มุมสุขภาพตา : #เลสิค

เรียงตาม

ตาแห้งมีอาการอย่างไร วิธีรักษา ป้องกัน และพฤติกรรมที่ช่วยลดอาการตาแห้ง

อาการตาแห้ง คือภาวะตาขาดความชุ่มชื้นเพราะการผลิตน้ำตาน้อยเกินไปหรือคุณภาพน้ำตาไม่ดี ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและไม่สบายตาได้ ตาแห้งเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อายุที่มากขึ้นทำให้การผลิตน้ำตาน้อยลง การสวมใส่คอนแท็กต์เลนส์นานเกินไป การจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ รวมถึงผลข้างเคียงจากยาบางชนิด การรักษาตาแห้งทำได้หลายวิธี เช่น ยาหยอดตา น้ำตาเทียม การประคบอุ่น และการรักษาด้วยยาลดการอักเสบ รักษาอาการตาแห้งที่ Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ได้รับการดูแลจากจักษุแพทย์ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยและการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ   ตาแห้งเป็นโรคที่ทำให้ตารู้สึกแห้งและระคายเคือง เนื่องจากการผลิตน้ำตาลดลงหรือคุณภาพของน้ำตาไม่ดีพอ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย หากดูแลอย่างถูกวิธี จะช่วยลดอาการและป้องกันภาวะตาแห้งในระยะยาว มาหาสาเหตุของอาการตาแห้ง วิธีรักษา รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้งได้ในบทความนี้     อาการตาแห้ง คืออะไร? ก่อนทำความรู้จักกับอาการตาแห้ง ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ‘น้ำตา’ กันก่อน โดยน้ำตามีความสำคัญต่อดวงตา เป็นตัวช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้อย่างชัดเจน หล่อเลี้ยงเลี้ยงกระจกตาด้วยออกซิเจน และป้องกันการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมที่จะเข้ามาทำร้ายดวงตา ตาแห้ง เป็นอาการที่ปริมาณน้ำตาที่เข้ามาหล่อเลี้ยงผิวตามีไม่เพียงพอส่งผลให้ผิวตาอักเสบได้ โดยอาการของตาแห้งอาจเริ่มจากการแสบตา หรือรู้สึกระคายเคืองเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รวมถึงอาจพบอาการตาแดง เจ็บ หรือมีการพร่ามัวที่ดีขึ้นเมื่อกะพริบตา นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกฝืดๆ หนักๆ ที่ตา หรือลืมตาลำบาก และบางครั้งอาจมีอาการตาล้าหรือมีน้ำตาไหลมากผิดปกติ     ทำไมถึงมีอาการตาแห้งได้ ตาแห้งเป็นปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อความสบายของดวงตาและการมองเห็น โดยเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนเป็นเวลานานเกินไป อาการภูมิแพ้ที่ตาซึ่งอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือมลภาวะ อยู่ในที่ร้อน ลมแรง หรือความชื้นต่ำ ความผิดปกติของต่อมไขมันขอบตา การพบตัวไร (Demodex blepharitis) บริเวณโคนขนตา ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำตา การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางชนิด ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะในเพศหญิงที่อาจทำให้คุณภาพของน้ำตาลดลง     อาการตาแห้งเกิดจากอะไร มีปัจจัยอะไรบ้าง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตน้ำตาหรือการทำงานของต่อมน้ำตา หากมีลักษณะดังต่อไปนี้ จะทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ง่ายขึ้น สร้างน้ำตาได้น้อยกว่าปกติ  (Aqueous Tear Deficiency) กลุ่มคนที่มีความผิดปกติหรือปัจจัยที่ส่งผลให้สามารถสร้างน้ำตาได้น้อย ได้แก่   กลุ่มคนที่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome โรครูมาตอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือภาวะที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน เช่น Primary Sjogren’s Syndrome กลุ่มคนที่ไม่เป็นโรค Sjogren’s Syndrome เช่น ต่อมน้ำตาทำงานผิดปกติตั้งแต่เกิด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การแพ้ยารุนแรง หรือการอักเสบที่ทำให้ท่อน้ำตาตัน กลุ่มคนที่ฮอร์โมนเปลี่ยน มักพบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การผลิตน้ำตาและสารคัดหลั่งอื่นๆ ในร่างกายลดลง การกินยาบางประเภท เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต หรือยาคลายเครียดบางชนิด ที่มีสารกันเสียเป็นส่วนประกอบ อาจทำให้ตาแห้งมากขึ้น เนื่องจากสารเหล่านี้สามารถลดการผลิตน้ำตาได้ น้ำตาระเหยเร็ว (Evaporative Dry Eyes)  ปัจจัยที่ส่งผลให้การระเหยของน้ำตาเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ได้แก่   ต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ เปลือกตาอักเสบที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นไขมัน จะทำให้การสร้างน้ำตาชั้นน้ำมันลดลง ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของน้ำตาได้เร็วขึ้น ความผิดปกติของเปลือกตา การปิดตาไม่สนิทหรือการกะพริบตาน้อยผิดปกติ ซึ่งทำให้การกระจายน้ำตาผิดปกติ และเพิ่มการระเหยของน้ำตา โดนสารเคมีหรือแพ้ยารุนแรง การอักเสบของเยื่อบุตาอาจทำให้เกิดแผลเป็น ซึ่งส่งผลต่อการสร้างน้ำตาชั้นเมือกที่ติดกับกระจกตา ทำให้การสร้างน้ำตาผิดปกติ การใช้สายตามาก พบมากในวัยทำงานจากพฤติกรรมจ้องจอคอมพิวเตอร์นานๆ โดยไม่ค่อยกะพริบตา และการใส่คอนแท็กต์เลนส์ที่ดูดน้ำออกจากดวงตา ทำให้การผลิตน้ำตาลดลงและน้ำตาระเหยเร็ว     วิธีรักษาหรือวิธีแก้โรคตาแห้ง วิธีรักษาโรคตาแห้งจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการของแต่ละบุคคล โดยใช้วิธีต่างๆ รวมทั้งการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังนี้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตาแห้ง ควรหลีกเลี่ยงการโดนลมแรง ฝุ่นควัน หรือแสงจ้า โดยการใส่แว่นกันแดดและแว่นกันลม เพื่อป้องกันสิ่งแวดล้อมที่อาจทำให้ตาแห้งขึ้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการใส่คอนแท็กต์เลนส์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่ให้สูญเสียน้ำหล่อเลี้ยงจากดวงตาที่อาจทำให้อาการตาแห้งแย่ลงได้ ใช้น้ำตาเทียม ในการรักษาอาการตาแห้ง น้ำตาเทียมเป็นตัวช่วยที่ดี โดยมี 2 ชนิดให้เลือกใช้ ได้แก่   น้ำตาเทียมที่มีสารกันเสีย ในรูปแบบขวด ควรใช้ไม่เกิน 4-5 ครั้งต่อวัน อาจแบ่งการใช้ยาเพิ่มน้ำตาตามช่วงเวลาของวัน เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน ซึ่งเหมาะสำหรับอาการตาแห้งที่ไม่รุนแรง น้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสีย แบบกระเปาะ เปิดแล้วมีอายุ 24 ชั่วโมง หรือขวดที่มีระบบวาล์วพิเศษใช้ได้นาน 6 เดือน ใช้บ่อยได้ตามต้องการ เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง เหมาะกับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง  ใช้ยาหยอดตาเพิ่มปริมาณน้ำตา มียาหยอดตาที่ช่วยเพิ่มน้ำตาและรักษาอาการตาแห้งได้ โดยแต่ละชนิดจะช่วยรักษาตามอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้   ยา Diquafosol ช่วยเพิ่มการสร้างน้ำตาชั้นเมือกและชั้นน้ำเพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและลดอาการแห้ง ยาปฏิชีวนะ Doxycycline ยาลดการอักเสบของเปลือกตาช่วยลดการอักเสบและอาการระคายเคืองที่เกิดจากตาแห้ง ยากลุ่ม Steroids โดยยานี้ช่วยบรรเทาการอักเสบของผิวตาและลดอาการระคายเคืองที่เกิดจากการขาดน้ำตา ยา Cyclosporine ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant) ชนิดหยอดตา ช่วยลดการอักเสบในตาและเพิ่มการผลิตน้ำตา โดยการปรับสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งสามารถช่วยลดอาการตาแห้งได้ การทำความสะอาดเปลือกตา การทำความสะอาดเปลือกตาและประคบอุ่นด้วยแชมพูเด็กผสมเจือจางหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเปลือกตาช่วยลดการอุดตันของต่อมไขมันในเปลือกตา ทำให้ชั้นไขมันที่เคลือบน้ำตาทำงานได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันน้ำตาระเหยเร็วและลดอาการตาแห้ง ใช้ Autologous Serum การรักษาอาการตาแห้งชนิดรุนแรงโดยใช้สารที่ช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อทำได้โดยการเจาะเลือดจากผู้ป่วยไปปั่นแยกเป็น Serum และนำมาหยอดร่วมกับการใช้น้ำตาเทียม ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ และส่งเสริมการฟื้นตัวของเนื้อเยื่อให้กลับสู่สภาพปกติได้ดีขึ้น การอุดท่อระบายน้ำตาที่หัวตา (Punctal Plug) การรักษาอาการตาแห้งที่รุนแรงทำได้โดยการอุดช่องทางที่น้ำตาไหลออกจากตา (Punctum) ซึ่งมีทั้งชนิดอุดชั่วคราวและชนิดอุดถาวร โดยการใส่ Silicone Plug หรือ Punctal Cautery ซึ่งเป็นการจี้บริเวณช่องทางที่น้ำตาระบายออกจากตา วิธีนี้ช่วยให้ดวงตาเก็บน้ำตาไว้ได้นานขึ้น ลดการระเหยของน้ำตา และช่วยบรรเทาอาการตาแห้งได้ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก     การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการตาแห้ง การป้องกันอาการตาแห้งทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวัน ดังนี้    หยุดพักจากการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุกๆ 20 นาที โดยการหลับตาสัก 20 วินาที หรือมองสิ่งที่อยู่ไกลประมาณ 20 ฟุต เพื่อให้ตาได้พักและผ่อนคลาย งดการใช้คอนแท็กต์เลนส์ต่อเนื่อง ควรสลับใส่แว่นในระหว่างวันเพื่อให้ดวงตาได้พัก ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอ เพื่อช่วยลดความเครียดของดวงตา เตือนตัวเองให้กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อให้น้ำตาเคลือบตาและช่วยลดการระเหยของน้ำตา หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมแรง ควรสวมแว่นกันแดดกันลมเพื่อปกป้องตาจากสภาพแวดล้อม กินอาหารที่ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ปลา หรืออาหารที่มีโอเมกา 3 ซึ่งช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบของตา  ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน สรุป ตาแห้งคืออาการที่น้ำตาผลิตไม่เพียงพอหรือระเหยเร็วเกินไป ทำให้ดวงตารู้สึกแห้ง ระคายเคือง และอาจเกิดการอักเสบได้ รักษาได้หลายวิธี เช่น ใช้น้ำตาเทียม ประคบอุ่น ใช้ยาเพื่อเพิ่มการสร้างน้ำตาหรือลดการอักเสบ และป้องกันตาแห้งได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ดวงตา รวมถึงการใช้ยาเพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา  สำหรับผู้ที่มีอาการตาแห้งรุนแรง รับการรักษาได้ที่ ศูนย์โรคจักษุประสาทวิทยา Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ซึ่งให้การดูแลปัญหาตาแห้งที่ส่งผลต่อการมองเห็นและระบบประสาท โดยจักษุแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษาภาวะตาแห้งอย่างครบวงจร
อ่านเพิ่มเติม
ศูนย์เลสิก LASER VISION

เลสิก (LASIK) คืออะไร? ขั้นตอน ข้อดี และการดูแลหลังทำ แก้ไขปัญหาสายตาให้มองเห็นชัดเจน |Bangkok Eye Hospital

เลสิก หรือ LASIK คือการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์ที่ทันสมัยด้วยการยิงเลเซอร์ที่กระจกตา ช่วยคืนการมองเห็นให้กลับมาเป็นปกติได้ การทำเลสิก สามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง และสายตาสั้นร่วมกับสายตายาวตามวัย เลสิกตามีหลายประเภท เลือกได้ตามความเหมาะสม ได้แก่ PRK เลสิกแบบใบมีด เฟมโตเลสิก เลสิกแบบไร้ใบมีด เลสิกไร้ใบมีดสำหรับสายตายาวตามอายุ และเลสิกแบบแผลเล็ก ทำเลสิกที่ ศูนย์เลเซอร์วิชั่น Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ที่นี่ให้บริการด้วยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีเทคโนโลยีเลสิกที่ทันสมัยและหลากหลาย เลือกได้ตามความเหมาะสม โรงพยาบาลสะอาด ได้มาตรฐาน มั่นใจได้ในความปลอดภัยและผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ   ในปัจจุบัน ปัญหาสายตาเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน ดังนั้นการทำเลสิกจึงเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่ต้องการแก้ไขปัญหาสายตาอย่างถาวร   บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยีการผ่าตัดเลสิกที่มีหลากหลายประเภท พร้อมรวบรวมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้ารับการรักษา รวมถึงวิธีการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัด เพื่อให้คุณได้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุดและสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยไม่ต้องพึ่งพาแว่นสายตาหรือคอนแท็กต์เลนส์อีกต่อไป     การทำเลสิก (LASIK) คืออะไร? การทำเลสิก (LASIK หรือ Laser In Situ Keratomileusis) เป็นวิธีการผ่าตัดแก้ไขสายตาด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์ที่ทันสมัย ซึ่งชื่อนี้ใช้เรียกโดยรวมสำหรับการปรับค่าสายตาด้วยการยิงเลเซอร์ที่กระจกตา โดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะใช้เลเซอร์เจียระไนกระจกตาให้ได้ความโค้งที่เหมาะสม เปรียบเสมือนการปรับแต่งเลนส์ให้มีความโค้งที่พอดี ส่งผลให้แสงตกกระทบจอประสาทตาได้อย่างถูกต้อง ทำให้การมองเห็นชัดเจนขึ้นโดยธรรมชาติ     เลสิกตารักษาสายตาผิดปกติอะไรบ้าง การทำเลสิกในปัจจุบันสามารถแก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติได้หลายรูปแบบ โดยแต่ละอาการมีสาเหตุและลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้ สายตาสั้น (Myopia)เป็นภาวะที่คนไข้มองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลไม่ชัด แต่จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน สาเหตุเกิดจากกระจกตาที่โค้งมากเกินไป หรือกระบอกตายาวเกินไป ทำให้ภาพตกกระทบก่อนถึงจอประสาทตา สายตายาว (Hyperopia)เป็นอาการที่คนไข้มองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ไม่ชัด ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระจกตาโค้งน้อยกว่าปกติ (แบน) หรือกระบอกตาสั้นเกินไป นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นสายตายาวตามวัย มักเกิดจากกล้ามเนื้อตาที่เสื่อมสภาพลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น สายตาเอียง (Astigmatism)เป็นภาวะที่คนไข้มองเห็นภาพไม่ชัดเจน เนื่องจากมีการหักเหของแสงที่ตกกระทบโฟกัสที่จอประสาทตาไม่สม่ำเสมอในระนาบเดียวกัน ส่งผลให้มองเห็นภาพบิดเบี้ยวหรือไม่คมชัด สายตาสั้นร่วมกับสายตายาวตามวัยเป็นภาวะที่เกิดจากการที่คนไข้มีสายตาสั้นอยู่แล้ว (กระจกตาโค้งเกินไปหรือกระบอกตายาวเกินไป) และเมื่อมีอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อที่ใช้หักเหแสงของกระจกตาเริ่มเสื่อมลง จึงไม่มีกำลังมากพอที่จะบีบกระจกตาให้โป่งออกเป็นเลนส์นูนได้เหมือนเดิม ทำให้มีปัญหาทั้งการมองระยะไกลและระยะใกล้ ซึ่งการทำเลสิกก็สามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้เช่นกัน     ประเภทของเลสิกตา ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทำให้การทำเลสิกมีหลากหลายรูปแบบให้เลือกตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล โดยแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป ดังนี้ เฟมโตเลสิก (FemtoLASIK) เป็นนวัตกรรมการรักษาสายตา ด้วยการใช้เทคโนโลยีเลเซอร์สองระบบที่ทำงานร่วมกัน ระบบแรกคือ Femtosecond Laser เพื่อเตรียมชั้นกระจกตา และตามด้วย Excimer Laser ที่ทำหน้าที่ปรับแต่งเนื้อกระจกตาให้ได้รูปทรงที่เหมาะสม การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยค่าใช้จ่าย Lasik ราคาประมาณ 118,000 บาท เป็นต้นไป ขึ้นอยู่กับดวงตาเงื่อนไขสุขภาพดวงตาของแต่ละท่าน ข้อดีและจุดเด่น แก้ไขปัญหาสายตาได้อย่างครอบคลุม ตั้งแต่สายตาสั้นระดับสูง สายตายาว และอาการเอียง การใช้เลเซอร์ทั้งระบบช่วยเพิ่มความแม่นยำในการรักษา ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวระหว่างการรักษา เนื่องจากใช้เพียงยาชาชนิดหยอด ระยะเวลาการฟื้นตัวรวดเร็ว ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติในเวลาไม่นาน มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ เนื่องจากไม่ใช้เครื่องมือกล ข้อจำกัดและสิ่งที่ควรระวัง อาจพบรอยเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวกระจกตา แต่จะค่อย ๆ ดีขึ้นตามเวลา ต้องระมัดระวังการกระแทกบริเวณตาในช่วงแรก เพื่อป้องกันปัญหาแทรกซ้อน อาจพบอาการตาแห้งในระยะแรกมากกว่าการผ่าตัดบางประเภท คนที่เหมาะกับเลสิกประเภทนี้ ผู้ที่มีข้อจำกัดทางกายภาพของดวงตา เช่น กระจกตาบาง หรือเปลือกตาแคบ ผู้ที่ต้องการความมั่นใจสูงสุดในเรื่องความปลอดภัย ผู้ที่พร้อมลงทุนเพื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและผลลัพธ์ที่แม่นยำ   เลสิกแบบไร้ใบมีด (NanoLASIK) เป็นการพัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีFemtoLASIKโดยใช้เครื่อง Femtosecond Laser Ziemer FEMTO Z8 รุ่นใหม่ที่มีความละเอียดสูงและใช้พลังงานระดับนาโนจูล ในการแยกชั้นกระจกตา ก่อนใช้ Excimer Laser ปรับแต่งความโค้งของกระจกตาตามค่าสายตาที่ออกแบบไว้ การทำเลสิกประเภทนี้ใช้เลเซอร์ในทุกขั้นตอนโดยไม่ต้องใช้ใบมีด จึงมีความแม่นยำและความปลอดภัยสูง ข้อดีและจุดเด่น แยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์พลังงานต่ำระดับนาโนจูล ทำให้แผลหายเร็วและลดอาการข้างเคียง เช่น แสบตา ตาบวม มีระบบสแกนลายม่านตาที่แม่นยำสูง สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของลูกตาได้ถึง 1,050 ครั้งต่อวินาที ใน 6 ทิศทาง มีโปรแกรมการรักษาที่ประหยัดเนื้อกระจกตา และปรับให้เข้ากับสภาพตาแต่ละบุคคล เหมาะสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นมาก ใช้เทคโนโลยี Optimized Aspheric ที่รักษาความโค้งของกระจกตาให้เป็นธรรมชาติ ช่วยลดแสงกระจายในเวลากลางคืน ข้อจำกัดและสิ่งที่ควรระวัง ขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของแพทย์ในการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ต้องผ่านการประเมินและวางแผนการรักษาอย่างละเอียด มีข้อจำกัดในการรักษาตามสภาพตาของแต่ละบุคคล คนที่เหมาะกับเลสิกประเภทนี้ ผู้ที่มีสายตาสั้นมากและต้องการรักษาด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ผู้ที่ต้องการความปลอดภัยสูงสุดและมีความกังวลเรื่องการใช้ใบมีด ผู้ที่ต้องการลดอาการข้างเคียงและระยะเวลาการฟื้นตัว ผู้ที่มีปัญหาเรื่องแสงรบกวนในเวลากลางคืนและต้องการผลการรักษาที่เป็นธรรมชาติ เลสิกไร้ใบมีดสำหรับสายตายาวตามอายุ (Nano NV LASIK) Nano NV LASIKเป็นนวัตกรรมเลสิกที่พัฒนาต่อยอดจากเทคโนโลยีNanoLASIKที่โดดเด่นด้วยการรักษาสายตายาวตามวัย (Presbyopia) ร่วมกับสายตาผิดปกติอื่น ๆ ด้วยหลักการ Blended Vision โดยปรับให้ตาแต่ละข้างมีความสามารถในการมองเห็นที่ต่างกัน ทำให้สามารถมองเห็นได้ทั้งระยะใกล้และไกลได้อย่างเป็นธรรมชาติ วิธีนี้ใช้เลเซอร์ Femtosecond Ziemer FEMTO Z8 รุ่นใหม่ที่มีความเร็วสูงและพลังงานระดับนาโนจูล ช่วยแยกชั้นกระจกตาได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย ข้อดีและจุดเด่น เทคโนโลยี Blended Vision ปรับสมดุลการมองเห็นของตาทั้งสองข้าง เพื่อให้มองเห็นได้ครบทุกระยะ เลเซอร์พลังงานระดับนาโนจูลช่วยลดการรบกวนเนื้อกระจกตา ทำให้แผลหายเร็วและลดอาการข้างเคียง เช่น แสบตา ตาบวม มีระบบสแกนลายม่านตาที่ทันสมัย สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของลูกตาได้ถึง 1,050 ครั้งต่อวินาที ใน 6 ทิศทาง ทำให้การยิงเลเซอร์แม่นยำแม้มีการกลอกตา โปรแกรม Optimized Aspheric ช่วยรักษารูปทรงของกระจกตาให้เป็นธรรมชาติ ลดปัญหาแสงกระจายในเวลากลางคืน ข้อจำกัดและสิ่งที่ควรระวัง อาจทำให้ความคมชัดของภาพลดน้อยลงบ้าง โดยเฉพาะในงานที่ต้องการความละเอียดมาก เช่น งานเย็บปักถักร้อย สำหรับผู้ที่ต้องการความคมชัดมาก ๆ เช่น นักกีฬา หรือผู้ที่ต้องทำงานระยะใกล้เป็นประจำ อาจต้องเลือกวิธีการรักษาแบบให้ตาทั้งสองข้างมองไกลชัดเจน และใช้แว่นสำหรับอ่านหนังสือเมื่อต้องทำงานระยะใกล้ ในกรณีที่ไม่สามารถปรับตัวกับการรักษาได้ อาจต้องทำการเติมเลเซอร์เพิ่มเติม เพื่อปรับให้สามารถมองเห็นชัดในระยะไกลทั้งสองข้าง คนที่เหมาะกับเลสิกประเภทนี้ ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปที่มีปัญหาสายตายาวตามวัยร่วมกับสายตาผิดปกติอื่น ๆ ผู้ที่ต้องการความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องพึ่งพาแว่นหลายคู่ ผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องมองทั้งระยะใกล้และไกล แต่ไม่ได้ต้องการความคมชัดสูงมาก ผู้ที่มีความเข้าใจในข้อจำกัดของการรักษาและพร้อมให้เวลากับการปรับตัวในช่วงแรก   เลสิกแบบแผลเล็ก (NanoRelex) NanoRelexเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดในการผ่าตัดเลสิกที่ใช้เทคโนโลยี Femtosecond Laser ร่วมกับระบบ AI ในการรักษาสายตาสั้น เอียง และสายตายาว โดยใช้เลเซอร์พลังงานระดับนาโนจูลสร้างแผลขนาดเล็กเพียง 2-3 มิลลิเมตร พร้อมระบบ OCT Scan ที่ช่วยให้แพทย์มองเห็นชั้นกระจกตาได้แบบ Real-Time ขณะผ่าตัด และสามารถปรับแต่งเนื้อเยื่อภายในชั้น Stroma ของกระจกตาด้วยการคำนวณชิ้นเนื้อกระจกตาแบบ 3 มิติ ตามค่าสายตาของแต่ละบุคคล ข้อดีและจุดเด่น ใช้เลเซอร์พลังงานระดับนาโนจูล ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บขณะผ่าตัด มีระบบ AI และกล้อง OCT Scan ช่วยในการวิเคราะห์และเพิ่มความแม่นยำในการรักษา แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 2-3 มิลลิเมตร ใช้ระยะเวลาผ่าตัดสั้น ลดอาการตาแห้งและการเคืองตาหลังการรักษา กระจกตายังคงรูปร่างและความแข็งแรง ทำให้แผลหายเร็ว ข้อจำกัดและสิ่งที่ควรระวัง แก้ปัญหาสายตายาว สายตาเอียงได้ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาสายตายาว หลังทำ 1-2 สัปดาห์อาจมีอาการมองเห็นเป็นหมอก แต่อาการจะดีขึ้นเอง คนที่เหมาะกับเลสิกประเภทนี้ ผู้ที่มีปัญหาสายตาสั้น เอียง ผู้ที่ต้องการความแม่นยำในการรักษาสูง ผู้ที่มีเวลาพักฟื้นน้อย     การเตรียมตัวก่อนทำเลสิกตา เพื่อให้การผ่าตัดเป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย ผู้เข้ารับการทำเลสิกควรปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้ งดใส่คอนแท็กต์เลนส์ก่อนวันผ่าตัด ทำความสะอาดร่างกาย ล้างหน้า และสระผมในวันผ่าตัด งดแต่งหน้าในวันที่ทำการผ่าตัด สวมเสื้อผ้าที่ติดกระดุมด้านหน้าเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยน งดใช้น้ำหอมหรือสเปรย์ดับกลิ่นทุกชนิด งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แจ้งประวัติการใช้ยาประจำให้จักษุแพทย์ทราบ เพื่อพิจารณาว่าต้องหยุดยาหรือไม่ ควรมีผู้ติดตามมาด้วยในวันผ่าตัด และไม่ควรขับรถมาเอง เพื่อความสะดวกและปลอดภัย     สิ่งที่ห้ามทำหลังจากทำเลสิกตา เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น หลังการทำเลสิกผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการดูแลตนเอง ดังนี้ ห้ามขยี้ตาเด็ดขาด หากรู้สึกคัน ให้ล้างมือให้สะอาดและใช้นิ้วชี้แตะเบา ๆ ที่หัวตาหรือหางตาแทน ห้ามล้างหน้าหรือให้น้ำเข้าตา ห้ามว่ายน้ำหรือดำน้ำ งดการแต่งหน้าบริเวณรอบดวงตา หยอดยาตามที่จักษุแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ใส่ฝาครอบตาก่อนนอนให้ครบ 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการขยี้ตาโดยไม่รู้ตัว หากต้องใช้สายตามาก ควรพักสายตาเป็นระยะ ใครที่ไม่สามารถทำเลสิกตาได้ ผู้ที่มีสายตาสั้นเกิน 1,400 ไม่ควรทำเลสิก เนื่องจากอาจพบข้อจำกัดในการรักษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัย นอกจากนี้ ผู้ที่มีความผิดปกติของกระจกตา เช่น กระจกตาบางหรือหนาเกินไป ก็อาจไม่เหมาะสมกับการทำเลสิก ดังนั้น การตรวจประเมินสภาพดวงตาอย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์และขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการรักษาที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทำเลสิกที่ศูนย์เลเซอร์วิชชั่น Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ) ดีอย่างไร หากต้องการทำเลสิก แนะนำให้เข้ามาปรึกษาและรักษาอาการเหล่านี้ได้ที่ศูนย์เลเซอร์วิชั่น Bangkok Eye Hospitalที่นี่โดดเด่นด้านการรักษาอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ด้วยทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีจุดเด่นดังนี้   โรงพยาบาลมีทีมจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มากประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาการผิดปกติ และแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เทคโนโลยีสำหรับการรักษาดวงตาสมัยใหม่ เครื่องมือได้มาตรฐานระดับสากล เพื่อการรักษาดวงตาอย่างแม่นยำและปลอดภัย พร้อมให้การรักษาอย่างครบวงจร ตั้งแต่การวินิจฉัย การรักษา ไปจนถึงการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการบริการ พร้อมบรรยากาศของโรงพยาบาลที่เป็นกันเอง สรุป ในปัจจุบัน การทำเลสิกถือเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาผิดปกติ เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่หลากหลายให้เลือกใช้ โดยเริ่มตั้งแต่วิธีดั้งเดิมอย่าง PRK และ LASIK ไปจนถึงนวัตกรรมล่าสุดอย่างSMILE Pro, NanoRelex และ Nano NV LASIK ทำให้ผู้ป่วยสามารถเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพสายตาและความต้องการของตนเอง เพื่อให้กลับมามองเห็นได้ชัดเจนโดยไม่ต้องพึ่งพาแว่นสายตาอีกต่อไป เข้ามาทำเลสิกรักษาอาการสายตาสั้น ยาว เอียง ได้ที่ศูนย์เลเซอร์วิชั่น Bangkok Eye Hospital (โรงพยาบาลจักษุกรุงเทพ)ที่นี่ให้บริการโดยจักษุแพทย์มากความสามารถ มีความเชี่ยวชาญและประสบการณืด้านการรักษาดวงตาอย่างยาวนาน ที่นี่มีเทคโนโลยีการทำเลสิกที่ทันสมัย มั่นใจได้ในความปลอดภัยและผลลัพธ์หลังการรักษา
ศูนย์เลสิก LASER VISION

หลังทำเลสิคสายตาสั้น เมื่อมีสายตายาวจะสามารถรักษาด้วยวิธีเลสิกได้อีกหรือไม่

หลังทำเลสิคสายตาสั้น เมื่อมีสายตายาวจะสามารถรักษาด้วยวิธีเลสิกได้อีกหรือไม่ หลังทำเลสิคสายตาสั้น เมื่อมีสายตายาวจะสามารถรักษาด้วยวิธีเลสิกได้อีกหรือไม่?      สายตายาวตามอายุเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นกับทุกๆคน ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ แม้แต่ในผู้ที่ไม่เคยมีปัญหาเรื่องการมองเห็นมาก่อนเลยก็ตาม      สายตายาวตามอายุ เกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป สาเหตุเกิดจากเลนส์แก้วตาแข็งขึ้น ประกอบกับกล้ามเนื้อยึดเลนส์ตาเริ่มเสื่อมสภาพ ทำให้ไม่สามารถมองเห็นภาพในระยะใกล้ได้ชัดเจน      ในกลุ่มผู้ที่มีภาวะสายตาสั้น และได้รับการแก้ไขโดยวิธีการเลสิกไปแล้ว เมื่ออายุประมาณ 40 ปีมีสายตายาวอายุ ทำให้มองใกล้ไม่ชัด สามารถใช้แว่นสายตายาวช่วยในการอ่านหนังสือ หรือช่วยในการทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ แต่หากไม่อยากใส่แว่น สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีเลสิกสายตาได้เช่นกัน การรักษาสายตายาวด้วยวิธี NV LASIK ซึ่งทำให้สามารถมองเห็นในระยะไกลได้ชัดในตาข้างหนึ่ง และมองเห็นใกล้ได้ชัดในตาอีกข้างหนึ่ง เนื่องจากสายตายาวตามอายุเกิดจากความเสื่อมของเลนส์แก้วตา ดังนั้น การรักษาด้วยวิธีนี้จะอยู่ได้ 3- 5 ปีขึ้นอยู่กับสภาพสายตาของคนไข้แต่ละคน การรักษาสายตายาวตามอายุด้วยวิธีการเปลี่ยนเลนส์ (Refractive Lens Exchange-RLE) โดยจะนำเลนส์แก้วตาที่เสื่อมสภาพออก และใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไป **ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นมักเกิดความเข้าใจผิดว่าเมื่อมีภาวะสายตายาวตามอายุร่วมด้วยสายตาจะกลับมาเป็นปกติ ในความเป็นจริง สายตายาวตาอายุเกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อตา(เสื่อมตามภาวะร่างกายที่อายุมากขึ้น) ภาวะเสื่อมดังกล่าวอาจทำให้การมองในระยะใกล้ๆได้ดีขึ้น แต่ในระยะที่ใกล้นั้นก็ใกล้กว่าระยะของคนสายตาปกติทั่วๆไป **ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นและไม่ได้รับการแก้ไข เมื่ออายุ 40 ปีมีภาวะสายตายาวตามอายุร่วมด้วย จะทำให้มองไม่ชัดทั้งใกล้และไกล
calling
ติดต่อเรา : +662 511 2111