการดูแลสุขภาพตาให้มากขึ้น วันนี้ศูนย์รักษาสายตานานาชาติ เลเซอร์วิชั่น จึงขอนำเสนอห้าวิธีง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้ เพื่อสุขภาพตาที่ดีขึ้นและป้องกันไม่ให้สุขภาพของดวงตาเสื่อมสภาพลงก่อนวัยอันควร   วิธีดูแลสุขภาพดวงตาแบบง่าย ๆ มีอะไรบ้าง? หลายคนมีความเสี่ยงสุขภาพตาเสื่อม เนื่องมาจากพฤติกรรมการใช้งานดวงตาที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นหากลองปรับพฤติกรรมง่าย ๆ ตาม 5 ข้อนี้ อาจช่วยป้องกันการเสื่อมก่อนวัยอันควรของสุขภาพตาได้   ลดเวลาการใช้งานหน้าจอและปรับแสงสว่างของหน้าจอให้พอดี   ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอทีวี สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ปล่อยแสงสีฟ้าที่มีพลังงานสูงใกล้เคียงกับรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของดวงตา เพราะพลังงานที่สูงของแสงสีฟ้า สามารถทะลุเข้าไปและทำลายเซลล์รับแสงในดวงตาได้ ตั้งแต่กระจกตา เลนส์ตา ไปจนถึงจอประสาทตา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่อาจทำให้การมองเห็นแย่ลง และยังเป็นสาเหตุให้เกิดอาการตาล้า ปวดตา ตาเบลอ แสบตา หรือเคืองตา จึงควรลดเวลาที่ใช้สายตาอยู่กับหน้าจอเหล่านี้ลง รวมถึงการปรับแสงสว่างที่ไม่พอดี สว่างมากเกินไปหรือน้อยเกิดไปอาจทำให้ตาทำงานหนัก และเสี่ยงที่จะเสื่อมสภาพก่อนวัยอันควรได้   การใส่แว่นกันแดดในชีวิตประจำวัน   คนไทยอาจไม่ค่อยชินหรือคุ้นเคยกับการใส่แว่นแดดในชีวิตประจำวันเท่าไหร่นัก ถึงแม้บ้านเราจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีปริมาณค่า UV ในปริมาณที่น่าเป็นห่วง แต่เราจะเห็นได้ว่าชาวต่างชาติมักจะใส่แว่นกันแดดให้เราเห็นกันบ่อย ๆ โดยการใส่แว่นกันแดดไม่ใช่เพื่อการแสดงออกทางแฟชั่นเท่านั้น แต่ยังเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยปกป้องดวงตาของเราจากแสง UV ดังนั้นไม่ว่าคุณจะทำกิจกรรมอะไรที่อยู่ท่ามกลางแดดและต้องพบเจอแสง UV เช่น การขับรถ การออกกำลังกายกลางแจ้ง หรืออื่น ๆ ก็ควรใส่แว่นกันแดดให้ติดเป็นนิสัย เพื่อเป็นตัวช่วยที่ดีในการปกป้องสุขภาพตาของคุณ   รับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ ซี และอี เยอะ ๆ เพื่อช่วยบำรุงสาย   วิตามินเอ อี และ ซี เป็นวิตามินที่สำคัญต่อการปกป้องดวงตาของเราโดยที่วิตามินเอมีส่วนช่วยในการปกป้องกระจกตา มักอยู่ในผักผลไม้สีเหลือง ส้ม เขียว หรือนม ชีส ตับ ไข่แดง ส่วนวิตามินซีมีส่วนช่วยในการป้องกันการเสื่อมของเซลล์ ช่วยในการป้องกันการเกิดต้อประเภทต่างๆ พบมากในผักอย่างคะน้า กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม หรือผลไม้ที่มีรสชาติเปรี้ยว และสุดท้ายวิตามินอีเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ มีส่วนช่วยบำรุงระบบประสาทตา ชะลอการเสื่อมก่อนวัย พบได้ในน้ำมันมะกอก อะโวคาโด เมล็ดทานตะวัน นอกจากนี้ยังควรต้องรับประทานอารที่มีสารแคโรทีนอยด์ กรดไขมันโอเมก้า 3 และแร่ธาตุสังกะสี เพื่อการปกป้องสายตาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น   ไม่ควรใส่คอนแทคเลนส์นานเกิน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน   การดูแลดวงตาสำหรับผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์อาจต้องระมัดระวังมากกว่าเพราะตัวเลนส์จะสัมผัสกับลูกตาของเราโดยตรง และหากไม่ดูแลความสะอาดให้ดีอาจทำให้ติดเชื้อบริเวณดวงตาได้ง่าย โดยการสวมใส่คอนแทคเลนส์ที่ถูกต้องไม่ควรใส่นานเกิน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสคอนแทคเลนส์และดวงตา หากทำได้แนะนำให้ใช้คอนแทคเลนส์รายวันเพราะจะมีความชุ่มชื้นมากกว่า และเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยลง   หลีกเลี่ยงการใช้น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย   สำหรับใครที่มีอาการตาแห้งโดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้สายตาจ้องจอเป็นเวลานาน ผู้ที่สวมใส่คอนแทคเลนส์ หรือสาเหตุอื่น ๆ อาจทำให้น้ำตาไปหล่อเลี้ยงดวงตาไม่เพียงพอจึงต้องใช้น้ำตาเทียมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา แต่เพื่อการปกป้องการเสื่อมสภาพของดวงตาแนะนำว่าการเลือกใช้น้ำตาเทียมก็มีความสำคัญ โดยน้ำตาเทียมที่จักษุแพทย์มักจะแนะนำสำหรับผู้ที่ใช้ยาหยอดตาเป็นประจำ คือแบบกระเปาะ เพราะไม่มีส่วนผสมของสารกันเสีย   Laser Vision International LASIK Center รักษาสายตาผิดปกติด้วยหลากหลายทางเลือก ศูนย์รักษาสายตานานาชาติ เลเซอร์วิชั่น ศูนย์เลสิกชั้นนำในกรุงเทพมหานครด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 25 ปี ที่ให้บริการรักษาสายตาผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ด้วยวิธีการรักษาที่หลากหลายผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้ทุกคนได้รับการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพตาและความต้องการของแต่ละท่านที่มาเข้ารับบริการ ไม่ว่าจะเป็นการทำ NanoRelex® การทำ NanoLASIK, FemtoLASIK, LASIK หรือการทำ PRK และนอกจากนี้ยังมีการรักษาโดยการใส่เลนส์เสริม ICL การทำ RLE และการรักษาต้อกระจก ที่สามารถทำได้ครบจบในที่นี่ที่เดียว ดังนั้นหากคุณกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยคุณแก้ปัญหาทางด้านสายตา ปรึกษาเราได้ที่ศูนย์เลสิก Laser Vision
Retina Center
จอประสาทตาเสื่อมและเทคโนโลยีการรักษาในปัจจุบัน
จอประสาทตาเสื่อมและเทคโนโลยีการรักษาในปัจจุบัน จอประสาทตาเสื่อม (Age-related Macular Degeneration หรือ AMD) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์บริเวณจุดศูนย์กลางของจอประสาทตา (Macula) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการมองเห็น ทำให้สูญเสียการมองเห็นส่วนกลางไปทีละน้อย อาจเริ่มจากมองเห็นภาพตรงกลางไม่ชัด ภาพบิดเบี้ยว สีผิดเพี้ยน จนกระทั่งมองไม่เห็นภาพตรงกลางในที่สุด โดยทั่วไป จอประสาทตาเสื่อม มักพบในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคนี้ได้ เช่น การสูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และพันธุกรรม   จอประสาทตาเสื่อม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่   จอประสาทตาเสื่อมแบบแห้ง (Dry AMD): เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด (ประมาณ 80-90%) เกิดจากการสะสมของของเสียที่จอประสาทตา ทำให้เซลล์รับแสงเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ ทำให้การมองเห็นลดลงอย่างช้า ๆ จอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก (Wet AMD): เป็นชนิดที่พบได้น้อยกว่า (ประมาณ 10-20%) แต่มีความรุนแรงมากกว่า เกิดจากการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติใต้จอประสาทตา เส้นเลือดเหล่านี้อาจรั่วหรือแตก ทำให้เกิดการบวมและเป็นแผลเป็นที่จอประสาทตา ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วจอประสาทตาเสื่อม เป็นสาเหตุอันดับที่สามของการสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ แม้ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่มีทางเลือกในการรักษาและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สามารถชะลอความเสื่อมและรักษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยได้ อาการของ จอประสาทตาเสื่อม มีอะไรบ้าง? อาการของ จอประสาทตาเสื่อม ขึ้นอยู่กับระยะของโรคจอประสาทตาเสื่อม แบบแห้งจะแบ่งตามกลุ่มอาการเป็น 3 ระยะ: ระยะแรก ระยะกลาง และระยะสุดท้าย โดยที่อาการมักจะแย่ลงตามเวลาและระยะของโรค จอประสาทตาเสื่อม แบบแห้งระยะแรกมักจะไม่มีอาการใด ๆ ใน จอประสาทตาเสื่อม แบบแห้งระยะกลาง บางคนยังไม่มีอาการ บางคนอาจสังเกตเห็นอาการเล็กน้อย เช่น ภาพเบลอเล็กน้อยในบริเวณศูนย์กลางภาพหรือปัญหาในการมองเห็นในแสงน้อย ใน AMD ระยะสุดท้าย (ทั้งแบบเปียกและแห้ง) หลายคนสังเกตเห็นว่าเส้นตรงเริ่มดูเป็นคลื่นหรือโค้งงอ คุณอาจ สังเกตเห็นบริเวณภาพเบลอใกล้ศูนย์กลางภาพ เมื่อเวลาผ่านไป บริเวณภาพเบลอนี้อาจขยายใหญ่ขึ้น สีอาจดูไม่สดใส เหมือนเดิม และคุณอาจมีปัญหาในการมองเห็นในแสงน้อยมากขึ้น การที่เส้นตรงดูเป็นคลื่นเป็นสัญญาณเตือนสำหรับ AMD ระยะสุดท้าย หากคุณสังเกตเห็นอาการนี้ ให้พบจักษุแพทย์ ทันที เราจะมีวิธีการลดความเสี่ยงต่อ โรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ ได้อย่างไร? มีหลายงานวิจัยที่บ่งบอกว่าถ้าเราทำตามพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ อาจชะลอการเป็นจอประสาทตาเสื่อม (หรือชะลอการสูญเสียการมองเห็นจากจอประสาทตาเสื่อม) ได้         เลิกสูบบุหรี่ หรือไม่เริ่มสูบบุหรี่         ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ         รักษาระดับความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลให้ปกติ         กินอาหารเพื่อสุขภาพ รวมถึงผักใบเขียวและปลา จักษุแพทย์จะตรวจหา AMD อย่างไร? ส่วนมากจะมีใช้การตรวจตา โดยการจะมีการตรวจขยายม่านตา ตรวจจอประสาทตา และการสแกนจอประสาทตาด้วยเครื่อง Optical Coherence Tomography (OCT)   วิธีการรักษาจอประสาทตาเสื่อม 1. การรักษาด้วยยาและอาหารเสริม วิตามินและแร่ธาตุ: การรับประทานวิตามินซี, อี, เบต้าแคโรทีน, สังกะสี และทองแดง อาจช่วยชะลอการลุกลามของจอประสาทตาเสื่อมแบบแห้งในบางราย ยาฉีด: ยาต้าน VEGF (Vascular Endothelial Growth Factor) เป็นการรักษาหลักสำหรับจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก ยานี้ช่วยยับยั้งการสร้างเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติ     2. การรักษาด้วยเลเซอร์ Photodynamic therapy (PDT): ใช้เลเซอร์ร่วมกับยาฉีดเพื่อทำลายเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติ Laser photocoagulation: ใช้เลเซอร์เพื่อทำลายเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติโดยตรง 3. การผ่าตัด การผ่าตัดเอาเลือดออก: ในกรณีที่เลือดออกในดวงตา อาจต้องผ่าตัดเพื่อเอาเลือดออก การผ่าตัดปลูกถ่ายจอประสาทตา: เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังอยู่ในขั้นทดลอง   ข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธี วิธีการรักษา ข้อดี ข้อเสีย วิตามินและแร่ธาตุ ราคาถูก, ปลอดภัย ไม่ได้ผลกับทุกคน, อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย ยาฉีด ได้ผลดีในการรักษาจอประสาทตาเสื่อมแบบเปียก ต้องฉีดเข้าดวงตาเป็นประจำ, อาจมีผลข้างเคียง การรักษาด้วยเลเซอร์ ได้ผลดีในการทำลายเส้นเลือดใหม่ อาจทำลายเนื้อเยื่อปกติโดยรอบ, ไม่ได้ผลกับทุกคน การผ่าตัด อาจช่วยรักษาภาวะแทรกซ้อนบางอย่าง มีความเสี่ยงจากการผ่าตัด, ไม่ได้ผลกับทุกคน   เทคโนโลยีใหม่ในการรักษาจอประสาทตาเสื่อม ยาฉีดชนิดใหม่: ยาฉีดที่ออกฤทธิ์นานขึ้น ช่วยลดความถี่ในการฉีด Gene therapy: เป็นการรักษาโดยการใส่ยีนที่ปกติเข้าไปในเซลล์จอประสาทตาเพื่อซ่อมแซมความเสียหาย Stem cell therapy: เป็นการรักษาโดยการใช้สเต็มเซลล์เพื่อสร้างเซลล์จอประสาทตาใหม่   สรุป   การรักษาจอประสาทตาเสื่อมมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของโรค รวมถึงสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
Children's Eye Center
3 สัญญาณเตือนว่าลูกน้อยอาจมีปัญหาสายตา
3 สัญญาณเตือนว่าลูกน้อยอาจมีปัญหาสายตา   หรี่ตาหรือเอียงคอมอง: ถ้าลูกชอบหรี่ตาหรือเอียงคอเวลาจะมองอะไรไกลๆ เช่น ดูทีวีหรือมองกระดาน อาจเป็นสัญญาณว่ามองไม่ค่อยชัด ชอบเอาของมาดูใกล้ๆ: ถ้าลูกชอบเอาหนังสือหรือของเล่นมาจ่อใกล้หน้า หรือต้องเข้าไปดูทีวีใกล้กว่าปกติ ก็อาจเป็นสัญญาณว่าลูกกำลังมีปัญหาสายตา ขยี้ตาบ่อยๆ: ถึงแม้บางทีเด็กๆ จะขยี้ตาเพราะง่วงหรือเมื่อยล้า แต่ถ้าขยี้ตาบ่อยเกินไป ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกกำลังมีปัญหาสายตาได้เหมือนกัน   สัญญาณอื่นๆ ที่พ่อแม่ควรสังเกต   สมาธิสั้นเวลาต้องใช้สายตา: เช่น ดูทีวี อ่านหนังสือ หรือวาดรูป อ่านหนังสือแล้วชอบหลงบรรทัด: หรืออ่านข้ามๆ ไปบ้าง ไม่อยากทำกิจกรรมที่ต้องใช้สายตา: เช่น ต่อจิ๊กซอว์ ระบายสี หรือเล่นตัวต่อ   ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นพฤติกรรมเหล่านี้ในตัวลูก อย่ารอช้า รีบพาลูกไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็กสายตานะคะ การตรวจพบและรักษาปัญหาสายตาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางสายตาที่ดี และเติบโตอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีค่ะ ติดต่อ ศูนย์รักษาสายตาเด็ก - โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ โทร 02-023-9929, 02-511-2111
  • ...