ความดันลูกตาสูงเป็นต้นตอของอาการปวดตา ตาแดง มองเห็นภาพมัว รวมถึงเป็นสาเหตุที่อาจนำไปสู่อาการต้อหินและสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้! บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักอาการความดันลูกตาสูงว่าคืออะไร เกิดจากอะไร วิธีรักษาลดความดันลูกตาจากแพทย์ พร้อมทั้งแนะนำการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีเพื่อลดความเสี่ยงความดันลูกตาสูง
ก่อนทำความรู้จักกับความดันลูกตาต้องรู้เกี่ยวกับโครงสร้างลูกตาก่อน ภายในลูกตาจะมีส่วนหน้าที่เรียกว่าช่องด้านหน้าของลูกตา (Anterior Chamber)ที่ตั้งอยู่ระหว่างหลังกระจกตา (Cornea)และม่านตา (Iris)ภายในช่องนี้จะมีของเหลวใสที่ชื่อว่าน้ำเลี้ยงลูกตา (Aqueous humor)บรรจุอยู่เต็มช่องเพื่อทำหน้าที่หล่อเลี้ยงออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นให้กับเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง
โดยน้ำเลี้ยงลูกตาจะไหลเวียนเข้าไปในช่องด้านหน้าลูกตา จากนั้นจะระบายออกนอกลูกตาโดยผ่านมุมแคบๆที่อยู่ระหว่างม่านตากับกระจกตาดำเข้าไปในตะแกรงระบายเล็กๆ เพื่อเข้าสู่หลอดเลือดดำที่อยู่นอกลูกตา
ความดันตาคือความดันของน้ำเลี้ยงลูกตา (Aqueous Humor) ที่อยู่ภายในลูกตา มีหน่วยการวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท เป็นค่าความดันที่เกิดจากสมดุลระหว่างการสร้างน้ำภายในลูกตาและการระบายน้ำในลูกตา
ความดันลูกตาคืออัตราการสร้างของเหลวระหว่างการสร้างน้ำเลี้ยงลูกตาและน้ำที่ถูกระบายออกนอกลูกตา หากการไหลออกและการสร้างของน้ำเลี้ยงลูกตาสมดุลกัน หมายความว่าความดันลูกตาเป็นปกติ โดยจะมีค่าอยู่ที่ 12 - 20 มิลลิเมตรปรอท
อาการความดันลูกตาสูงคือลักษณะอาการที่อัตราการสร้างน้ำเลี้ยงลูกตากับอัตราการระบายออกไม่สมดุลกัน วัดค่าได้มากกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท อาการนี้อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดตา ตาแดง มองเห็นภาพมัว และเสี่ยงทำให้เกิดต้อหินที่ส่งผลต่อการมองเห็นในระยะยาวได้อีกด้วย
สามารถเข้ารับการตรวจวัดความดันลูกตาได้ที่คลินิกจักษุแพทย์ หรือโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน แพทย์จะใช้เครื่องมือเป่าลมที่กระจกตาเพื่อดูการไหลเวียนของน้ำในลูกตา หากพบอาการผิดปกติ แพทย์จะแนะนำวิธีลดความดันลูกตาที่เหมาะสมกับอาการให้ทันที
อาการความดันลูกตาสูงเกิดจากอะไร? โดยสาเหตุของความดันลูกตาสูงจะคล้ายคลึงกับสาเหตุของโรคต้อหิน ซึ่งมีปัจจัยหลักๆ ดังนี้
อาการความดันลูกตาสูงเกิดจากอะไร? ปัจจัยแรกอาจเกิดจากร่างกายผลิตน้ำเลี้ยงลูกตาที่อยู่ในลูกตามากเกินไปจนดวงตาไม่สามารถระบายออกได้ทัน ส่งผลให้เกิดการสะสมของน้ำในตาและความดันลูกตาสูงขึ้น
นอกจากการที่น้ำเลี้ยงลูกตาผลิตมากเกินไปแล้ว ในผู้ป่วยบางรายอาจผลิตน้ำในตาเป็นปกติ แต่ระบบการระบายน้ำในตาผิดปกติได้ด้วยเช่นกัน โดยสาเหตุอาจมาจากมุมตาแคบลง มีสิ่งอุดตันในช่องทางระบายน้ำ หรือการอักเสบ ทำให้น้ำในตาไม่สามารถระบายออกได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดเป็นความดันลูกตาสูงได้
อาการความดันลูกตาสูงเกิดจากอะไร? เมื่อดวงตาได้รับบาดเจ็บ เช่น ได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดตา รวมถึงอาการติดเชื้อภายในดวงตา ส่งผลให้ดวงตาได้รับความเสียหายและกระทบต่อระบบการผลิตหรือการระบายน้ำเลี้ยงลูกตา หากน้ำในตาสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ความดันลูกตาสูงได้
อาการความดันลูกตาสูงเกิดจากโรคบางโรค เช่น โรคม่านตาอักเสบต้อกระจกเบาหวานขึ้นตา ได้เช่นกัน หากมีอาการเหล่านี้แนะนำให้เข้ารับการตรวจวัดความดันตา ตลอดจนตรวจสุขภาพดวงตาให้บ่อยมากขึ้น นอกจากโรคต่างๆ ปัจจัยอื่น เช่น อายุ เชื้อชาติ และประวัติครอบครัวต่างก็มีส่วนที่ทำให้เป็นโรคความดันลูกตาสูงได้ด้วยเช่นกัน
อาการความดันลูกตาสูงเกิดจากการใช้ยาบางชนิดได้ด้วยเช่นกัน โดยตัวยาที่ส่งผลต่อความดันลูกตา เช่น ยาสเตียรอยด์ ซึ่งหากจำเป็นต้องรับยาประเภทนี้แนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพดวงตาอย่างสม่ำเสมอ
อาการความดันลูกตาสูงเกิดจากหลายสาเหตุข้างต้น แต่ก็ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นความดันลูกตาสูงได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ ดังนี้
อาการความดันลูกตาสูงอันตราย! ปล่อยไว้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ได้แก่
เริ่มต้นการวินิจฉัยอาการความดันลูกตาสูง แพทย์จะซักประวัติและอาการเพื่อหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร รวมทั้งมีการทดสอบอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่
เมื่อมีอาการความดันลูกตาสูงแพทย์จะมีแนวทางการรักษาโดยใช้วิธีลดความดันลูกตาที่หลากหลาย พิจารณาจากอาการและความรุนแรงของผู้ป่วย โดยมีแนวทางการรักษาดังนี้
วิธีลดความดันลูกตา หากมีอาการในระยะเริ่มต้นที่ความดันยังไม่สูงมากนัก หรือยังไม่มีความเสียหายต่อเส้นประสาทตา แพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาในการรักษา โดยใช้ตัวยาที่หลากหลาย ออกฤทธิ์แตกต่างกันออกไปตามอาการของคนไข้ เช่น
วิธีลดความดันลูกตาด้วยเลเซอร์มักใช้ในกรณีที่ยาหยอดตาไม่สามารถควบคุมความดันลูกตาได้ เป็นการลดความดันภายในลูกตาผ่านการยิงเลเซอร์พลังงานสูงเข้าไปบริเวณมุมของช่องด้านหน้าลูกตาเพื่อเปิดทางให้ของเหลวระบายออกมาได้ง่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยเลเซอร์จำเป็นต้องมีการใช้ยาร่วมด้วยเพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดี
วิธีลดความดันลูกตาด้วยการผ่าตัดมักใช้ในกรณีที่ความดันตาสร้างความเสียหายต่อเส้นประสาทตาอย่างรุนแรง และการรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่ได้ผล เป็นการผ่าตัดเพื่อสร้างช่องระบายน้ำจากช่องลูกตาส่วนหน้าออกมาสู่ภายนอกเพื่อให้ระบายน้ำในตาออกมาได้ดีขึ้น
วิธีลดความดันลูกตาผ่านการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงความดันลูกตาสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพทย์มีแนวทางการดูแลตัวเองที่แนะนำดังนี้
เมื่อมีอาการความดันลูกตาสูง หรือพบว่าตัวเองอาจมีความเสี่ยงความดันลูกตาสูงจากโรคหรือปัจจัยอื่นๆ เข้ามารับการตรวจและวินิจฉัยเกี่ยวกับอาการทางตาได้ที่ศูนย์โรคจอประสาทตา Bangkok Eye Hospital ที่นี่มีความโดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาจากทีมจักษุแพทย์มากฝีมือ และมีจุดเด่นด้านการรักษาดังนี้
ความดันลูกตาคืออัตราการสร้างของเหลวระหว่างการสร้างน้ำเลี้ยงลูกตาและน้ำที่ถูกระบายออกนอกลูกตา หากอัตราดังกล่าวไม่สมดุลกันและวัดค่าได้เกิน 21 มิลลิเมตรปรอท ผู้ป่วยจะมีอาการความดันลูกตาสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการมองเห็นผิดปกติ มองเห็นไม่ชัด มองเห็นภาพมัว ปวดตา ตาแดง ตลอดจนเสี่ยงเป็นต้อหินและสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร หากพบว่าเสี่ยงเป็นความดันลูกตาสูง แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อหาวิธีลดความดันลูกตาอย่างถูกต้องและทันท่วงทีก่อนเกิดอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา
เข้ามาตรวจวัดความดันลูกตาและตรวจสุขภาพดวงตาได้ที่ศูนย์โรคจอประสาทตา Bangkok Eye Hospitalที่นี่โดดเด่นด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มาพร้อมเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย เครื่องมือแพทย์ที่ครบครัน โรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานสากล พร้อมให้บริการด้วยบุคลากรทางการแพทย์ที่พร้อมให้บริการอย่างเป็นกันเอง