ย้อนกลับ
พังผืดที่จอประสาทตาคืออะไร? วิธีการรักษาและป้องกันสุขภาพดวงตา
  • พังผืดที่จอตา คืออาการที่เกิดจากการสะสมของเนื้อเยื่อหรือพังผืดบางๆ บนผิวของจอประสาทตา ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการมองเห็น เห็นภาพบิดเบี้ยว มองเห็นไม่ชัด เป็นต้น

  • พังผืดจอประสาทตาเกิดจากหลากหลายปัจจัย เช่น อายุที่เพิ่มมากขึ้น ภาวะจอประสาทตาหลุดลอก การอักเสบในดวงตา ปัญหาเกี่ยวกับน้ำวุ้นตา เป็นต้น

  • การรักษาพังผืดที่จอตาทำได้โดยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง มีตั้งแต่การติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ไปจนถึงการรักษาด้วยการผ่าตัดน้ำวุ้นร่วมกับวิธีลอกพังผืดจอประสาทตา

  • รักษาพังผืดที่จอตาที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ที่นี่มีจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลสะอาด ได้มาตรฐานในระดับสากล และให้การรักษาโดยเทคโนโลยีที่ทันสมัย มั่นใจในประสิทธิภาพการรักษา

 

พังผืดที่จอตาเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ทำให้ภาพที่มองเห็นเบลอหรือบิดเบี้ยวผิดปกติ หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาอาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นถาวร การดูแลสุขภาพดวงตาอย่างเหมาะสมและการพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติจะช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในบทความนี้จะพามาทำความเข้าใจถึงพังผืดจอประสาทตา ตั้งแต่สาเหตุ อาการ การรักษา ไปจนถึงวิธีป้องกัน พร้อมเคล็ดลับในการดูแลสุขภาพดวงตาให้แข็งแรง ไปดูกัน

 

พังผืดที่จอตา คืออะไร

 

พังผืดที่จอตา คืออะไร

พังผืดที่จอตา หรือ พังผืดจอประสาทตา (Epiretinal Membrane) เป็นภาวะที่เกิดจากการสะสมของเนื้อเยื่อหรือพังผืดบางๆ บนผิวของจอประสาทตา โดยเฉพาะบริเวณจุดรับภาพตรงกลาง (Macula) ซึ่งเป็นจุดที่ช่วยให้มองเห็นภาพได้คมชัด เมื่อเกิดพังผืดขึ้นอาจส่งผลให้จอตาถูกดึงรั้ง จนเกิดความผิดปกติในการมองเห็น เช่น ภาพบิดเบี้ยว หรือมองเห็นภาพไม่ชัดเจน หากไม่ได้รับการรักษา อาการอาจลุกลามจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันได้

อาการของพังผืดที่จอตา

อาการที่พบในผู้ที่มีพังผืดที่จอประสาทตามักเกี่ยวข้องกับการมองเห็นผิดปกติ โดยผู้ที่เป็นพังผืดที่จอตาอาการที่มักพบได้บ่อย ได้แก่

  • มองเห็นเส้นตารางที่ดูโค้ง บิดเบี้ยว หรือม้วนเป็นขยุ้มบริเวณตรงกลางของภาพ ขณะที่ภาพในส่วนด้านข้างยังคงดูปกติดี

  • บางรายอาจมีอาการเห็นแสงแฟลชในตาเป็นครั้งคราว โดยไม่มีสิ่งกระตุ้นจากภายนอก

  • จอตาหลุดลอกบางส่วน (Retinal Detachment) โดยอาการนี้ส่งผลให้การมองเห็นมีจุดมืดหรือส่วนที่หายไปในภาพ โดยเฉพาะบริเวณที่จอตาหลุดลอก

  • มีเลือดออกที่ผิวจอตาหรือน้ำวุ้นตา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ทำให้ตามัวลงหรือเห็นภาพไม่ชัดเจน

  • จอตาส่วนกลางขาดเป็นรู (Macular Hole) โดยผู้ป่วยอาจมีอาการตามัวลงอย่างรวดเร็วและฉับพลัน

หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาพังผืดที่จอประสาทตาอย่างเหมาะสม

สาเหตุของพังผืดที่จอประสาทตา

พังผืดที่จอประสาทตาอาจเกิดจากกระบวนการเสื่อมสภาพของร่างกายตามอายุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่น้ำวุ้นตาเริ่มแยกตัวออกจากจอประสาทตา (Posterior Vitreous Detachment) ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณจอประสาทตาเกิดการกระตุ้นและสร้างพังผืดขึ้น นอกจากนี้โรคบางชนิด เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา การอุดตันของหลอดเลือดในจอตา หรือการอักเสบในดวงตา ก็เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดพังผืดที่จอตาได้

อีกสาเหตุสำคัญของการเกิดพังผืดจอประสาทตาคือ การบาดเจ็บหรือภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดดวงตา เช่น การผ่าตัดต้อกระจก รวมถึงภาวะจอประสาทตาหลุดลอกหรือความผิดปกติของน้ำวุ้นตา ซึ่งทำให้เกิดการสะสมของเซลล์และสารโปรตีนบริเวณจอประสาทตา ในบางกรณีสาเหตุอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

 

ปัจจัยหลักที่ทำให้เสี่ยงเป็นพังผืดที่จอตา

 

ปัจจัยหลักที่ทำให้เสี่ยงเป็นพังผืดที่จอตา

พังผืดที่จอตาเกิดจากหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในดวงตา ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เป็นพังผืดที่จอประสาทตา ได้แก่

  • อายุที่เพิ่มขึ้นความเสื่อมตามธรรมชาติของจอประสาทตาและน้ำวุ้นตาพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีโอกาสเกิดพังผืดที่จอประสาทตามากขึ้น

  • ภาวะจอประสาทตาหลุดลอกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเนื้อเยื่อและการฟื้นฟูที่ผิดปกติ จนนำไปสู่การเกิดพังผืดจอประสาทตา

  • การอักเสบในดวงตาเช่น การอักเสบของน้ำวุ้นตาหรือจอประสาทตา อาจกระตุ้นให้เกิดพังผืดที่จอตาได้

  • ปัญหาเกี่ยวกับน้ำวุ้นตาเช่น การแยกตัวของน้ำวุ้นตา (Posterior Vitreous Detachment) กระตุ้นให้เซลล์และโปรตีนเคลื่อนไปสะสมบนจอประสาทตา

  • ประวัติครอบครัวและพันธุกรรมในบางกรณีความเสี่ยงของการเกิดพังผืดที่จอตา อาจเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

  • การผ่าตัดหรือบาดเจ็บดวงตาอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดพังผืดที่จอตาในระยะต่อมา

  • โรคเบาหวานผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดพังผืดที่จอตาได้

การรักษาพังผืดที่จอประสาทตา ทำอย่างไร

การรักษาพังผืดที่จอประสาทตาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของภาวะพังผืดที่จอตา หากเป็นในระยะเริ่มต้นและอาการไม่รุนแรง จักษุแพทย์อาจแนะนำการปฏิบัติตน เฝ้าระวัง และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด

ในกรณีที่พังผืดที่จอตามีอาการรุนแรงขึ้นและรบกวนการมองเห็น จักษุแพทย์จะทำการรักษาพังผืดที่จอประสาทตาด้วยการผ่าตัดน้ำวุ้นร่วมกับวิธีลอกพังผืดจอประสาทตาเพื่อเอาพังผืดที่จอตาออก และอาจมีราคาหรือค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดพังผืดในจอตาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาลที่ทำการผ่าตัดในแต่ละที่

 

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นพังผืดที่จอตา

 

วิธีดูแลตัวเอง เมื่อเป็นพังผืดที่จอตา

การดูแลตัวเองอย่างถูกต้องเมื่อเป็นพังผืดที่จอตา มีส่วนช่วยลดความรุนแรงของอาการและป้องกันการลุกลามของโรคได้ โดยมีข้อแนะนำในการดูแลตัวเองดังนี้

ปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นพังผืดที่จอตาการปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์เป็นสิ่งสำคัญที่สุด ควรใช้ยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เช่น การใช้ยาหยอดตาเพื่อลดการอักเสบหรือป้องกันการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการขยี้ตาหรือทำกิจกรรมที่อาจเพิ่มแรงดันในลูกตา และหมั่นดูแลสุขภาพโดยรวม เช่น การควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

พบจักษุแพทย์ให้ตรงตามนัด

การไปพบแพทย์ตามกำหนดนัดหมายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะแพทย์จะสามารถตรวจติดตามความคืบหน้าของการเกิดพังผืดที่จอตาและประเมินภาวะต่างๆ ได้ทันเวลา หากมีอาการผิดปกติเพิ่มเติม เช่น การมองเห็นแย่ลง หรือมีจุดมืดในภาพ ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์โดยไม่รอจนถึงวันนัด เพื่อป้องกันภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็นอย่างถาวร

 

แนวทางในการป้องกันไม่ให้เป็นพังผืดที่จอประสาทตา

 

แนวทางในการป้องกันไม่ให้เป็นพังผืดที่จอประสาทตา

พังผืดที่จอประสาทตาเป็นปัญหาดวงตาที่สามารถป้องกันได้ หากใส่ใจดูแลสุขภาพดวงตาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม โดยวิธีป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นพังผืดที่จอตามีดังนี้

รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

การรับประทานอาหารที่หลากหลายและมีประโยชน์ เช่น ผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี และแร่ธาตุอื่นๆ ช่วยเสริมสร้างสุขภาพดวงตาให้แข็งแรง และลดความเสี่ยงของการเกิดพังผืดที่จอตา

ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ทำให้หลอดเลือดในดวงตาทำงานได้ดี ลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูงที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดพังผืดที่จอประสาทตา

หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่

การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวม ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สุขภาพดวงตาเสื่อมสภาพเร็วขึ้น การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดพังผืดที่จอตาได้

ตรวจสุขภาพดวงตาทุกปี

การตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำช่วยให้สามารถตรวจพบความผิดปกติของดวงตา เช่น พังผืดจอประสาทตา ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งสามารถรักษาได้ทันก่อนที่จะเกิดอาการรุนแรง ควรตรวจสุขภาพดวงตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีประวัติความเสี่ยงทางพันธุกรรม

รักษาพังผืดที่จอตา ที่ศูนย์จอประสาทตา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ดีอย่างไร

หากมีอาการพังผืดที่จอตา แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการเหล่านี้ได้ที่ศูนย์จอประสาทตา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)ที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้

  • โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

  • เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย

  • พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ

  • ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง

สรุป

พังผืดที่จอตาเป็นภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นถาวรได้ การป้องกันและดูแลดวงตาด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพดวงตาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงพังผืดที่จอประสาทตาได้

สำหรับผู้ที่เป็นพังผืดที่จอตาหรือกำลังประสบปัญหาดวงตา สามารถเข้ารับการรักษาที่ศูนย์จอประสาทตา ฺBangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งมีทีมแพทย์มากประสบการณ์ที่พร้อมดูแลปัญหาที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาทได้อย่างครบวงจร

calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111